ค้นหา
ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางเรือ สำหรับผู้เริ่มต้น

ขั้นตอนการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางเรือ สำหรับผู้เริ่มต้น

ในวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆในการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยหัวข้อที่จะเจาะจงในการพูดถึงนั้น จะเป็นการส่งสินค้าแบบ FCL หรือ แบบเต็มตู้


ขั้นตอนในการส่งโลจิสติกส์


1. สินค้าถูกผลิตออกจากโรงงาน

ขั้นตอนแรกคือ สินค้าได้ถูกผลิตออกมาจากโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีการผลิตสินค้าเป็นประจำในทุกๆวัน เมื่อได้ผลิตเสร็จแล้วก็จะเป็นขั้นตอนถึงของบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ


2. ส่งBooking มายัง Forwarder

เมื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเสร็จแล้ว ตัวแทนของทางฝั่งโรงงานก็จะส่ง Booking มายัง Forwarder เพื่อทำการจองเรือ

โดยจะมีการส่งรายละเอียดของสินค้า เช่น

  1. ประเภทของ Container
  2. จำนวนของ Comtainer
  3. วันบรรจุสินค้า
  4. สถานที่บรรจุสินค้า
  5. วัน Cut Off
  6. ETD
  7. .ETA
  8. SFree time
  9. ต้องการเรือ Direct หรือ Transship

3. Forwarder เตรียมการจัดส่งสินค้า

หลังจากได้รับข้อมูลจากทางลูกค้าแล้ว Forwarder จะมีหน้าที่จัดเตรียมรถบรรทุกสินค้า เรือ การทำพิธีการศุลกากร และ ยืนยันเอกสารสำคัญต่างๆ โดยปกติแล้ว ลูกค้าจะขอบริการแบบครบวงจรเลย เพื่อเป็นการง่ายต่อการติดต่อและสะดวกสบายในการสอบถามข้อมูล


4. ตรวจสอบรายละเอียดเอกสารให้ครบถ้วน

เราจะต้องตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด เพื่อความถูกต้องและป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดที่จะตามมา เพราะถ้าหากเอกสารไม่ถูกต้องนั้น เจ้าหน้าที่ได้พบขึ้น อาจจะไม่สามารถเอาสินค้าของเราขึ้นเรือไปได้

ในกรณีหาก ใบรับรองถิ่นกำเนิด หรือ COA มีข้อผิดพลาด สินค้าจะไม่ได้รับอนุญาตสำหรับการลดภาษี ดังนั้น เราควรที่จะใส่ใจและให้ความสำคัญกับเอกสารในทุกขั้นตอน


5. รถหัวลากไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่า

หลังจากนั้น เราจะต้องไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่บริเวณลานรับตู้ เพื่อที่จะนำไปบรรจุสินค้า ณ สถานที่บรรจุสินค้าตามที่ลูกค้าได้แจ้งไว้

ซึ่งในลานตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะเต็มไปด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของสายเรือต่างๆ ที่ถูกทำความสะอาดและถูกซ่อมแซมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการที่จะเข้าไปรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่านั้น เราจะต้องตรวจสอบสภาพของตู้อย่างละเอียด และให้ตรงกับประเภทสินค้าและความต้องการของลูกค้า


6. ตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของลูกค้า

สำหรับลูกค้าบางราย อาจจะบรรจุสินค้าเป็นจำนวนในหลายๆตู้ในแต่ละครั้ง ทางเราจะต้องประสานงานกับผู้ขับรถเรื่องเวลาในการเข้าบรรจุ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบรรจุสินค้า เมื่อขณะบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ เราจะต้องมั่นใจว่าสินค้าจะไม่เคลื่อนย้ายในระหว่างการเดินทางขนส่ง


7. เมื่อสินค้าถึงที่ท่าเรือ

จากนั้นให้ทำการส่งข้อมูล VGM และพิธีการศุลกากรขาออก หลังจากบรรจุสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ขับรถนั้นจะต้องเป็นผู้นำตู้สินค้าไปคืนที่ท่าเรือที่ระบุไว้ใน Booking ภายในระยะเวลาที่กำหนดใน Booking หรือที่เรียกว่า Cut Off คือ วันเวลาที่จะต้องคืนตู้คอนเทนเนอร์ได้อย่างช้าที่สุด

ตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะถูกรวบรวมอยู่ในเทอร์มินอลเป็นจำนวนมาก ดังนั้นใน วันคัทออฟ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นตัวกำหนดนเวลาในการลำเลียงตู้ขึ้นและลงจากทางท่าเรือ


