ต้นยางนา ไม้ 200 ปี

ต้นยางนา Yang, Gurjan, Garjan

ไม้ยางนา เป็นเสมือนพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ ประมาณ 50 เมตร อายุยืนนานถึง 400 ปี ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบ ชายลำธารในป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous forest) ที่สูง จากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 600เมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียจากตอนใต้ของประเทศอินเดียศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซียลาวกัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์

ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don) เป็นพืชในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) จัดเป็นพืชให้เนื้อไม้ที่มีความสำคัญมากรองจากไม้สัก (เอานึกเล่นๆท่านจะปลูกพญาไม้เอเซียในสวนป่าของท่านเชียวนะ)

จากงานวิจัยมากมาย WEGROFOREST จึงนำยางนามาปลูกพร้อมกับต้นสัก เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับดินและการเจริญเติบโตเต็มที่ของป่าผสมผสาน

ต้นยางนา คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มีน้ำมันยางเป็นของเหลวข้น

ซึ่งการนำน้ำยางออกจากต้น สามารถใช้จากต้นที่อายุ 15 ขึ้นไปเฉลี่ยได้วันละ 1 ลิตร

หากคิดง่าย ปีละ 300 ลิตรตัวกลม ต่อ 1 ต้น พลังงานทดแทนน้ำมัน สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิตอื่นใด ยางนามีอายุถึง 200 ปี หากเราปลูกยางนาในช่วงชีวิตเราแล้วนำน้ำมันมาใช้ 40 ปี 1 ต้นจะให้น้ำมันถึง 12,000 ลิตรเลยทีเดียว

ส่วนสรรพคุณของต้นยางนาอื่นๆ เล่า 3 วัน 3 คืนก็ไม่จบ มีงานวิจัยเกี่ยวกับยางนามากมาย

3 แรก กินเห็ดเก็บใบ
  1. เห็ดทั้งปีเก็บได้ 4 กิโล คิดกิโลละ 50 บาท 200 บาทต่อปี 30 ปี 6000 บาท
  2. เก็บใบยางนาใบละ 1 บาท 1ใบต่อสัปดาห์ 30 ปี ประมาณ 60,000 บาท
  3. น้ำมันที่ได้จากต้นยางนาเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไปได้ 30 ลิตร ต่อต้นต่อปี 30 ปี 900 ลิตร คิดลิตรละ 100 xประมาณ 90,000 บาท
  4. เมล็ดยาง 30 ปี มาเพาะ คิดปีละ 300-1000 ต่อต้นต่อปี 300 เมล็ดx30 ปี = 9000 เมล็ด มาเพาะขายต้นละ 10 บาท ได้ 90,000 บาท

รวมๆ 1 ต้น รายรับประมาณ 246,000 บาท อ้างอิงโดย อาจารย์กฤษดา มหาวิทยาลัยขอนก่อน

ราคาต้นยางนา

ปัจจุบันนี้ราคาซื้อขายต้นยางนาขนาดใหญ่ ถือว่าทำรายได้ไม่แพ้ต้นสักทอง เพราะราคาซื้อขายต้น ยางนาอายุ 15-20 ปี ราคาต้นละ 15,000-25,000 บาท ต่อต้น (ไก่,2555) ตัวเลขข้อมูลจากงานวิจัย มหาลัยขอนแก่น

ซึ่งไม้ยางนาในปัจจุบันขาดแคลนและต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม้ยางนา เป็นไม้ที่มีความต้องการทางเศรษฐกิจสูงเพราะว่าสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และไม้สร้างอาคารบ้านเรือน ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ได้อย่างมหาสาล อีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันยางที่ได้จากต้นยางมาทำเชื้อเพลิง น้ำมันที่ได้จากต้นยางนา อายุ 15 ปี สามารถให้น้ำมันได้วันละ 1 ลิตร

