1 ก.ย. 2019 เวลา 10:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เครื่องบิน บินได้อย่างไร?
เครื่องบินจะลอยตัวในอากาศได้นั้น
ตัวเครื่องบินจะต้องมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกทั้งสองข้างปะทะกับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่างปีกขึ้นไปด้านบน เนื่องจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มขึ้นและแรงดันของกระแสอากาศใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดึงตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้นในอากาศได้ ตราบใดที่ความเร็วของเครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่
เครื่องบินจะเดินทางไปในอากาศด้วยแรงขับ(Thrust)
ที่มีเครื่องยนต์และใบพัดหรือเครื่องยนต์ไอพ่น ผลักมวลอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงขับให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ตรงข้ามกันเมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะปะทะกับกระแสอากาศก็จะเกิดแรงต้าน(Drag)สวนไปด้านหลังและพยายามต้านความเร็วของเครื่องบินให้ลดลง ส่วนแรงที่ทำให้เครื่องบินลอยตัวในอากาศได้นั้นคือแรงยก(Lift)เกิดจากแรงดันของอากาศภายใต้ปีกที่มาจากกระแสอากาศในขณะที่เครื่องบินนั้นบินผ่านอากาศ นํ้าหนักของเครื่องบินรวมไปถึงนํ้าหนักที่เครื่องบินนั้นบรรทุกทำให้เกิดแรงดึงดูดจากโลกหรือแรงโน้มถ่วง(Gravity) ในขณะที่เครื่องบินทำการวิ่งขึ้น(Take Off)แรงขับจะต้องมากกว่าแรงต้านและแรงยกต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วงและในเวลาที่เครื่องบิน บินตรงระดับ(Level Flight)แรงยกจะเท่ากับแรงโน้มถ่วงและในขณะที่เครื่องบิน บินลงสู่สนามบิน(Landing) แรงขับจะต้องน้อยกว่าแรงต้านและแรงยกจะต้องน้อยกว่าแรงโน้มถ่วง
1
จากข้อความข้างต้นที่เรารู้กันทั่วไปว่าเครื่องบินจะบินได้ก็ต้องมีความเร็วด้วยแรงขับที่เกิดจากเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่น ถ้าอยากรู้ว่ากระแสอากาศจากความเร็วที่ทำให้เกิดแรงยกขึ้นที่ปีกได้ ก็จะทำให้เรารู้ว่าเครื่องบินนั้นบินในอากาศได้อย่างไร
1
ลักษณะของปีกเครื่องบิน
โดยทั่วไปวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่น มีความหนาน้อยเมื่อเทียบกับความกว้างและความยาว เราเรียกวัตถุนั้นว่า “Airfiol” หรือภาษาไทยเรียกว่า “แพนอากาศ”
ปีกของเครื่องบินมีลักษณะเป็นแผ่นมีความยาวของปีกขวางกับแนวแกนลำตัว เมื่อมองจากด้านบนจะคล้ายกับสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแผ่นยาวแต่มาปลายโค้งมนเรียว บางแบบก็จะเป็นสามเหลี่ยม ปีกเครื่องบินแบบต่างๆจะมีรูปตัดขวาง(Airfiol Section) คล้ายๆกับคิ้วของคน ซึ่งจะแตกต่างกันไปว่าจะมีแบบที่โค้งมากหรือโค้งน้อย และขนาดที่แตกต่างกันไป
เมื่อกระแสอากาศไหลผ่านปีกความดันของกระแสอากาศทำให้เกิดแรงยกได้อย่างไร?
