10 หัวข้อ กฎหมายอบรมผู้รับเหมา ก่อนเข้าปฏิบัติงาน

    ในการอบรมผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานหากจะต้องอบรมเกี่ยวกับกฎหมายแล้ว มีประเด็นไหน ในกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมาบ้าง วันนี้ร้านไทยจราจรขอนำ 10 หัวข้ออบรมกฎหมายผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

1.ผู้รับเหมากับนายจ้างผูกพันกันแบบไหน

       กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ สำหรับสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นการจ้างให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานแล้วนายจ้างจ่ายเบี้ยเลี้ยง (รายวัน) หรือเงินเดือนให้ โดยนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาว่าจะต้องทำอะไรอย่างไร ส่วนจ้างทำของคือผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะมากำกับดูแลบังคับบัญชาใกล้ชิด ทำได้แค่รองานเสร็จแล้วจ่ายเงิน ดังนั้นผู้รับเหมาผูกพันกับผู้ว่าจ้างด้วยสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน ในขณะที่ผู้รับเหมาก่อสร้างผูกพันกับคนงานหรือพนักงานของตัวเองด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ที่ต้องศึกษาเรื่องนี้ในเบื้องต้นเพราะว่ากฎหมายที่ใช้เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ การเลิกจ้างจะเป็นคนละชุดกันโดยสิ้นเชิง

2.การประกอบอาชีพก่อสร้าง

      เชื่อว่าผู้รับเหมาหลายคนไม่ทราบว่ามีกฎหมายตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมาก่อสร้างโดยเฉพาะนั้นคือ พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพก่อสร้าง พ.ศ. 2522 กฎหมายฉบับนี้พูดถึงการรับงานก่อสร้างควบคุมที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยกำหนดประเภทงานและประเภทของผู้รับเหมาที่รับงานได้เอาไว้ นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังพูดถึงการประกอบอาชีพงานก่อสร้างและมารยาทในการประกอบอาชีพอีกด้วย 

3.ควบคุมอาคาร

     แม้ผู้รับเหมาจะก่อสร้างตามความต้องการของลูกค้า แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ควบคุมการสร้างอาคารสถานที่นั่นคือพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวกล่าวถึงการสร้าง การดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ผู้รับเหมาควรได้รับการอบรม

4.ความปลอดภัย

     พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัยให้กับผู้รับเหมา โดยมาตรา 23 กำหนดให้ผู้รับเหมาต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างของตน รวมถึงจัดการอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับลูกจ้างของตนเองด้วย

5.สิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในเขตก่อสร้าง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยเขตก่อสร้าง กำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องจัดให้มีสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  •  ทำรั้วหรือคอกกั้นและติดประกาศว่าเขตก่อสร้าง
  •  กำหนดเขตอันตราย หรือเขตที่สิ่งของอาจตกหล่น ล้อมรั้วและติดประกาศว่า “เขตอันตราย” ในเวลากลางคืนต้องติดไฟสีแดงด้วย สำหรับลูกค้าของร้านเราอาจเลือกซื้อเป็นไฟจราจรหนึ่งดวงโคมสีแดงไปใช้บริเวณนี้ก็ได้
  • ในเขตอันตราย จะต้องไม่ปล่อยปละละเลยให้ลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป
  • ผู้รับเหมาจะต้องไม่ยอมให้ลูกจ้างของตัวเองเข้าไปพักอาศัยในอาคารที่มีการก่อสร้างและจะต้องติดป้ายห้ามเอาไว้ด้วย

6.สิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อทำงานกับปั้นจั่น

     กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น หมวดที่ 1 ข้อกำหนดทั่วไป ที่กล่าวถึง ข้อกำหนดที่ให้ผู้รับเหมาใช้ปั้นจั่นตามคู่มือที่ผู้ผลิตปั้นจั่นกำหนดไว้ ตลอดจนการติดป้ายเตือนน้ำหนักยก สัญญาณการใช้ปั้นจั่น การตรวจสอบอุปกรณ์ปั้นจั่น ตลอดจนข้อห้ามเพื่อความปลอดภัยอื่น ๆ 

7.สัญญาณการใช้ปั้นจั่น

        ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้กล่าวถึงสัญญาณมือสำหรับปั้นจั่น โดยเป็นสัญญาณมือสำหรับปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ 9 แบบ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ 18 แบบ สิ่งเหล่านี้ผู้รับเหมาจะต้องจัดการอบรมให้ลูกจ้างใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว

8.การจัดสิ่งต่าง ๆ ให้กับลูกจ้างในการใช้ปั้นจั่น

     ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น หมวดที่ 4 หมวดเบ็ดเตล็ด ได้กำหนดให้ผู้รับเหมาจัดสิ่งต่าง ๆ ให้กับคนงานหรือลูกจ้างของตน ได้แก่ 

สิ่งเหล่านี้ถ้ามีค่าใช้จ่ายในการจัดหา กฎหมายกำหนดให้ผู้รับเหมาต้องออกค่าใช้จ่ายเอง จะให้ผู้ว่าจ้างเป็นคนออกค่าใช้จ่ายไม่ได้ ทั้งนี้เราขอเสริมว่าควรมีเสื้อจราจร หรือ เสื้อสะท้อนแสง ด้วย ขณะปฏิบัติงาน

9.การสร้างนั่งร้าน

        กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสูงของนั่งร้าน คือ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในกาทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน โดยกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้งานก่อสร้างที่มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ผู้รับเหมาจะต้องจัดให้มีนั่งร้าน นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวที่สูงเกิน 7 เมตร หรือนั่งร้านที่สูงเกิน 21 เมตร ต้องมีวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ โดยวิศวกรนี้ กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว กําหนด” คำว่า ก.ว. ย่อมาจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ดังนั้นพูดง่าย ๆ ก็คือจะต้องเป็นวิศวกรที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง และถึงแม้จะมีวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ นั่งร้านก็ต้องมีมาตรฐานอย่างน้อยที่สุดตามที่ประกาศกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้อยู่ดี 

10.ความปลอดภัยในการใช้นั่งร้าน

       กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ยังคงเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน โดยกฎหมายกำหนดอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ทำงานใกล้นั่งร้านเอาไว้มากมายหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น งานช่างไม้ต้องสวมหมวกนิรภัยและรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง, งานช่างเหล็ก ต้องสวมหมวกนิรภัย ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง, งานผสมปูนซีเมนต์ ต้องสวมนิรภัย ถุงมือยาง หรือถุงมือที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และรองเท้ายางชนิดหุ้มแข็ง เป็นต้น

       สำหรับบทความนี้ ร้านไทยจราจรขอสรุปรายชื่อกฎหมายที่ขาดไม่ได้ในการจัดอบรมผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องสัญญาจ้างแรงงานและจ้างทำของ, พ.ร.บ. การประกอบอาชีพก่อสร้าง พ.ศ. 2522, พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ตลอดจนประกาศกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าวเกี่ยวกับเขตก่อสร้าง นั่งร้าน และปั้นจั่น

 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร