Search
Close this search box.

ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น

น้ำมันหล่อลื่น หรือ LUBRICANAT OILS เป็นสารหล่อลื่นสำหรับลดแรงเสียดทานสำหรับเครื่องจักรกล และเครื่องยนต์ เพื่อช่วยระบายความร้อน ป้องกันการสึกหรอของเครื่องจักร อีกทั้งยังสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และเครื่องยนต์ให้มีอายุการใช้งานมากขึ้น

องค์ประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่สำคัญ มี 2 อย่าง คือ

1. น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน หรือ BASE OIL (ประมาณ 75 – 85% ของน้ำมันหล่อลื่น) ในส่วนนี้สามารถแยกย่อยออกมาได้อีก 3 ประเภท

– น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์ (Vegetable or Animal oils) โดยน้ำมันจากส่วนนี้นั้นจะนิยมใช้ในสมัยก่อน แต่น้ำมันพื้นฐานชนิดนี้ คุณสมบัติทางด้านเคมีไม่เสถียร เสื่อมคุณภาพได้ง่ายมาก จึงจำเป็นต้องมีการนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาใช้งาน ทำให้ราคาสูงขึ้น จึงทำให้ความนิยมหมดไป น้ำมันพื้นฐานชนิดนี้ที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ น้ำมันละหุ่ง น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันปลา เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 1

– น้ำมันแร่ (Mineral Oils) เป็นน้ำมันพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเนื่องด้วยมีคุณภาพดี และราคาถูก ซึ่งน้ำมันแร่นี้ได้จากการนำส่วนน้ำมันก้นสุดของหอกลั่น นำมากลั่นภายใต้สภาพสุญญากาศ เพื่อแยกเอาน้ำมันหล่อลื่นชนิดใส และชนิดข้นออกมา ส่วนที่เหลือนั่นคือ ยางมะตอย และนำน้ำมันหล่อลื่นมาแยกสารมลทินออกเพื่อให้มีความอยู่ตัวเชิงเคมี และเชิงความร้อนที่ดีขึ้น
ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 3

– น้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic Oils) เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี จึงทำให้มีราคาค่อนข้างแพง ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันจึงนิยมใช้น้ำมันพื้นฐานประเภทในนี้งานในเฉพาะที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษในด้านดัชนีความหนืดสูง จุดไหลเทต่ำ และมีการระเหยต่ำ
ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 5

2. สารปรับปรุงคุณภาพ (Additives) (ประมาณ 15 – 25% ของน้ำมันหล่อลื่น) เป็นสารเคมีที่ช่วยปรับแต่งคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีมากขึ้น เนื่องด้วยในปัจจุบันเครื่องจักรกล และเครื่องยนต์มีการออกแบบให้มีขนาดเล็กลง ทำงานเร็วขึ้นและสภาวะต่างๆสูงขึ้น เช่น อุณหภูมิ ความเครียด ภาระน้ำหนักสูง เป็นต้น ทำให้น้ำมันต้องมีการปรับแต่งคุณภาพให้ดีขึ้น เพื่อรองรับสภาวะดังกล่าว โดยสารปรับแต่งคุณภาพมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ได้แก่

– สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Anti – Oxidation)

– สารป้องกันการสึกหรอ (Anti – Wear)

– สารป้องกันสนิม (Corrosion and Rust Inhibitor)

– สารป้องกันโฟม (Anti foam)

– สารรับแรงกดสูง (Extreme Pressure)

– สารเพิ่มดัชนีความหนืด (Viscosity Index Improver)

– สารเพิ่มความเป็นกรดด่าง (Total Base Number Booster ; TBN)

– สารชะล้าง / กระจายสิ่งสกปรก (Detergent and Dispersant)

ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 7

หน้าที่ของน้ำมันหล่อลื่น

1. ช่วยหล่อลื่น (Lubricate) ชิ้นส่วนในเครื่องจักร เครื่องยนต์ ฟิล์มหรือเยื่อบางๆ ของน้ำมันหล่อลื่นจะทำหน้าที่เคลือบผิวโลหะหรือชิ้นงานที่มีการเคลื่อนที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีกันโดยตรง

2. ช่วยระบายความร้อน (Coolant) โดยจะระบายความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และลดอุณหภูมิในระบบ

3. ช่วยรักษาความสะอาด (Clean) คือจะต้องสามารถชะล้างหรือขจัดคราบต่างๆ จากผิวชิ้นงานได้เป็นอย่างดี

4. ช่วยป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน (Protect)

5. ช่วยกระจายความสกปรก (Dispersant)

6. เป็นซีลป้องกันการรั่วไหลของแรงอัดในกระบอกสูบ

7. เป็นตัวส่งกำลังในระบบไฮดรอลิก

ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 9
ทั้งนี้ทาง WITTOIL ของเรานั้นเป็นบริษัทที่ผลิต และจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น  โดยมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากกว่าร้อยประเภท น้ำมันล้วน น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ น้ำมันสังเคราะห์ สามารถรองรับการใช้งานทั้งในเครื่องเครื่องยนต์ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีคุณภาพสูง เนื่องด้วยเราใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศ ทำให้มั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับน้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพ เพื่อเครื่องจักรที่มีค่าของท่าน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ www.wittoil.com

ความรู้พื้นฐานน้ำมันหล่อลื่น 11
error: สงวนลิขสิทธิ์