มวลอากาศที่ไหลผ่านต่อเนื่องเมื่อผ่านที่ชายหน้าของปีกจะแยกตัวออกเป็น 2 ส่วน คือไหลเป็นกระแสอากาศด้านบนและด้านล่าง
มวลอากาศที่แยกตัวออกจากกันนั้นจะไหลไปประจบกันที่ชายหลังของปีก อากาศที่ไหลผ่านด้านบนของปีกที่เป็นผิวโค้งมีระยะทางที่ยาวกว่าจึงมีความเร็วสูงกว่ากระแสอากาศที่ไหลผ่านใต้ปีก
ความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจึงลดตำ่กว่าความดันอากาศใต้ปีก ตามหลักของเบอร์โนลี่และหากปีกเอียงทำมุมปะทะกับกระแสอากาศมากขึ้น มวลของกระแสอากาศที่ปะทะผ่านใต้ปีกทำให้เกิดแรงที่ยกปีกให้ลอยตัวบนอากาศ
สรุปได้ว่า
เครื่องบิน บินได้ก็เพราะมีเครื่องยนต์และใบพัดหรือไอพ่นเพื่อขับให้เครื่องบินไปข้างหน้าที่จะทำให้เกิดกระแสอากาศไหลผ่านใต้ปีก จนกระทั่งมีความเร็วมากพอที่ทำให้กระแสอากาศไหลผ่านจนเกิดแรงยกที่จะทำให้เครื่องบินลอยตัวไปในอากาศนั่นเอง
ส่วนการควบคุมของเครื่องบิน
Aileron : ใช้ในการควบคุมท่าทางของเครื่องบิน จะติดตั้งอยู่ที่ส่วนของปลายปีกทั้งสองข้าง เพื่อควบคุมการเอียงของเครื่องบิน หรือเคลื่อนที่รอบแกน Longitudinal Axis
Elevator : ใช้ในการควบคุมลักษณะการบินของเครื่องบิน จะติดตั้งอยู่ที่แพนหาง เพื่อให้เครื่องบินเชิดหัวขึ้นลง หรือเคลื่อนที่รอบแกน Lateral Axis
Flap : ใช้ในการควบคุมการเพิ่มหรือลดแรงยกของปีกโดยปกติจะใช้เวลา Take Off และ Landing
จะติดตั้งอยู่ที่ชายปีกหลังใกล้กับลำตัวของเครื่องบิน(Fuselage)
Rudder : ใช้ในการหันหัวเครื่องบิน หรือเคลื่อนที่รอบแกน Vertical Axis จะติดตั้งอยู่ที่กระโดงหางของเครื่องบิน(Tail Plane)
Rudder Pedal : ส่วนที่นักบินใช้ควบคุมการทำงานของ Rudder จะอยู่ที่พื้นในห้องCockpit นักบินจะใช้เท้าเหยียบเพื่อควบคุมให้หัวเครื่องบินหันซ้ายขวา
Stabilizer : เป็นส่วนช่วยให้เครื่องบินรักษาท่าทางและลักษณะการบินให้แก่ Vertical Stabilizer และ Horizontal Stabilizer สามารปรับแต่งระดับได้(Adjustable)
ส่วนการควบคุมทิศทางการบิน
แกนของการหมุนเครื่องบินมีอยู่ 3 แกน คือ
1.Longitudinal Axis การหมุนของแกนนี้เรียกว่า Roll
2.Vertical Axis การหมุนของแกนนี้เรียกว่า Yaw
3.Lateral Axis การหมุนของแกนนี้เรียกว่า Pitch
และจุดตัดของสามแกนนี้จะถือเป็นจุดศูนย์กลางนํ้าหนักทั้งหมดของเครื่องบิน(Center of gravity)
Longitudinal Axis เกิดจากการเคลื่อนไหวของ Ailerons ควบคุมโดยคันบังคับ(Control Column) ใน Cockpit
Longitudinal Axis
Vertical Axis เกิดจากการเคลื่อนไหวของ Rudder ควบคุมโดย Rudder Pedal บนพื้นในห้อง Cockpit
1
Vertical Axis
Lateral Axis เกิดจากการทำงานของ Elevator ควบคุมโดย คันบังคับ(Control Column หรือ Stick)
Lateral Axis
ถ้าดูวีดิโอนี้อาจจะทำให้ท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น
บนโลกนี้ยังมีการพัฒนาในการขับเคลื่อนในทุกด้านอย่างไม่สิ้นสุดอีกหลายรูปแบบ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับด้านยานยนต์ อากาศยาน รวมถึงการขับเคลื่อนบนท้องทะเลและแม่นำ้ จาก Swivel ได้ตลอด
ช่องทางการติดตามเพิ่มเติม
Written by Gwatt
โฆษณา