การซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินในตลอด 40ปีที่ผ่านมา

(VOVWORLD) - เมื่อกว่า 20ปีก่อน โบราณสถานหมีเซินในจังหวัดกว๋างนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้ ก่อนหน้านั้น โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งนักวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศหลายร้อยคนในการวิจัยและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ซึ่งช่วยให้กลุ่มปราสาทที่ได้รับความเสียหายได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่อย่างสมบูรณ์
การซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินในตลอด 40ปีที่ผ่านมา - ảnh 1ปราสาทหมีเซินหลัง โครงการร่วมมือระหว่างเวียดนามกับโปแลนด์

ปราสาทหมีเซินตั้งอยู่ที่อำเภอยวีเซวียน จังหวัดกว๋างนาม ซึ่งได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980 โดยโครงการร่วมมือระหว่างเวียดนามกับโปแลนด์ในการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์และมีการเข้าร่วมของศูนย์อนุรักษ์และซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถานส่วนกลาง ซึ่งปัจจุบันคือสถาบันอนุรักษ์มรดก ได้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานแห่งนี้ โดยปราสาทต่างๆได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ผ่านการระบุตำแหน่งและการซ่อมแซมปราสาทที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งการปฏิบัติมาตรการในเบื้องต้นเหล่านี้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อภารกิจการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของชนเผ่าจามและช่วยให้ปราสาทหมีเซินได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก

ต่อมาในระยะปี 1997- 2000 บรรดาผู้เชี่ยวชาญอิตาลีได้เดินทางมาสำรวจและประเมินสภาพทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา อุทกวิทยาและสถานการณ์การบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซิน โดยเฉพาะผลการวิจัยเกี่ยวกับอิฐ ปูนกาวและเทคนิกในการก่อสร้างปราสาทของชนเผ่าจาม ซึ่งจากผลการวิจัยดังกล่าว รัฐบาลอิตาลีได้สนับสนุนเงินในการปฏิบัติโครงการปกป้องมรดกโลกหมีเซิน – การนำเสนอและการอบรมเกี่ยวกับการบูรณะปฏิสังขรณ์กลุ่มปราสาทจีของโบราณสถานหมีเซินตามมาตรฐานสากลภายใต้การตรวจสอบของยูเนสโก ทั้งนี้ การวิจัยและการปฏิบัติงานด้านโบราณคดีในพื้นที่กว่า 1 พัน 8 ร้อยตารางเมตรได้ช่วยรวบรวม คัดแยกวัตถุโบราณและซากปรักหักพังทางสถาปัตยกรรมกว่า 3 พันชิ้น  ส่วนปราสาทที่ได้รับความเสียหายในกลุ่มปราสาทจีได้รับการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้มั่นคงถาวร

ส่วนในระยะปี 2011- 2015 สถาบันอนุรักษ์มรดกได้ปฏิบัติโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาท E7 ซึ่งเป็นหนึ่งในปราสาทของโบราณสถานหมีเซินที่มีสถาปัตยกรรม Kosagrha ที่มีหลังคารูปทรงโค้งเหมือนหัวเรืออย่างสมบูรณ์ ซึ่งโครงการนี้คือการปฏิบัติตามผลการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุและปูนกาวที่ใช้ในการก่อสร้าง นาย เลวันมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีได้เผยว่า “ในตลอด 40ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงปี 1980-1990 โบราณสถานหมีเซินได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มากที่สุด ส่วนในช่วงหลายสิบปีมานี้ การสนับสนุนด้านการเงินและการช่วยเหลือจากบรรดานักวิชาการได้ทำให้งานด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินในตลอด 40ปีที่ผ่านมา - ảnh 2โครงการการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซิน 

การบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินได้รับการปฏิบัติตามแบบโบราณคดีควบคู่กับการระบุตำแหน่งและซ่อมแซมปราสาทที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นกระบวนการบูรณะปฏิสังขรณ์ที่มีประสิทธิภาพ นาย ฟานโหะ ผู้อำนวยการคณะกรรมการบริหารมรดกวัฒนธรรมหมีเซินได้เผยว่า ทัศนะและแนวทางการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินในช่วงก่อนยังสอดคล้องและได้รับการสานต่อในการปฏิบัติงานในปัจจุบัน “หลังจากได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก โบราณสถานหมีเซินมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก โดยได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายมรดกเวียดนาม อีกทั้งได้รับความสนใจจากบรรดานักวิชาการและองค์กรต่างๆทั้งภายในและต่างประเทศในการวิจัย อนุรักษ์และบูรณะปฏิสังขรณ์ ตลอดจนดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวจำนวนมาก”

เมื่อหวนมองดูการวิจัยและการประยุกต์เทคนิกเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทต่างๆของโบราณสถานหมีเซินในเกือบ 40ปีที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการได้เผยว่า ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซินได้ทำความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับเทคนิกและสถานการณ์บูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทต่างๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อปราสาทที่เหลืออยู่ หากช่วยส่งเสริมคุณค่าของโบราณสถานจนทำให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งโครงการต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศต่างๆและองค์กรระหว่างประเทศ มีโครงการที่สำคัญบางโครงการ เช่น โครงการก่อสร้างโซนจัดแสดง วิจัยและแนะนำโบราณสถานหมีเซินขององค์การ JICA ประเทศญี่ปุ่น โครงการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ปราสาทจีในกรอบแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอิตาลี ยูเนสโกและเวียดนามและโครงการอนุรักษ์และบูรณะปฏิสังขรณ์มรดกวัฒนธรรมโลกโบราณสถานหมีเซินที่รัฐบาลอินเดียอุปถัมภ์ นาย เหงวียนแทงห่ง ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว๋างนามได้เผยว่า “ต้องทำการบูรณะปฏิสังขรณ์และใช้ประโยชน์จากโบราณสถานอย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว อีกทั้งจัดทำแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวและเชิญชวนให้สถานประกอบการ บริษัทนำเที่ยวและนักลงทุนเข้ามาลงทุนและใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวในพื้นที่รอบเขตมรดกอย่างยั่งยืน”

เวียดนามมีกิจการสถาปัตยกรรมที่ได้รับความเสียหายกว่า 70 แห่ง ซึ่งการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานหมีเซิน จังหวัดกว๋างนามเป็นเพียงกิจกรรมเริ่มต้นเท่านั้นและในอนาคต มีงานที่ต้องทำอีกมากสำหรับมรดกวัฒนธรรมโลกแห่งนี้ โดยการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ปราสาท กิจการสถาปัตยกรรมต่างๆและงานด้านโบราณคดีจะต้องได้รับการปฏิบัติพร้อมกัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด