อุปกรณ์เก็บเสียงปืน ผิดกฎหมายอะไร

ภาพประกอบจาก https://www.tactical-life.com/firearms/handguns/cz-p-07-suppressor-ready-pistol/

          อุปกรณ์เก็บเสียงปืนส่วนใหญ่จะเห็นตามภาพยนตร์เสียเป็นส่วนมาก    ไม่ค่อยมีใครนำมาใช้จริงเนื่องจากเวลาจะใช้จริงจริงมีข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนคือพกพาลำบากและไม่สามารถซ่อนพรางได้  แต่อย่างไรก็ตามกรณีมีผู้นำมาก่อเหตุอาชญากรรมปล้นทองซึ่งมีพฤติกรรมร้ายแรงเพราะมีการยิงเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยดังที่เป็นข่าวทราบกันดี และผู้ก่อเหตุใช้อุปกรณ์เก็บเสียงปืนในการกระทำความผิดทำให้มีการตีความไปต่าง ๆ นานา 

            1.ลักษณะของอุปกรณ์เก็บเสียงปืน   

          ลักษณะของอุปกรณ์เก็บเสียงปืน  มีได้ใน  2  ลักษณะ  

            (1) ปืนลดเสียง คือปืนที่มีเครื่องบังคับเสียง (อังกฤษ: Suppressor) ให้เสียงลดลงมากกว่าปกติ หรือปืนที่ใช้กระสุนที่ออกแบบมาให้มีเสียงเบากว่าปกติ เพื่อป้องกันให้เสียงในการยิงปืนดังน้อยลง และป้องกันอันตรายที่เกิดจากเสียงดังของปืน อุปกรณ์ลดเสียงปืนจะแตกต่างจากอุปกรณ์เก็บเสียงปืน เพราะเป็นเพียงแค่การลดเสียงเท่านั้นเอง

(2) ปืนเก็บเสียง คือปืนที่มีเครื่องดับเสียง (อังกฤษ: Silencer) ให้ปืนที่ใช้กระสุนที่ออกแบบมาให้มีเสียงเบามาก ซึ่งจะถูกใช้ในการปฏิบัติการลับ เพื่อยิงปืนสู่เป้าหมายโดยไม่ให้เกิดเสียงเลย

(https://th.wikipedia.org/wiki/อุปกรณ์เก็บเสียงปืน)

โดยผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์และอุปกรณ์เก็บเสียงปืน ไว้ดังนี้

และสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของ  ปืนเก็บเสียง  ได้ที่

2.การมีอุปกรณ์เก็บเสียงปืนผิดกฎหมายอะไร

พระราชบัญญัติ  ควบคุมยุทธภัณฑ์  พ.ศ. 2530  ตามความมาตรา 4   ในพระราชบัญญัตินี้

 ยุทธภัณฑ์” หมายความว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวภาพ วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ ยานพาหนะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้  ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา  7

มาตรา 7   ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดว่า อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวภาพ วัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ ยานพาหนะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ชนิดใดเป็นยุทธภัณฑ์

โดยมีประกาศกระทรวงกลาโหม  เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาต  ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 7  แห่งพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530  อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29  ประกอบกับมาตรา 41  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

….ข้อ 2   กำหนดให้อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สารรังสีหรือสารนิวเคลียร์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้ ดังต่อไปนี้ เป็นยุทธภัณฑ์

2.1  อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ เครื่องยิงหรือฉายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนำไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้

2.1.1 ประเภทอาวุธและเครื่องยิง ทิ้ง หรือปล่อย และอุปกรณ์

2.1.1.1  อาวุธปืนพก

2.1.1.2  อาวุธปืนเล็กสั้น

2.1.1.3 อาวุธปืนเล็กยาว

2.1.1.4  อาวุธปืนกล

2.1.1.5 อาวุธปืนที่มีความกว้างปากลำกล้อง ๐.๖ นิ้ว ขึ้นไป และมีพลประจำปืนมากกว่า ๑ คน

2.1.1.6 อาวุธปืนใหญ่

2.1.1.7 อาวุธปืนที่ใช้กระสุนปืนบรรจุสารนิวเคลียร์ สารชีวะ สารเคมีชนิดทำให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษ

2.1.1.8  อาวุธปราบเรือดำน้ำ

2.1.1.9  อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวะ อาวุธเคมี

2.1.1.10  เครื่องยิงจรวด ขีปนาวุธและอาวุธปล่อย

2.1.1.11  เครื่องยิงลูกระเบิด

2.1.1.12  เครื่องยิงพลุสัญญาณ

2.1.2.13  เครื่องปล่อยสารเคมี สารชีวะทางทหาร

2.1.1.14 เครื่องทำควันหรือหมอกเทียม

2.1.1.15  เครื่องเสริมสมรรถภาพของอาวุธยิง ทิ้ง ปล่อย รวมถึงระบบค้นหาเป้าหมาย กำหนดตำแหน่ง กำหนดระยะยิง เฝ้าตรวจหรือติดตาม อุปกรณ์ค้นหา รวบรวมข้อมูลการบอกฝ่ายและพิสูจน์ฝ่าย อุปกรณ์ตรวจจับ

2.1.1.16  เครื่องมือต่อต้านอาวุธ ตาม 2.1.1.1 ถึง 2.1.1.15  

2.1.1.17  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของสิ่งต่าง ๆ ตาม 2.1.1.1 ถึง 2.1.1.15   

….

โดยหากผู้ใดมีไว้ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว 

มาตรา 15 บัญญัติว่า  “ ห้ามมิให้ผู้ใดสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม

การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตก็ได้

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง” 

โดยหากผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา  15  จะมีโทษตามมาตรา  42  ซึ่งบัญญัติว่า “   ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 15   วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 25/1  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หรือหากได้รับอนุญาตแล้วฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะมีโทษตามมาตรา 43    ซึ่งบัญญัติว่า

 “ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตตามมาตรา 15  วรรคสอง หรือมาตรา 15/1  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” 

3. ตัวอย่างของการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2537

 จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้บริษัท อ. ไปยื่นคำขออนุญาตแทนเพื่อขอมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง แต่ในขณะที่บริษัท อ.ส่งวัตถุระเบิดตามใบอนุญาตไปให้จำเลยที่ 1  ปลัดกระทรวงกลาโหมยังไม่อนุญาตตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันมีวัตถุระเบิด เยลาทีนไดนาไมต์ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดขณะใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อใช้พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับความผิดตามฟ้องให้สูงขึ้นกว่าเดิม จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

หรือคดีที่เกี่ยวข้องกับทางการเมืองเช่น

https://www.thaipost.net/main/detail/1159

หรือ https://www.tlhr2014.com/wp-content/uploads/2016/07/2015-09-04-คำพิพากษาศาลชั้นต้น_คดีบิ๊กซี.pdf

ส่วนประกอบของอาวุธปืนที่เป็นเครื่องเก็บเสียงหรือลดเสียง โดยทั่วไปหากไม่ได้ติดไว้กับปืนก็ไม่ค่อยมีการตรวจสอบเคร่งครัดนักที่ผ่านมา แต่หลังจากเหตุการณ์นี้คงต้องตรวจสอบกันอย่างเคร่งครับเพื่อป้องกันเหตุในลักษณะดังกล่าวและผู้ที่นำมาขายไม่ว่าโดยตรงหรือทางอินเตอร์เน็ตย่อมมีความผิด ยกตัวอย่างเช่น

https://www.dailynews.co.th/crime/751525

ใส่ความเห็น