25 ก.ค. 2021 เวลา 17:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จักแร่ดีบุก สินแร่ที่ราคาซื้อขายล่วงหน้า ทำ New high สูงที่สุดในรอบ กว่า 20 ปี เค้าเอาไปทำอะไรบ้าง
แร่ดีบุกที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่พบทางด้านตะวันตกของประเทศติดกับชายแดนประเทศสหภาพพม่า พบในภาคใต้ทุกจังหวัด ภาคกลางและภาคเหนือบางจังหวัด
เป็นชนิด แร่แคสซิเทอไรต์ (cassiterite, SnO2) มีสีตั้งแต่สีขาว เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล สีน้ำผึ้ง เขียว น้ำเงิน ม่วง สีดอกจำปา ไปจนถึงสีดำ แต่ที่พบมากคือ สีค่อนข้างคล้ำจำพวกสีดำ น้ำตาลและน้ำตาลดำ หินแร่ดีบุก
มีรูปผลึกเป็นแท่งสี่เหลี่ยมสั้นๆ ปลายเป็น รูปพีระมิดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีความแข็ง 6-7 ซึ่งสามารถขูดกระจกเป็นรอยได้ สีผงละเอียดของแร่เมื่อขูดบนแผ่นกระเบื้องไม่เคลือบจะมีสีขาว
ทดสอบทางเคมีได้โดยการใส่ผงตัวอย่างลงในแผ่นสังกะสี เทกรดเกลือลงไปทิ้งไว้ซักครู่ เทกรดทิ้งแล้วล้างน้ำดู ถ้าหากว่าแร่นั้นเป็นแร่ดีบุก จะพบเม็ดแร่เป็นสีเทา แร่ดีบุกเป็นแร่ที่มีน้ำหนักมาก มีความถ่วงจำเพาะ 6.8 –7.1 ความวาวคล้ายเพชร แม่เหล็กดูดไม่ติด นำไฟฟ้าได้ดี ผงละเอียดมีสีขาว
โดยทั่วไป แร่ดีบุกจะปนอยู่กับแร่อื่นๆ มักพบแร่ดีบุกเกิดร่วมกับแร่ที่มีทังสเตนเป็นส่วนประกอบซึ่งอาจเป็นแร่วุลแฟรไมต์และชีไลต์ การถลุงแร่ดีบุกสามารถทำได้โดยวิธีการนำสินแร่ดีบุกที่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เนื้อแร่มีปริมาณสูงแล้วมาผสมกับถ่านโค้กและหินปูนในอัตราส่วน 20 : 4 : 5 โดยมวล แล้วใส่ในเตา-ถลุงและใช้น้ำมันเตาหรือกระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อน ถ่านโค้กจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนที่มีอยู่อย่างจำกัดในเตาถลุงเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งจะรีดิวซ์ SnO2 ได้ดีบุกเหลว
การใช้ประโยชน์ของโลหะดีบุก
โลหะดีบุกเป็นโลหะอ่อนจึงไม่ใช้ดีบุกในการผลิตชิ้นส่วนจักรกล แต่ด้วยคุณสมบัติเด่นที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดและสารละลายต่างๆ ทนต่อการเป็นสนิม มีความเงางาม สวยงาม และไม่ก่อให้เกิดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
จึงนิยมใช้ในการเคลือบแผ่นเหล็กเพื่อผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ดีบุกเมื่อรีดเป็นแผ่นบางๆ สามารถนำไปใช้ห่อสิ่งของต่างๆ เพื่อป้องกันความชื้นได้ดี
นอกจากนี้โลหะดีบุกยังมีคุณสมบัติในการผสมเป็นเนื้อเดียวกับโลหะอื่นได้ดี จึงสามารถผลิตเป็นโลหะดีบุกผสมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น โลหะดีบุกผสมตะกั่ว พลวง หรือสังกะสี
ที่ใช้ในการผลิตโลหะบัดกรีสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ โลหะดีบุกผสมตะกั่วเพื่อใช้ผลิตหม้อน้ำรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
โลหะดีบุกผสมทองแดงที่ใช้ในการผลิตทองสัมฤทธิ์เพื่อทำระฆังและศิลปะวัตถุต่างๆ โลหะดีบุกผสมเงิน ทองแดง และปรอท ใช้สำหรับอุดฟันและงานทันตกรรม