8. พื้นที่บนเรือ

ซึ่งบนเรือนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นไปในส่วนของการวางตู้คอนเทนเนอร์


9. การออกเอกสาร B/L

เอกสารของ B/L จะออกหลังจากที่สินค้านั้นขึ้นไปบนเรือแล้ว เอกสารB/L ถูกออกโดย Forwarder และจะส่งไปยังผู้ส่งออกสินค้า ในขณะเดียวกันผู้ส่งออกกับลูกค้า จะต้องตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายกันให้เรียบร้อย

ในกรณีของ เอกสาร Original B/L ผู้ส่งออกนั้นจะส่งเอกสาร B/L ไปยังลูกค้า โดยใช้บริการ courier เช่น DHL หรือ FedEx ดังนั้นลูกค้าจะต้องมีเอกสาร B/L เพื่อไปแลกเอกสาร D/O


10. การขนส่งสินค้าทางเรือ

ในบางครั้ง ในการที่เกิดความล่าช้าในการส่ง อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ สภาพอากาศที่แปรปรวน ซึ่งการขนส่งสินค้าจะใช้ระยะเวลาไม่กี่วันหากขนส่งในประเทศใกล้เคียง แต่ในกรณีขนส่งสินค้าไปประเทศที่ได้ไกลออกไปอีก ระยะเวลาก็จะมีมากขึ้นตามระยะทาง


11. การออกเอกสาร Arrival Notice

ก่อนที่เรือจะถึงปลายทาง Forwarder ในฝั่งผู้นำเข้านั้น จะต้องส่งเอกสารที่เรียกว่า Arrival Notice ไปยังลูกค้า

Arrival Notice คือ ใบแจ้งว่าเรือจะมาถึง ซึ่งเป็นเอกสารที่ทางตัวแทนเรือ จะส่งไปแจ้งกับทางลูกค้า ว่ามีสินค้ามาถึงปลายทางและได้ระบุค่าใช้จ่ายไว้คร่าวๆไว้


12. ขั้นตอนในการนำเข้าสินค้า

ผู้นำเข้าสินค้า จะต้องได้รับเอกสาร D/O เป็นเอกสารใบสั่งปล่อยสินค้า ที่ทางสายเรือนั้นจะออกให้แก่ผู้นำเข้า ดังนั้นผู้นำเข้าจำเป็นที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายก่อนที่จะไปรับเอกสาร D/O

ในขณะเดียวกันนั้น เอกสาร B/L ก็จะถูกส่งมาพร้อมกับทางเอกสาร Arrival Notice ในกรณีที่ใช้ Original B/L จะต้องส่งเอกสารตัวจริงไปให้กับทางลูกค้าที่อยู่ปลายทาง แต่ถ้าใช้ Surrender B/L ผู้ส่งออกมาสามารถที่จะแสกนและส่งไปให้ผู้รับปลายทาง เพื่อได้ดำเนินการเคลียร์สินค้าได้โดยไม่ต้องใช้เอกสาร B/L ตัวจริง


13. การปล่อยเอกสาร D/O

หลังจากที่ผู้นำเข้าได้รับเอกสาร Arrival Notice เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องไปชำระค่าธรรมเนียมกับทางสายเรือ เพื่อให้ทางสายเรือเป็นผู้ออกเอกสาร D/O เพื่อไปรับสินค้าจากท่าเรือที่นำเข้า


14. พิธีศุลกากรขาเข้า

ในการไปรับสินค้าที่ท่าเรือนั้น ผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ในการทำพิธีการศุลกากรขาเข้า อาทิเช่น Invoice,Packing List,Certificate Of Origin หรือใบรับรองถิ่นกำเนิน เพื่อนำไปใช้เคลียร์สินค้าสำหรับการนำเข้า


15. การปล่อยตู้คอนเทนเนอร์

เมื่อผู้นำเข้าได้รับเอกสาร D/O นั้น และได้ทำการเคลียร์สินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสามารถที่จะไปรับสินค้าได้ที่ลานรับตู้คอนเทนเนอร์


16. การไปรับสินค้า

เมื่อรถบรรทุกได้ไปถึงปลายทาง และนำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ถือว่าเป็นการสิ้นสุดในการขนส่งสินค้า ในการขนส่งสินค้าทางโลจิสติกส์ในแต่ละครั้งแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่นำสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ยังมีเอกสารอีกมากมายที่จะต้องเตรียม เพราะถ้าหากเอกสารผิดพลาด เราอาจจะไม่สามารถส่งสินค้าได้

ที่มา: www.forwarder-university.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail