ปิโตรเคมี 3 ขั้น

กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี
กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี (กดที่ภาพเพื่อขยาย)

อะไร? คือความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยี ที่แปรสภาพปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

โรงกลั่นปิโตรเคมี
โรงกลั่นปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 3 ขั้นตอนอันได้แก่

ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ที่ทำให้ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เพิ่มประโยชน์และมูลค่าให้สูงขึ้นๆในแต่ละขั้น

เม็ดพลาสติก
เม็ดพลาสติก

 

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 3 แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนได้แก่

1. ปิโตรเคมีขั้นต้น

เป็นการนำผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(liquefird petroleum gas หรือ LPG มีลักษณะเป็นก๊าซ) ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (matural gasoline หรือ NGL มีลักษณะเป็นของเหลว) และคอนเดนเสทZcondensate) หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน ได้แก่ แนฟทา (naphtha) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) มาแปรสภาพให้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งตามโครงสร้างทางเคมี แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ โอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ ก่อนส่งต่อให้ปิโตรเคมีขั้นกลาง

2. ปิโตรเคมีขั้นกลาง

เป็นการนำผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นกลาง ผลิจภัณฑ์ขั้นกลางนี้ยังไม่สามารถนำไปใข้งานได้โดยตรง ต้องส่งไปเป็นวัตถุดิบของปิโตรเคมีขั้นปลายต่อไป

กระบวนการวิจัยองค์ประกอบ
กระบวนการวิจัยองค์ประกอบ

3.ปิโตรเคมีขั้นปลาย

เป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นหรือขั้นกลาง ไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปืโตรเคมขั้นปลาย เช่น เมล็ดพลาสติก วัสดุสังเคราะห์ชนิดต่างๆ อาธิ เส้นใบสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ เคมีภัณฑ์ หรือตัวทำละลายซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ

เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น!

 

เพื่อสร้างความเข้าใจให้เห็นภาพกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 3 ชั้นได้อย่างชัดเจน อาจเปรียบเทียบได้กับการผลิตเสื้อผ้าและอาหาร ดังต่อไปนี้

ภาพเปรียบเทียบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับการผลิตเสื้อผ้าและอาหาร
ภาพเปรียบเทียบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับการผลิตเสื้อผ้าและอาหาร

เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกับกระบวนการผลิตเสื้อผ้าอาหาร จะเห็นได้ถึงบทสรุปในแนวคิดพื้นฐานของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคือ

1. ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมขั้นต้นจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมขั้นต่อไป โดยมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากขั้นต้นจนถึงขั้นปลายจะสูงไปเป็นลำดับ

2. ลักษณะการผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สามารถเกิดได้ 2 ลักษณะ นั่นคือ 1. กระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นครบ 3 ขั้นตอนเหมือนการผลิตเสื้อผ้า และ 2. การผลิตที่เกิดขึ้นเพียง 2 ขั้นตอนคือจากผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ก็สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายได้เลย โดยไม่ต้องผ่านขั้นกลางเหมือนการผลิตเม็ดสาคู