ค้นหา
การส่งออกผักและผลไม้จากไทยไปต่างแดน

การส่งออกผักและผลไม้จากไทยไปต่างแดน

ผู้เขียนบทความ : At Once
By : At Once

สำหรับผักและผลไม้สดของไทยนั้น ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยของเราเป็นอย่างมาก มีความต้องการจากตลาดในประเทศเป็นจำนวนหลายประเทศ อาทิ เช่น ประเทศจีน หรือทางฝั่งยุโรป รวมไปถึงอเมริกาเอง และการส่งออกผักและผลไม้นี้ ไทยส่งออกไปยุโรปเมื่อปี 2553 โดยการส่งออกผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง มีมูลค่ารวมกว่า 1,763.3 ล้านบาท และเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหาร การส่งออกผักผลไม้ไป EU จะต้องได้มาตรฐานและมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวด แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านสุขอนามัย คือ การตรวจสอบสารตกค้างที่จะต้องไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ในผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ปุ๋ย หรือสารเคมีต่างๆที่ปนเปื้อนอยู่ และการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ว่าจะต้องไม่มีเชื้อโรคปลอมปน เช่น เชื้อซัลโมแนลลา และ เชื้ออีโคไล อีกด้านหนึ่งคือ ด้านสุขอนามัยพืชที่จะต้องตรวจสอบว่าผักไม้ต้องปราศจากศัตรูพืช

สุขอนามัยพืช

กรณีผักผลไม้ถูกตรวจพบปัญหาสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

ถ้าผักและผลไม้ไปถึงด่านนำเข้าในประเทศ สมาชิก EU แล้วพบปัญหาสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จากการสุ่มตรวจก็จะถูกห้ามนำเข้า บางกรณีถูกทำลายทิ้ง หากเป็นปัญหาด้านสุขอนามัยจะโดนประกาศแจ้งเตือนในระบบเตือนภัยที่เชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก EU ทั้งหมด 27ประเทศ ซึ่งเรียกกันว่า ระบบแจ้งเตือนเร่งด่วนสำหรับอาหารและอาหารสัตว์

ในแต่ละปีมานี้ หน่วยงานของยุโรปจะจัดทำรายงานสรุปผลออกมาโดยละเอียดว่าพบปัญหาในด้านใดบ้าง เป็นสินค้าที่ถูกส่งออกมาจากประเทศไหน และประเทศใดในยุโรปที่เป็นผู้ตรวจพบปัญหา โดยจะเป็นข้อมูลที่ทำให้ประเมินความเสี่ยงได้ต่อไปได้ว่าสินค้าประเภทไหนบางกรณีอาจจะมีสินค้าผักผลไม้ที่มีปัญหาสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชหลุดรอดจากการถูกสุ่มตรวจ เข้าไปจำหน่ายในร้านค้าของประเทศสมาชิก EU แต่ก็อาจจะถูกตรวจพบในกระบวนการสุ่มตรวจตามท้องตลาดได้อีก ซึ่งสิ้นค้าก็จะถูกถอดถอนออกจากร้านค้าแห่งนั้น

ความท้าทายของผักผลไม้ไทย

การทำให้ผักผลไม้ปลอดจากปัญหาสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ในส่วนของขั้นตอนการเพาะปลูก การทำความสะอาดพืชเพื่อบรรจุใส่หีบห่อ และ การตรวจสอบ ความสะอาด (ปลอดสารเคมี เชื้อจุลินทรีย์ และ แมลงศัตรูพืช) เพื่อเตรียมส่งออกต่อไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักและมีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน แต่หากส่งออกได้ ก็จะได้ราคาที่ดีมาก เนื่องจากราคาผักผลไม้ไทยในต่างประเทศทุกประเภทนั้นล้วนอยู่ในหมวกสินค้าราคาแพง

  จุดเด่นของผักไทย โดยเฉพาะกะเพราและโหระพา มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถึงแม้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะซื้อเมล็ดพันธุ์พืชของไทยเพื่อที่จะนำไปเพาะปลูกในเรื่อนกระจกภายใน EU เช่น ในเนเธอแลนด์เริ่มมีการผลิตและจำหน่าย โหระพาและสะระแหน่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ก็คงเป็นเรื่องกลิ่นนี้เอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราควรจะนิ่งนอนใจ เพราะวิทยาการสมัยนี้สามารถที่ใช้พัฒนาเรื่องต่างๆได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเรื่องของการเพาะปลูกพืชด้วยเล่นกัน


หลักการ GAP 8 ข้อ

วิธีปลูกพืชตามหลักการ GAP 8 ข้อ

  1. ใช้น้ำจากแหล่งสะอาด
  2. ปลูกในพื้นที่ที่ดี ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีสารพิษในดิน
  3. ใช้และเก็บปุ๋ย / สารเคมีอย่างถูกต้อง
  4. ผลิตตามแผนควบคุมคุณภาพสำหรับพืชแต่ละชนิด
  5. สำรวจศัตรูพืช ป้องกัน และ กำจัดอย่างถูกวิธี
  6. เก็บเกี่ยวผลผลิตถูกเวลา และ ถูกวิธี
  7. ขนย้ายและเก็บรักษาผลผลิตอย่างสะอาดและปลอดภัย
  8. จดทะเบียนทุกขั้นตอน

ช่องทาง การตลาดในยุโรป

ช่องทาง การตลาดในยุโรป

ซึ่งจะมี 2 ช่องทางหลักๆ ช่องทางแรกนั้นคือ การจำหน่ายในร้านชำซึ่งจำหน่ายผักผลไม้ให้แก่ ร้านอาหารไทย รวมทั้งผู้บริโภคโดยทั่วไป และ ช่องทางที่สอง คือ ร้านค้าปลึกขนาดใหญ่หรือซูเปอร์มาเก็ต ซึ่งมีสาขากระจายหลายแห่ง การส่งออกพืชผักไปร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ประเภทนี้ จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ร้านค้าปลีกเหล่านี้ กำหนดเพิ่มเติม จากหลักการ GAP ซึ่งเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีช่องทางการจำหน่ายที่กว้างยิ่งขึ้นและจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น

ข้อมูลข้างต้นนี้ นับว่าเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แก่ผู้ที่ จะส่งออก ผักหรือผลไม้ ไปยังประเทศต่างแดน At-once เองนั้น ได้รวบรวมรายชื่อ บ. ที่เป็นตัวแทนการส่งออก ผักและผลไม้ไปยังต่างประเทศอย่างมืออาชีพ คุณสามารถ เข้าไปที่ลิ้ง........ และติดต่อกับบริษัทเหล่านั้นได้โดยตรง สะดวก และ รวดเร็ว



ขอบคุณภาพจาก:Tomato plant photo created by gpointstudio - www.freepik.com,Fruits and veggies photo created by freepik - www.freepik.com

ที่มา:www.goodfreight-th.com

แชร์บทความ หรือข่าวสาร

Facebook
Line
Mail