10 ขั้นตอนเจรจา สร้างบ้านยังไงไม่โดนผู้รับเหมาเอาเปรียบ

       เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยของการทำงานแล้ว คนส่วนมากก็มักจะคิดถึงเรื่องของการลงหลักปักฐาน เพื่อสร้างครอบครัวควบคู่กันมาด้วย และการสร้างครอบครัวนั้นก็มักจะมีองค์ประกอบหลักอันดับต้น คือ บ้านและรถ สำหรับคนที่ไม่อยากยุ่งยากก็แค่มองหาหมู่บ้านและบ้านดี ๆ สักหลังก็ใช้ได้แล้ว แต่สำหรับคนรักบ้านที่อยากจะสร้างบ้านในแบบที่ฝันก็อาจจะต้องยุ่งยากมากหน่อย แต่กระนั้นก็คงไม่ยากเกินความสามารถและความอยากที่จะสร้างครอบครัวอย่างแน่นอน 

      แต่ปัญหาใหญ่ที่มักจะพบอยู่บ่อยครั้งของการสร้างบ้าน คือผู้รับเหมาที่ไม่มีคุณภาพ เรียกราคาสูงบ้าง ทำงานไม่เรียบร้อยบ้าง หรือบางรายถึงขั้นทิ้งงานกลางคันก็ยังมีให้เห็นอยู่ถมไป เช่นนั้นแล้ว สิ่งเดียวที่จะปกป้องผู้ว่าจ้างอย่างเราให้รอดพ้นจากผู้รับเหมาขี้โกงทั้งหลาย คือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่ต้องทำขึ้นอย่างทันทีเมื่อมีการจ้างงาน แต่สัญญานี้ก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคนที่ยังไม่เคยจ้างเหมาก่อสร้างใด ๆ มาก่อน วันนี้ ร้านไทยจราจร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความปลอดภัย ป้ายจราจร และ ยางชะลอความเร็ว จึงอาสามาให้ข้อมูลเคล็ดลับดี ๆ ในการทำสัญญาจ้างเหมาไว้ใช้สำหรับการเจรจาต่อรองกับผู้รับเหมา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเอาเปรียบอย่างไม่รู้ตัว ประกอบด้วย

  1. ระบุระยะเวลาก่อสร้างให้ชัดเจน

       โดยส่วนใหญ่แล้วระยะเวลาในการเริ่มต้นก่อสร้างจะนับจาก 15-30 วันนับจากวันตอกหรือเจาะเสาเข็ม ข้อนี้สำคัญเป็นอย่างมากผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องระบุให้ชัดเจน รวมถึงวันเสร็จสิ้นของการก่อสร้างที่ต้องระบุลงไปในสัญญา เช่น ต้องเสร็จภายใน 12 เดือนนับจากวันตอกเสา เพราะหากไม่มีการระบุวันแล้วเสร็จที่แน่นอนอาจเป็นช่องโหว่ให้ผู้รับเหมายืดระยะเวลาการทำออกไปเรื่อย ๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด

  1. การคิดราคาที่เหมาะสม

     การทำสัญญาจ้างเหมาถือเป็นสัญญาจ้างทำ ควรจ่ายตามจำนวนของงานที่ทำแล้วเสร็จจริงเท่านั้น และส่วนงานนั้นควรเป็นส่วนงานที่ระบุอยู่ในสัญญาอย่างชัดเจน เนื่องจากบางรายทำเฉพาะตัวบ้านไม่ได้ทำในบ้าน เนื่องจากไม่ได้ระบุในสัญญาก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ที่สำคัญในสัญญาควรระบุด้วยว่ามูลค่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าแล้วหรือไม่ เพราะมีประเด็นเกิดขึ้นไม่น้อยเกี่ยวกับราคาค่าจ้างเหมาที่ผู้จ้างและผู้รับจ้างมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันและส่วนเรื่องการจ่ายชำระ ควรแบ่งจ่ายออกเป็นงวด ๆ โดยรวมแล้วมักจะทำสัญญาแบ่งจ่าย 8-12 งวดขึ้นอยู่กับลักษณะงานนั้น

  1. BOQ จำเป็นต้องมี

       BOQ หรือ Bill Of Quantity เป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเอกสาร BOQ คือหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้รับเหมานั้นใช้วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างตามที่ระบุไว้หรือไม่ เอกสารดังกล่าวเป็นบัญชีแสดงรายการปริมาณวัสดุ เช่น คุณสมบัติ ปริมาณการใช้วัสดุแต่ละประเภท ราคาของวัสดุแต่ละชนิด และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแบบหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน BOQ ด้วย เพื่อที่จะสามารถใช้ยืนยันได้เมื่อแล้วเสร็จและส่งมอบงาน

  1. ระวังเรื่องการเปลี่ยนแปลง

       เมื่อดำเนินการก่อสร้างไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่เราในฐานะผู้ว่าจ้างอยากจะขอปรับเปลี่ยนแบบบ้าน นั้นหมายความว่าอาจจะส่งผลกระทบถึงเรื่องของระยะเวลาในการแล้วเสร็จ วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ รวมถึงราคาที่อาจจะต้องเปลี่ยนแปลง เช่นนั้นแล้ว เมื่อคิดอยากจะเปลี่ยนแปลนเดิมแล้วก็ต้องดำเนินการเปลี่ยนเอกสารประกอบอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะกำหนดระยะเวลาในสัญญาว่าจ้าง รายการวัสดุ BOQ ที่ต้องเช็คราคาตลาดในขณะนั้น หรือราคาค่าจ้างเหมาที่ผู้รับเหมาอาจจะใช้โอกาสนี้ในการเรียกราคาที่สูงขึ้นก็ได้

  1. เรื่องค่าปรับ

      หากผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันเวลาที่กำหนด ผู้ว่าจ้างสามารถปรับได้ตามที่ระบุในสัญญานั้น ซึ่งการกำหนดค่าปรับมีทั้งแบบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่างวดที่ยังไม่เสร็จ หรือมูลค่าทั้งหมดของงาน จะคิดตามราคาตลาดที่มีตั้งแต่ 0.01-0.05% หรือคิดเป็นรายวัน ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ว่าจ้าง แต่ขอเตือนไว้นิดว่าหากปรับในอัตราที่สูงเกินไปก็อาจทำให้ผู้รับเหมาทิ้งงานและหนีไปเลยก็ได้ หรือถ้าปรับราคาต่ำไปก็อาจจะทำให้ความใส่ใจลดน้อยลงและยิ่งจะยืดระยะเวลาออกไปอีกได้

  1. สิทธิการเข้าตรวจงาน

     ผู้ว่าจ้างสามารถกำหนดสิทธิในสัญญาเป็น 2 แบบ คือ แบบไม่เป็นทางการและไม่อิงกับงวดการจ่ายเงิน โดยผู้ว่าจ้างสามารถเข้าไปตรวจเมื่อใดก็ได้แบบตลอดเวลาไม่จำกัด และแบบเป็นทางการ คือการเข้าตรวจเมื่อผู้รับเหมาทำงานเสร็จในแต่ละงวด ซึ่งทั้งสองสิทธิควรมีการกำหนดและระบุในสัญญาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของการขอแก้ไขหรือสั่งหยุดงานได้ทันทีเมื่อไม่พึงพอใจหรือตรวจพบอะไรที่อยู่นอกเหนือสัญญาดังกล่าว

  1. ต้องรู้จักต่อรองเมื่อไม่พร้อมจ่าย

      เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ คือเรื่องที่จะสามารถติดขัดได้ตลอดเวลา และถ้าหากไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายให้กับผู้รับเหมาได้ตามงวดการจ่ายงาย ก็ต้องรู้จักหาวิธีการต่อรอง เช่น ขอเจรจาผ่อนผันพร้อมเสนอยื่นดอกเบี้ยการผิดนัดชำระหนี้ไปเลย หรือขอจ่ายทบในงวดถัดไปพร้อมเงินก้อนพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับเหมาทิ้งงานไปโดยกลางคัน

  1. กำหนดระยะเวลารับประกัน

        เป็นการรับประกันจากผู้รับเหมาในการแก้ไขหรือซ่อมแซมหลังจากส่งมอบงานแล้วเกิดเหตุชำรุดบกพร่อง จึงควรระบุในสัญญาว่าผู้รับเหมาจะต้องจ่ายชำระค่าความเสียหายหรือดำเนินการซ่อมแซม โดยส่วนมากจะระบุอย่างน้อย 2 ช่วงเวลา คือ 1-2 ปีนับจากวันรับมอบบ้าน สำหรับความเสียหายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการก่อสร้างนั้น และ 5-10 ปี สำหรับความเสียหายที่เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร เป็นต้น

  1. ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา

เรื่องของการก่อสร้างย่อมมาคู่กับเรื่องของความเสี่ยงในอุบัติเหตุ ฉะนั้น ในสัญญาควรระบุอย่างชัดเจนว่าการก่อสร้างนี้จะต้องอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้รับเหมา ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของคนงาน ทรัพย์สินของทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมา รวมถึงทรัพย์สินหรือพื้นที่บริเวณใกล้เคียงของผู้ว่าจ้างด้วย ทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของผู้รับเหมานั้น

  1. การยกเลิกสัญญา

ข้อสำคัญอีกประการของสัญญาจ้างเหมา คือการยกเลิกสัญญา โดยผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะระบุในสัญญาได้ว่า สามารถยกเลิกสัญญาจ้างเหมานี้ได้ในกรณีใดบ้าง เช่น ผู้รับเหมาตกเป็นบุคคลล้มละลาย หรือผู้รับเหมาหยุดงานก่อสร้างติดต่อกันเกินระยะเวลากำหนด หรือผู้รับเหมาละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น ซึ่งการยกเลิกสัญญาเหล่านี้ผู้ว่าจ้างสามารถกระทำได้ฝ่ายเดียว แต่จะต้องทำการระบุในสัญญานั้นอย่างชัดเจนด้วย

เรามองว่าเรื่องของการก่อสร้างบ้านสักหลังสำหรับใครหลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องยาก แต่ถ้ารู้จักวิธีการและจับจุดความสำคัญได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แค่เพียงมีสัญญาฉบับเดียวก็สามารถช่วยป้องกันการเอาเปรียบจากผู้รับจ้างได้แล้ว ฉะนั้น เรื่องของสัญญาว่าจ้างจึงถือเป็นประเด็นหลักที่สำคัญมากที่สุด เพราะกว่าจะทำงานเก็บเงินเพื่อนำมาใช้สร้างรากฐานที่มั่นคงของครอบครัวได้นั้น มันช่างแสนยากลำบากอยู่แล้ว จงอย่าให้ใครมาเอาเปรียบได้อีกเลย ด้วยความปรารถนาดีจากร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย กรวยจราจร และ อุปกรณ์จราจร ทุกชนิด

 

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน

ดาวน์โหลด แค็ตตาล็อก ร้านไทยจราจร แหล่งรวมอุปกรณ์จราจร กว่า 1,000 ชนิด!!

ร้านไทยจราจร
แค็ตตาล็อค ร้านไทยจราจร