วิธีนำน้ำยางออกมาจากต้นยางนา

ขยายพันธุ์ ยางนา อย่างไรนั้น

ไม้ยางนา หรือไม้วงศ์ยางส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปกติเมล็ดยางนาจะแก่และเริ่มร่วงจากต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ดังนั้นการเพาะต้นกล้ายางนาจะเพาะจากเมล็ดที่เก็บมาจากพื้นดินใต้ต้นใหญ่ (ต้นแม่) เฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นที่จะสามารถงอกและเติบโตเป็นกล้าไม้ที่สมบูรณ์ได้ เมล็ดที่เก็บแล้วไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเพราะจะเกิดการผ่อและลีบจากการสูญเสียความชื้นในเมล็ด หรือการเจาะกินเนื้อเยื่อภายในของพวกด้วงแมลงต่างๆ จนไม่สามารถงอกได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการเพาะกล้าไม้ที่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้ตลอดทั้งปี บางปีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงมาก ยางนาไม่ออกดอก ไม่มีเมล็ด ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ในการเพาะได้ยางนา 1 ต้น สามารถให้เมล็ดได้ถึง 5 หมื่นเมล็ดเลยทีเดียว คิดเล่นๆเอามาเพาะขายต้นละ 10 บาท

ช่อดอกและดอกของยางนา (ภาพโดยพงษ์ศักดิ์พลเสนา และอนิษฐาน ศรีนวล)

