12 ก.พ. 2022 เวลา 09:33 • การศึกษา
อักษรเบรลล์ คืออะไร ? มาทำความรู้จักกันเถอะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Brailleintl.org
ในสมัยนี้หลายๆคน คงได้มีโอกาสเห็นรูปภาพด้านบน ที่ดูเหมือนสัญลักษณ์ หรือ อักษรบางอย่างที่ดูนูนๆ แต่รู้หรือไม่ว่า อักษรนูนๆนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร และมีที่มาอย่างไร วันนี้เราจะมาให้ความรู้กันค่ะ
อักษรเบรลล์ คือ อักษรที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนสำหรับผู้ที่พิการทางสายตา ซึ่งวิธีการเขียนเป็นการรวมกลุ่มของจุดนูน ที่เขียนลงบนกระดาษ โดยผู้ที่เขียนจะใช้ปลายนิ้วมือในการสัมผัสและการอ่าน ซึ่งอักษรเบรลล์นี้ มีต้นกำเนิดมาจาก ‘ หลุยส์ เบรลล์ ‘ ผู้ที่เป็นคนประดิษฐ์ภาษาที่ใช้สำหรับผู้พิการทางสายตา
‘ หลุยส์ เบรลล์ ‘ เป็นเด็กชายที่มีความฉลาดและอยากรู้อยากเห็น พ่อของเบรลล์มีอาชีพเป็นช่างทำหนังและอานม้า เขาชอบที่จะช่วยพ่อทำงาน แต่ด้วยความที่เขาซุกซน ทำให้ขณะที่เขาอายุ 3 ปี เขาได้ประสบอุบัติเหตุจากการแอบเข้าไปในห้องทำงานพ่อ และพยายามเจาะรูหนังด้วยสว่าน ทำให้เครื่องมือนั้นหลุดเข้าตา ทำให้เขาตาบอดที่ข้างซ้าย และในเวลาต่อมาได้เกิดการติดเชื้อมาที่ตาอีกข้างจนทำให้เบรลล์ตาบอดทั้งสองข้างในวัย 4 ปี
 
ด้วยความฉลาดใฝ่รู้ เบรลล์ได้เข้าไปเรียนที่โรงเรียนสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งในเวลานั้น ที่โรงเรียนยังไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้สอนคนตาบอด เบรลล์จึงได้คิดค้นวิธี กิจกรรมเพื่อสื่อสารให้คนตาบอดสามารถเรียนรู้ได้เหมือนคนปกติ
ในปี พ.ศ. 2364 เบรลล์ ได้พบกับ ‘ กัปตันชาร์ล บาบิเยร์ ‘ ทหารกองทัพบกฝรั่งเศส ผู้พัฒนาระบบการอ่าน เพื่อใช้ส่งข่าวสารของทหารในเวลากลางคืน ที่เรียกว่า night-writing ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุด 12 จุด ซึ่งภายในปีเดียวกันนี้ เบรลล์ก็ได้นำหลักการ night-writing มาพัฒนาอักษรให้เหลือเพียง 6 จุด เพื่อให้สามารถใช้เพียวนิ้วเดียวสัมผัสและอ่านจุดได้ทั้ง 6 จุด โดยทั้ง 6 จุดนี้สามารถสร้างสัญลักษณ์แทนตัวอักษรได้ 63 ตัวอักษร และในปี พ.ศ. 2367 ตอนที่เขาอายุได้ 15 ปี ‘ หลุยส์ เบรลล์ ‘ ได้ประกาศวิธีการใช้อักษรสำหรับคนตาบอด นับเป็นการสร้างโอกาสใหม่ในการเรียนรู้ให้กับผู้ที่ตาบอด
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Brailleintl.org
อักษรเบรลล์ได้เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์เจนีวีฟ คอลฟิลด์ (สตรีชาวอเมริกันที่พิการทางสายตา) ซึ่งได้ร่วมมือกับคณะคนไทยที่นำโดย นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ได้ประยุกต์อักษรเบรลล์จากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย โดยมีพยัญชนะ สระ และตัวเลข ดังนี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
https://www.nsm.or.th และมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โฆษณา