Tuesday, May 7, 2024
ชื่นชมอดีต

ความจริงของปราสาทเขาพระวิหาร

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 2  
เรื่อง/ภาพ : ภาคภูมิ น้อยวัฒน์

ความจริงของ

ปราสาทเขาพระวิหาร

หลังการประกาศคำตัดสินของศาลโลกในคดีปราสาทเขาพระวิหารเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่หลายต่อหลายคนยังค้นหาไม่พบ อาจเป็นเพราะด้วยเหตุผลทางการเมือง…หรืออะไรก็ตามแต่ สำหรับผมแล้ว “ความจริง” ประการหนึ่งที่รับรู้ได้แน่นอนก็คือ ปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมอันงดงาม ชวนให้ผมประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เห็น ตั้งแต่เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน

         ไม่ได้เห็นจากของจริงหรอกครับ เพียงเห็นจากภาพถ่ายของคุณพ่อที่ถ่ายเอาไว้ เมื่อตอนที่ผมยังเด็ก และบังเอิญไปรื้อค้นตู้หนังสือของคุณพ่อเจอเข้าเท่านั้น ทว่าความอลังการน่าตื่นใจที่เห็นก็ทำให้ผมแอบวาดฝันว่าจะมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับความงาม และความยิ่งใหญ่ที่เห็นด้วยสายตาตัวเองสักครั้ง

         ยังจำได้ว่ารู้สึกเสียดายมาก เมื่อได้มารู้ทีหลังว่าปราสาทเขาพระวิหารนัน้ ไม่ได้อยู่ในดินแดนของไทย เพราะศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชาไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ก่อนผมจะเกิดด้วยซ้ำไป

ความจริงในหน้าประวัติศาสตร์
         ด้วยความเสียดายทำให้ผมเกิดความอยากรู้ว่าทำไมไทยเราถึงได้สูญเสียปราสาทเขาพระวิหารไป ตามหาอ่านจากในหนังสือเก่าๆถึงได้รู้ถึงเรื่องราวอันสลับซับซ้อน ไม่แพ้นิยายลึกลับซ่อนเงื่อนเลยทีเดียว

         เหตุเริ่มแรกนั้นคือ ฝรั่งเศสซึ่งเข้าครอบครองดินแดนอินโดจีนเป็นอาณานิคม ได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งตามสนธิสัญญาดังกล่าว ในมาตรา 1 ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีผลให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตราชอาณาจักรสยาม

เหตุเริ่มแรกนั้นคือ ฝรั่งเศสซึ่งเข้าครอบครองดินแดนอินโดจีนเป็นอาณานิคมได้ทำสนธิสัญญาปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งตามสนธิสัญญาดังกล่าว ในมาตรา 1 ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีผลให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตราชอาณาจักรสยาม

         แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปี พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสก็ได้จัดทำแผนที่ “เขียนเองเออเอง” ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้กับสยาม 50 ชุด ชุดละ 11 แผ่น โดยมีส่วนสำคัญคือแผ่นที่เรียกว่า “แผ่นดงรัก” เพราะว่าแผนที่ฉบับที่นี้ไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แถมยังเขียนให้

About the Author

Share:
Tags: ปราสาทเขาพระวิหาร /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