8 สิ่งที่ต้องคำนึง ถ้าอยากสร้างปั๊มน้ำมัน

กิจการปั้มน้ำมัน เป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบัน ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่อยู่ในกระแสความนิยมด้านพลังงานที่มีโอกาสเติบโตสูง และมีผลตอบแทนจากการลงทุนในเวลาไม่นาน ทั้งนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปั้มน้ำมันฉบับล่าสุด คือ กฎกระทรวงเรื่องสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 ซึ่งร้านไทยจราจรขอหยิบยกประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ประจำปั้มน้ำมันมาฝากกัน ดังนี้

  1. การสร้างปั้มน้ำมัน ควรคำนึงถึงทำเลที่ตั้งเป็นประการแรก หากจะสร้างปั้มน้ำมันในเขตกรุงเทพ ควรมีบริเวณไม่น้อยกว่า 400 ตารางวา และมีส่วนติดถนนเป็นความยาวไม่น้อยกว่า 40 เมตร หากเป็นพื้นที่ปริมณฑลหรือต่างจังหวัดควรไม่น้อยกว่า 2 ไร่ และมีด้านติดถนนไม่ต่ำกว่า 60 เมตร และที่ดินที่จะตั้งปั้มน้ำมันควรติดถนนที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 12 เมตร เพื่อความปลอดภัยในกรณีเกิดอัคคีภัย ที่ต้องให้รถดับเพลิงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสะดวกและป้องกันความรุนแรงต่อผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณนั้น
  1. การวางแผนผังปั้มน้ำมันต้องมีทางเข้าและทางออกแยกกันให้ชัดเจน โดยให้ห่างกันไม่น้อยกว่า 10 เมตร ความกว้างของทางเข้า/ทางออก ต้องไม่น้อยกว่า 4 เมตร ควรมีกรวยจราจรพร้อมไฟกระพริบหรือป้ายกล่องไฟพร้อมข้อความว่า “ทางเข้า” “ทางออก” ในระดับพอดีสายตาผู้ขับขี่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ชะลอความเร็วเพื่อเลี้ยวเข้าให้ถูกช่องทาง จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากรถคันหลังเฉี่ยวชนรถที่กำลังเลี้ยวเข้าปั้มน้ำมันได้

 

 

  1. จุดที่ให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงต้องห่างจากถนน 5 เมตรขึ้นไป ควรมีการวางกรวยจราจรหรือแผงกั้นจราจร เพื่อควบคุมทิศทางการเดินรถเข้าสู่ตู้เติมน้ำมันแต่ละหัวจ่าย ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้แต่ละปั้มน้ำมันมีระยะห่างจากปั้มน้ำมันที่ใกล้เคียง 20 เมตรขึ้นไป เพื่อป้องกันอัคคีภัยลุกลาม หากระยะน้อยกว่า 20 เมตร ก็ต้องมีการสร้างกำแพงกันไฟให้สูงมากกว่า 180 เซนติเมตร ระหว่างปั้มที่อยู่ติดกัน
  1. นอกจากตู้จ่ายน้ำมันแล้ว จุดให้บริการล้างรถหรือศูนย์ซ่อม-ยกเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือภายในอาคาร ก็ต้องห่างจากทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร จุดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ ก็ต้องมีการสร้างถังเพื่อเก็บน้ำมันเก่าที่ใช้แล้ว ความจุปริมาตรไม่น้อยกว่า 4 พันลิตร (เพื่อป้องกันการล้นของน้ำมันออกมาจากจุดให้บริการซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้) และต้องมีป้ายเตือน “อันตราย” เช่น “ห้ามสูบบุหรี่” “ดับเครื่องยนต์” “ห้ามก่อประกายไฟ” “ปิดโทรศัพท์มือถือ” เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยด้วย
  1. ต้องมีการวางระบบท่อระบายน้ำโดยรอบปั้มน้ำมัน มีบ่อพักน้ำทุกมุมเลี้ยว และมีทุกระยะ 12 เมตร โดยกฎหมายระบุให้แสดงวิธีการบำบัดน้ำเสียของปั้มน้ำมัน (ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานเรื่องการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม) ก่อนที่จะปล่อยน้ำเสียลงสู่ระบบน้ำสาธารณะ หากไม่มีระบบท่อระบายน้ำ ต้องมีระบบบ่อซึมและมีกระบวนการกำจัดไขมันและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ แทน
  1. มีถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งานในบริเวณใกล้กัน โดยจะเป็นแบบผงเคมีแห้งหรือเป็นน้ำยาดับเพลิงก็ได้ แต่ต้องขนาดบรรจุไม่ต่ำกว่า 6.8 กิโลกรัม และต้องมีอย่างน้อย 2 ชุด หากตู้จ่ายน้ำมันไม่เกิน 4 ตู้ แต่หากตู้จ่ายน้ำมัน 5-8 ตู้ ต้องมีถังดับเพลิง 3 ชุด และเพิ่มจำนวนถังดับเพลิงในสัดส่วน 1 ชุด ต่อ ตู้จ่ายน้ำมัน 3 ตู้ โดยควรมีป้ายตั้งถังดับเพลิงที่สังเกตเห็นง่าย เพื่อความรวดเร็วในการหยิบใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย
  1. ในระหว่างการเติมน้ำมัน ต้องมีเจ้าหน้าที่อยู่ดูแลตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินต่าง ๆ และต้องตักเตือนพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดประกายไฟและอัคคีภัยได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการปั้มน้ำมันต้องหมั่นซ้อมรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ การเกิดประกายไฟ แก๊สรั่ว อัคคีภัย ฯลฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีสติ และลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้มากที่สุด
  1. น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต้องมีการจัดเก็บอย่างเคร่งครัดตามที่กฎหมายกำหนด เช่น

– กลุ่มเชื้อเพลิงติดไฟง่าย ต้องเก็บลงถังใต้ระดับพื้นดิน

– กลุ่มไวไฟน้อยถึงปานกลาง ให้เก็บในถังเหนือพื้นดินได้ แต่ต้องอยู่ภายในโป๊ะเหล็กอีกชั้นหนึ่ง หรือเก็บใต้พื้นดินเช่นเดียวกับกลุ่มไวไฟมากก็ได้

 

ในการสร้างปั้มน้ำมัน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทางด้านกฎหมายร่วมกับการวางแผนด้านธุรกิจที่รัดกุม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษี การทำบัญชีรับจ่าย ซึ่งต้องสัมพันธ์กับเลขที่หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับในด้านการลงทุนยังมีรายละเอียดในด้านกรรมสิทธิ์ เช่น

(1) ผู้จะเปิดปั้มน้ำมันต้องการลงทุนเองทั้งหมด

(2) เป็นการลงทุนร่วมระหว่างผู้สนใจทำปั้มน้ำมันกับทางบริษัทน้ำมัน เช่น ปตท.

ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมูลค่าการสร้างปั้มน้ำมันตามขนาด เช่น

– ปั้มน้ำมันขนาดเล็ก มี 2 ตู้จ่ายน้ำมัน ต้องลงทุน 15 ล้านบาทขึ้นไป

– ปั้มน้ำมันขนาดกลาง มี 3-4 ตู้จ่ายน้ำมัน ใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาทขึ้นไป

– ปั้มน้ำมันขนาดใหญ่ มี 6 ตู้จ่ายน้ำมัน ต้องลงทุน 30 ล้านบาทขึ้นไป

การลงทุนทุกครั้งมีความเสี่ยง แต่หากท่านได้ผ่านการประเมินทางธุรกิจและวางแผนการตลาดด้านน้ำมันเชื้อเพลิงมาแล้วอย่างดี ก็มีโอกาสจะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้อย่างสูงเช่นเดียวกัน

ร้านไทยจราจรขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจการปั้มน้ำมันที่มีคุณภาพ ใส่ใจด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ด้วยการบริการสินค้าดีมีคุณภาพที่ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยหลากหลายประเภท เชิญชมสินค้าเราได้ที่ www.trafficthai.com

   ปรึกษาสินค้าและบริการ ฟรี! โทร 02-114-7006

อุปกรณ์จราจร มากกว่า 1,000 ชนิด !!

ร้านไทยจราจร คือแหล่งรวบรวมอุปกรณ์จราจรที่ทันสมัยและครบวงจรมากที่สุดในประเทศไทย สินค้าของทางร้านจะมีการอัพเดทใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์ และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน