เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ 2 สูบ 3 สูบ และ 4 สูบ แตกต่างกันอย่างไร ?

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ในช่วงเวลานี้ รถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ กลายเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เหตุผลหลักๆ เลยก็คือ มันเท่ค่ะ ใครขับผ่านถนนเส้นไหน จะต้องมีคนเหลียวหลังมองแน่นอน  แถมยังมีเรื่องความเร็วของ เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ และประสิทธิภาพความทนทานที่บิ๊กไบค์สามารถทำได้ แต่ก็มีคำถามยอดฮิตที่ สิงห์นักบิดหรือผู้สนใจบิ๊กไบค์หลายคนสงสัย หรืออยากรู้ความแตกต่างของจำนวนลูกสูบที่อยู่ภายในเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ เครื่องยนต์แบบนี้จะต้องมีกี่สูบ ดังนั้น ทางร้าน Tzarbikeshop จึงรวบรวมความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์แต่ละประเภท เพื่อให้พี่น้องชาวสองล้อทุกท่าน ได้มีความเข้าใจเกี๋ยวกับเครื่องยนต์ในแต่ละแบบมากยิ่งขึ้น

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ มีกี่สูบบ้าง ? แตกต่างกันอย่างไร ?

เครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ

เครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ ถือเป็นพื้นฐานของเครื่องยนต์ที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีความสามารถในการจุของกระบอกลูกสูบได้ตั้งแต่ 50 – 1,000 ซีซี

  • ข้อดีของเครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ

เครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบ หรือสูบเดี่ยว มีขนาดและน้ำหนักที่กะทัดรัด ต้นทุนในการผลิตไม่สูงมาก ให้อัตราเร่งที่ตอบสนองได้ดีในย่านความเร็วต่ำ  ได้แรงบิดที่มีมาก การดูแลรักษาทำได้ง่ายดาย และด้วยน้ำหนักของเครื่องยนต์ที่มีไม่มาก ทำให้ตัวบิ๊กไบค์มีขนาดเล็ก

  • ข้อเสียของเครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ

ส่วนข้อเสียของเครื่องยนต์ 1 สูบ จะไม่สามารถใช้อัตราเร่งได้ดีมากนัก ถ้าหากคุณบรรทุกสิ่งของหรือผู้ขับขี่มากเครื่องยนต์จะต้องแบกรับน้ำหนักของตัวรถที่มากเกินไป เครื่องยนต์อาจเกิดอาการสั่นได้ หรือถ้าต้องใช้ความเร็ว เครื่องยนต์จะเกิดอาการน็อก ร้ายแรงสุดถึงขั้นลูกสูบแตกได้เลย

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ มีกี่สูบบ้าง ? แตกต่างกันอย่างไร ?

ครื่องยนต์ 2 ลูกสูบ

เครื่องยนต์แบบ 2 ลูกสูบ เป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อยอดมากจากเครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ ซึ่งมีการวางกระบอกลูกสูบที่แตกต่างกัน โดยจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเครื่องยนต์ 1 สูบ โดยเราจะเห็นได้ตามบิ๊กไบค์ที่มีขนาดเกิน 250 ซีซีขึ้นไป จนถึง 1,400 ซีซี เลยทีเดียว

  • ข้อดีของเครื่องยนต์ 2 ลูกสูบ

เครื่องยนต์ 2 ลูกสูบ จะคล้ายกับเครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบ ที่จะให้แรงบิดที่ดีในย่านความเร็วต่ำ แต่จะลดอาการแผ่วปลายและอาการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ในรอบความเร็วสูงๆ โดยจำนวนการหมุนของเครื่องยนต์จะมี 2 ลูกคอยช่วยกันหมุน ทำให้การสึกหรอจากครื่องยนต์น้อยลง

  • ข้อเสียของเครื่องยนต์ 2 ลูกสูบ

การวางตำแหน่งของเครื่องยนต์จะใช้มากกว่าเครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบ แรงบิดที่ได้นั้นจะใกล้เคียงเครื่องยนต์ 1 ลูกสูบ แต่ถ้าเทียบกันด้วยข้อมูลแล้ว เครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบจะให้แรงบิดที่ดีกว่า และด้วยจำนวนกระบอกสูบที่มากกว่า ทำให้บิ๊กไบค์คันนี้มีน้ำหนักมาก

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ มีกี่สูบบ้าง ? แตกต่างกันอย่างไร ?

เครื่องยนต์ 3 ลูกสูบ

เครื่องยนต์แบบ 3 ลูกสูบนั้นเป็นเครื่องยนต์ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ลูกสูบ และ 4 ลูกสูบ เป็นการออกแบบที่ลงตัวมากๆ  ซึ่งมันกลายเป็นข้อดีของเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ 3 ลูกสูบค่ะ

  • ข้อดีของเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ 3 ลูกสูบ

แรงบิดสูงในรอบต่ำและแรงม้าสูงในย่านความเร็วสูง อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่สูงมากนัก เหมาะกับคนรักโลกจริงๆ ค่ะ แถมอาการสั่นของเครื่องยนต์ก็มีน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบ 1 ลูกสูบ และ 2 ลูกสูบ

โดยเครื่องยนต์แบบ 3 สูบ เรามักพบมากใน Triumph ตระกูล Triple, Tiger และ Daytona รวมถึง MV Agusta หรือแม้แต่ MT-09 จาก Yamaha ค่ะ  

  • ข้อเสียของเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ 3 ลูกสูบ

การดูแลที่ยากกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป รวมไปถึงต้นทุนในการผลิตที่สูง การตอบสนองต่อคันเร่งอาจจะมีช่วงหน่วงๆ บ้าง การเดินรอบเครื่องยนต์ก็มีความร้อนนานกว่าเครื่องยนต์แบบอื่น แต่ถ้าคุณมีระบบระบายความร้อนที่ดี ก็ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นะคะ

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ มีกี่สูบบ้าง ? แตกต่างกันอย่างไร ?

เครื่องยนต์ 4 ลูกสูบ

เครื่องยนต์แบบ 4 ลูกสูบ ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาของอาการแผ่วปลายเวลาเร่งความเร็ว ซึ่งรูปแบบการวางเครื่องยนต์ก็มีผลต่ออัตราเร่งอยู่พอสมควร โดยส่วนมากเราจะเห็นเครื่องยนต์ 4 สูบได้จากเครื่องยนต์ขนาด 400 – 1,600 ซีซี

  • ข้อดีของเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ 4 ลูกสูบ

อัตราเร่งในช่วงกลางและช่วงปลายจะไหลลื่น นุ่มนวลกว่า ทำความเร็วได้ดีกว่า รอบของเครื่องยนต์ได้ยาวกว่า เกิดอาการสั่นของเครื่องยนต์มีไม่มากนัก

  • ข้อเสียของเครื่องยนต์บิ๊กไบค์ 4 ลูกสูบ

เนื่องจากมี 4 ลูกสูบ ทำให้น้ำหนักของเครื่องยนต์มีมากกว่าตามขนาดของกระบอกสูบ ซึ่งส่งผลต่อแรงบิดในย่านที่ใช้ความเร็วต่ำจะมีน้อยซึ่งเทียบกับน้ำหนักตัว ยิ่งน้ำหนักมากการออกตัวก็ช้ากว่าปกติ อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงก็สูงด้วยเช่นกัน

เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ 2 สูบกับ 4 สูบ ต่างกันอย่างไร??

“ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ที่เถียงกันอย่างไรก็ไม่จบ นั่นก็คือ ระหว่างเครื่องยนต์ 2 สูบ กับเครื่องยนต์ 4 สูบ มันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง” ไปชมกันเลย

– มาดูในส่วนของเครื่องยนต์แบบ 2 สูบกันก่อน แน่นอนว่าในเรื่องของแรงม้านั้น ไม่อาจสู้กับเครื่องยนต์จำพวกสี่สูบได้อยู่แล้ว แต่สองสูบจะได้เปรียบในเรื่องอัตราเร่งช่วงต้น ที่จะออกตัวได้รวดเร็วและรุนแรงกว่า

เครื่องยนต์แบบสองสูบจะมีจุดเด่นในเรื่องของอัตราเร่ง ที่มีทอร์คหรือแรงบิดที่มากกว่า รวมไปถึงการขับขี่ที่ง่าย ทันอกทันใจกว่า ควบคุมไม่ยากเย็นนัก รวมไปจนถึงการขับขี่ขึ้นทางชัน หรือขึ้นเขา เนื่องจากจะมีแรงบิดในรอบต่ำที่ดีกว่านั่นเอง และแน่นอนว่าจุดเด่นอีกหนึ่งอย่างของเครื่องสองสูบก็คือ เหมาะสำหรับรถที่ใช้เดินทางไกล (Touring Motorcycle) หรือบรรทุกสัมภาระหนักๆ จึงทำให้หลายๆ คนเลือกรถมอเตอร์ไซค์แบบสองสูบมาครอบครอง

– มาต่อกันที่เครื่องยนต์แบบ 4 สูบ กันบ้าง แน่นอนว่าโดดเด่นเป็นอย่างมากในเรื่องของเสียง ซึ่งในจุดนี้เองที่ทำให้ชาวไบค์เกอร์หลายๆ คนหลงรักรถมอเตอร์ไซค์แบบสี่สูบ ด้วยเสียงหวานๆ ของมัน รวมไปถึงพละกำลังของเครื่องยนต์ที่สะใจ มันส์กว่าในรอบปลาย สังเกตได้จากรถบิ๊กไบค์ประเภท Sportbike ที่ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้เครื่องยนต์แบบสี่สูบทั้งสิ้น เนื่องด้วยความแรงปลายของมันที่ไม่ตกเอาง่ายๆ นั่นเอง

รถมอเตอร์ไซค์ 4 สูบ เหมาะสำหรับการขับขี่บนพื้นทางเรียบ ซึ่งจะตอบโจทย์เป็นอย่างมากสำหรับชาวไบค์เกอร์ที่ชื่นชอบในความเร็วช่วงปลายพูดง่ายๆ ก็คือ ความเร็วสูงทำได้ต่อเนื่อง แรงดีไม่มีตก แต่หากเรานำไปขับขึ้นเขา หรือบรรทุกของหนักๆ มันก็อาจจะสู้เครื่องยนต์แบบสองสูบไม่ได้เลย เนื่องจากแรงบิดของเครื่องเน้นการใช้งานรอบสูงเป็นหลัก เนื่องจากรถสี่สูบจำเป็นต้องใช้รอบของเครื่องยนต์ที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี เครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์ทั้ง 2 แบบ ต่างก็มีดีมีแย่ที่ต่างกันออกไปนะครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าชาวไบค์เกอร์แต่ละคนนั้นจะชื่นชอบสไตล์ไหนมากกว่ากัน ชอบบิดแล้วพุ่งหน่อยก็หันไปมอง 2 สูบ แต่ถ้าเอามันส์ ขับทางเรียบไกลๆ บวกกับเสียงหล่อๆ แล้วล่ะก็ แน่นอนว่า 4 สูบ จะได้เปรียบในสไตล์นี้มากกว่าอยู่พอสมควร

ขอบคุณข้อมูลและภาพ www.rabbitfinance.comwww.kawasakimotoaholic.com/
เรียบเรียงโดย : Tzarbikeshop.com
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบิ๊กไบค์ได้ที่ : Tzarbikeshop – อะไหล่บิ๊กไบค์

ใส่ความเห็น