นอกจากนี้ยังใช้ทำโลหะดีบุกผสมทองแดงและพลวงหรือที่เรียกว่า พิวเตอร์ (Pewter) ซึ่งนิยมนำไปผลิตเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ตลอดจนการชุบเคลือบต่างๆ อีกด้วย
โลหะดีบุกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเป็นโลหะแบริ่งมีชื่อว่า Babbit เป็นโลหะที่ประกอบด้วยดีบุก พลวง ทองแดง และอาจมีตะกั่วผสมอีกเล็กน้อย โลหะผสมชนิดนี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่อ่อนและมีสัมประสิทธิ์ความฝืดต่ำทำให้เหมาะที่จะใช้เป็นโลหะแบริ่ง
ดีบุก
ดีบุกเป็นโลหะสีขาวเป็นเงาคล้ายเงิน มีความถ่วงจำเพาะ 7.3 มีจุดหลอมเหลว 232 องศาเซลเซียส เป็นโลหะเนื้ออ่อน แต่เหนียว ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส รีดเป็นเส้นได้ แต่ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ดีบุกจะเปราะ ทุบแตกง่าย ดีบุกมีรูปหลายแบบ เช่น ดีบุกสีเทา ดีบุกรอมบิก และดีบุกสีขาว
แหล่งที่พบแร่ดีบุก โดยจะพบในแร่แคสซเทอไรต์ ( SnO 2 ) แร่ดีบุกพบมากทางภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในภาคกลาง และภาคเหนือ แร่ดีบุกพบปนอยู่กับกากแร่อื่น ๆ เช่น อิลเมไนต์ เซอร์ดอน โมนาไซด์ โคลัมไบต์ และซิไลต์
– วิธีการถลุงแร่ดีบุก มีขั้นตอนดังนี้ โดยนำสินแร่ดีบุก ( SnO 2 ปนกับทราย SiO 2 เป็นสารปนเปื้อน ) ผสมกับถ่านโค้ก และหินปูนด้วยอัตราส่วน 20 : 4 : 5 โดยมวล ใส่ในเตาถลุงแบบนอน โดยใช้น้ำมันเตา หรือใช้กระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งให้ความร้อน
ดีบุกที่ถลุงได้ ต้องนำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการ Electrorefining สำหรับ ขี้ตะกรันที่ได้ พบว่ามีดีบุกปนอยู่อีกมาก สามารถนำไปถลุงเพื่อแยกดีบุกออกได้อีก
การนำดีบุกไปใช้ประโยชน์ เมื่อนำดีบุกผสมกับตะกั่ว ทำตะกั่วบัดกรี ดีบุกฉาบแผ่นเหล็กทำกระป๋องบรรจุอาหาร ดีบุกผสมกับโลหะอื่นๆ เป็นโลหะผสม ( Alloy ) เช่น ผสมทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ ผสมกับทองแดงและพลวงใช้เป็นโลหะผสมทำภาชนะต่างๆ สารประกอบดีบุก เช่น SnCl 4.5H 2O ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ เครื่องแก้ว ย้อมสีไหม กระดาษพิมพ์ที่ไวต่อแสง เช่น กระดาษพิมพ์เขียว
พลวง (Sb)
พลวงเงิน จะพบในแร่สติบไนต์ ( Sb 2O 3 ) และพลวงทอง จะพบในแร่สติบิโคไนต์ ( Sb 2O 4 . nH 2O ) ซึ่งจะพบทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากสินแร่พลวงส่วนใหญ่ เป็นสารประกอบซัลไฟด์ จึงต้องเปลี่ยนให้เป็นออกไซด์ แล้วจึงรีดิวซ์ออกไซด์ให้ได้พลวงต่อไป การถลุงพลวงจะแตกต่างกันตามคุณภาพของแร่
การนำพลวงไปใช้ประโยชน์
โดยนำไปผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะผสม เช่น พลวงผสมกับตะกั่วและดีบุก เป็นโลหะผสมเพื่อทำตัวพิมพ์โลหะ พลวงผสมกับตะกั่วเพื่อทำแผ่นตะกั่วในแบตเตอรี่ พลวงเป็นส่วนผสมของหัวกระสุนปืน พลวงใช้ในอุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมสี และอุตสาหกรรมเซรามิกส์
โฆษณา