ดอกยางนา
ยางนามีช่วงฤดูกาลออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกมีขน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแผ่เป็นปีก เป็นปีกสั้น 3 ปีก และปีกยาว 2 ปีก เรียงจรดกัน (valvate) ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลอ่อน กลีบเลี้ยงติดทนและขยายขนาดขึ้นเมื่อติดผล
ผลและเมล็ด
ยางนามีการผสมเกสรทั้งแบบการถ่ายเรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination) และการถ่ายเรณู ข้ามต้น (cross-pollination) ในแต่ละช่อดอกจะติดผลเพียง 1-3 ผล ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ผลของยางนาจัดเป็นผลแบบผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) ซึ่งเป็นผลแห้งไม่แตกแบบเปลือกแข็งมีเมล็ดเดียว (nut) รูปกลม ยาว 2-3 เซนติเมตร มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีก ซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยงที่ขยายขนาดเป็นปีกยาว 2 ปีกยาวประมาณ 15 เซนติเมตรและปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีแดงปนชมพูผิวมีขนสั้น
เมล็ดที่สมบูรณ์ดูจาก ปีกและผลต้องแห้ง สีของปีกและผลต้องเป็นสีน้ำตาล ถ้าผลยังสดอยู่และเป็นสีแดง แสดงว่าผลยังอ่อนอยู่แล้วร่วง ไม่มีหนอนเจาะดูจากเมล็คถ้ามีขี้หนอนแล้วมีรูให้สันนิษฐานว่าโดนหนอน เจ าะ ทดสอบความมีชีวิตโดยการ สุ่มเก็บเมล็ดสั ก 10-20เมล็ด โดยนำผลมาผ่าดูว่าภายในเมล็คมีสีอะไร ถ้า ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำแสดงว่าเมล็ดเสียหายมาก ถือว่ามีเปอร์เซ็นตัความงอกต่ำ ถ้าผ่าออกมาแล้ว ส่วนใหญ่มีสีขาวแสดงว่าเมล็ดมีความมีชีวิตสูงเมล็ดที่ใหญ่ต้นกถ้าที่ได้ก็จะใหญ่และแข็งแรงถ้าผสมเชื้อไมคอร์ไรซา ในดินที่นำมาเพาะกล้าไม้จะช่วยให้กล้าไม้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้นซึ่งเป็นเชื้อราที่พบในรากของยางนาเป็นชนิด เอคโตไมคอร์ไรซา เชื้อชนิดนี้มีผลต่อการเจริญเดิบโตของยางนาโดยเชื้อราจะช่วยในการดูดซับความชื้นและแร่ธาตุในดินทำให้กล้ายางนาทนทานต่อความแห้งแล้งอีกทั้งยังป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นที่รากอีกด้วย
จากลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ยางนาและท่อน้ำมัน จึงได้มีการศึกษาเพื่อหาวิธีการเจาะเอาน้ำมันยางนาแบบใหม่ โดยตั้งสมมุติฐานว่าถ้าสามารถเจาะรูตัดท่อน้ำมันที่อยู่ในเนื้อไม้ที่อยู่ถัดจากเนื้อเยื่อเจริญเข้าไปได้ น้ำมันก็จะไหลออกมาตามรู สมมุติฐานนี้ได้พิสูจน์โดยใช้สว่านไฟฟ้าและดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร เจาะเข้าในลำต้นลึกประมาณ 25 เชนติเมตร (ภาพที่ 2.9ก. และ 2.9ข. ในทิศทางเฉียงขึ้นเพื่อให้น้ำยางซึ่งมีความหนืดไหลออกมาด้านนอกได้สะดวก (ภาพที่ 2.9ค.) ซึ่งปากรูทางออกจะมีภาชนะสำหรับเก็บแขวนอยู่ (ภาพที่ 2.9ง.) วิธีใหม่นี้สามารถเก็บน้ำมันยางนาได้โดยเฉลี่ยประมาณ 400 มิลลิลิตรต่อวันต่อรู ถ้าทิ้งไว้ประมาณ 1 วันน้ำมันยางจะเริ่มหยุดไหล เนื่องจากยางเหนียวที่อยู่ในน้ำมันเกิดการแข็งตัวปิดแผลที่เจาะ ต้องใช้แท่งเหล็กที่มีปลายงอเหมือนช้อน ขูดเอายางเหนียวที่ติดภายในรูออก น้ำมันยางนาก็จะเริ่มไหลได้อีก (สมพร เกษแก้ว และคณะ, 25542 วิธีนี้ไม่ทำให้เกิดแผลใหญ่กับต้นไม้ ถ้าปล่อยแผลทิ้งไว้ประมาณ 1 ปี ต้นยางนาก็จะสามารถสร้างเนื้อเยื่อใหม่มาปิดได้เกือบหมด
ยางนาต้นไม้ของพระราชา
ยางนามีการปลูกขยายพันธุ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ต้นยางนาบริเวณสองฟากถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำาพูน ซึ่งปลูกตั้งแต่ปีพ.ศ.2442และปลูกเพิ่มในปีพ.ศ.2465ในสมัยรัชกาลที่6 ปัจจุบัน มีจำนวนมากกว่า 1,000 ต้น
ต้นยางนาบริเวณถนนสายเชียงใหม่-สารภี-ลำพูน
ยางนา ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชปรารกเมื่อปี พ.ศ.2504 ด้วยทรงห่วงใยในสถานการณ์ของไม้ยางนาเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้วว่า “ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดฟัน ไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปถูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณ ไม้ยางนาก็จะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรที่จะ ได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ” ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประกวบคีรีขันธ์ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างถนนเพชรเกษม ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 176-179 ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมบายน 2504 ให้เจ้าหน้าที่นำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านในบริเวณพระตำหนักจิตรถคารโหฐานส่วนหนึ่งและ ได้ทรงเพราะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ 4 เดือนในบริเวณสวนจิตลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าถูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ จำนวน 1,096 ต้น โดชมีระยะปลูก 2.50 x 2.50 เมตร เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วนพระองค์ส่วนจิตรลดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ(สมชัย,2550) ลองเข้าไปอ่านประวัติ ดาบวิชัย (เป็นคนบ้าปลูกต้นไม้) เค้าลองผิด ลองถูก เรื่องการปลูกต้นไม้มากกว่า 20 ปีต้นไม้ที่ดาบพูดถึงเป็นประจำ มี 2 ชนิด คือ ยางนา และ ต้นตาลด้วยเหตุเพราะปลูกง่าย ทนทาน และ มีประโยชน์มากมาย ที่มา http://www.qsbg.org/Database/Article/Art_Files/article24-4.pdf http://wwww.kasctporpeang.com/forums/index.php?topic-48957.15,wap2
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.