Shopping Cart

No products in the cart.

รักษามะเร็งปอด ด้วยการฉายรังสี

การรักษามะเร็งปอด (Treatment for lung cancer) จะต้องใช้ทีมสหสาขาในการรักษา ซึ่งประกอบด้วย การผ่าตัด, การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ในการรักษามะเร็งปอดปัจจุบัน ยังมีการตรวจชิ้นเนื้อพิเศษเพิ่มเติมซึ่งมีผลต่อการเลือกยารักษาแบบมุ่งเป้า ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและทางเลือกในการรักษา

การใช้รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด

1.มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC)

กรณีที่สามารถผ่าตัดได้ การฉายรังสีจะมีบทบาทหากผลชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดยังพบเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่หรือพบการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง โดยฉายรังสีเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรค
กรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาหลักเป็นการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและยาภูมิคุ้มกันบำบัด หากมะเร็งอยู่ในระยะเริ่มต้น (ก้อนมีขนาดเล็กและไม่พบการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองในช่องอก) อาจพิจารณาการฉายรังสีร่วมพิกัด/รังสีศัลยกรรม Stereotactic body radiotherapy (SBRT) ซึ่งเป็นการฉายที่ใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งสูง โดยจะใช้ระยะเวลาในการฉายรังสีไม่เกิน 2 สัปดาห์

2.มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (SCLC)

กรณีที่รอยโรคอยู่เฉพาะบริเวณช่องอก สามารถรักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เพื่อเป้าหมายการรักษาให้หายขาดของโรค
กรณีที่มีรอยโรคอยู่นอกบริเวณช่องอก อาจพิจารณาการฉายรังสีรอยโรคในช่องอก ในรายที่มีการตอบสนองที่ดีต่อการให้ยาเคมีบำบัดและยาภูมิคุ้มกันบำบัด
โดยเทคนิคการฉายรังสีที่ใช้ ได้แก่ การฉายรังสีปรับความเข้มหมุนรอบตัว ( VMAT) ร่วมกับการจำลองการรักษาแบบ 4 มิติ (4D CT simulation) ทำให้การฉายรังสีแม่นยำมากขึ้นและครอบคลุมรอยโรคที่ขยับตามการหายใจ โดยใช้เวลาในการฉายรังสีครั้งล่ะ 5-10 นาที
นอกจากนี้ในมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย การฉายรังสียังมีบทบาทช่วยบรรเทาอาการ เช่น ลดอาการปวดในมะเร็งที่กระจายไปกระดูก, ลดอาการอ่อนแรงในมะเร็งที่ที่กระจายไปที่สมอง

เตรียมตัวก่อนฉายรังสี รักษามะเร็งปอด

ผลข้างเคียงที่พบได้ระหว่างการฉายรังสี

  •  เหนื่อยง่าย, ไอแห้งๆ
  • กลืนเจ็บ/กลืนลำบาก
  • ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีแห้ง/แดง/คล้ำขึ้น

สังเกตสัญญาณเตือนของระบบทางเดินหายใจ

สิ่งสำคัญที่ทุกคนสามารถทำได้คือสังเกตความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งบางคนอาจมีมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกที่ไม่แสดงอาการ แต่มักมีสัญญาณคือ อาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน เสียงแหบ น้ำหนักลดลงผิดปกติ และบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด เป็นต้น
ทั้งนี้หากอยู่ในระยะลุกลามอาการแสดงจะชัดเจนมากขึ้น เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโต กดเบียดหลอดลมหรือเนื้อปอด รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง โดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการบวมที่หน้า แขน คอ หากก้อนมะเร็งกดทับหลอดเลือดดำในช่องอก เป็นต้น

ระยะของมะเร็งปอด

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งปอดทั้ง 2 ชนิด จะกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย
ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (SCLC) แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
1.ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งอยู่บริเวณปอดและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
2.ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (NSCLC) แบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งขนาดเล็กไม่เกิน 4 ซม อยู่เฉพาะที่บริเวณปอดและยังไม่พบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นและพบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด
ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหปลาร้า หรือมีการแพร่กระจายภายในปอดข้างเดียวกัน
ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ กระดูก สมอง เป็นต้น

มะเร็งและรังสีรักษาที่ไทยนครินทร์

ปัจจุบันมะเร็งเป็นโรคเฉพาะบุคคล เนื่องจากมีความผิดปกติในระดับพันธุกรรม หรือ DNA ซึ่งมีความแตกต่างในการรักษา การรักษาโรคมะเร็งที่ดีที่สุดจึงต้องผสมผสานด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี โรงพยาบาลไทยนครินทร์มีกระบวนการรักษาและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่จะนำไปสู่การวินิจฉัย รักษา และการฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษาเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบหรือผลข้างเคียงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

Radiation Therapy

การฉายรังสีระยะไกล (External Beam Radiation Therapy)
It is a treatment using radiation that comes from a radiation generator located away from the patient's body. It starts with using a CT simulator to determine the position, boundaries, and size of the lesion, and adjacent organs. Physicians and medical physicists use the obtained images to simulate the treatment plan. The next step involves delivering the planned treatment using a linear accelerator using radiation techniques such as Three-Dimensional Conformal Radiation Therapy (3DCRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), and Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT). where the doctor selects a technique that is appropriate for the disease and the patient, making the radiation treatment more accurate, and effective, and minimizing the duration of exposure.

การฉายรังสีระยะใกล้หรือการใส่แร่ (Brachytherapy)
...

Radiation procedure

แพทย์ประเมินสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเริ่มทำการรักษาและพูดคุยถึงแนวทางการรักษา จากนั้นนัดผู้ป่วยจำลองการฉายรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อนำภาพมาวางแผนการฉายรังสีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในระหว่างการฉายรังสีผู้ป่วยจะถูกจัดตำแหน่งให้อยู่นิ่งด้วยอุปกรณ์ยึดตรึง โดยนักรังสีรักษาจะทำการตรวจสอบตำแหน่งก่อนฉายรังสีทุกครั้ง การฉายรังสีจะใช้เวลาวันละประมาณ 15-20 นาที โดยจะฉายสัปดาห์ละ 5 วัน ใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ ตามแต่ละชนิดของโรคและแผนการรักษาของแพทย์

Medical Technology

เครื่องจำลองการรักษา (Philip; Big bore Radiation Therapy)
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography simulator) ที่ใช้จำลองภาพ 3 มิติและ 4 มิติตามการหายใจ เพื่อระบุตำแหน่ง รูปร่างและขนาดของก้อนมะเร็ง ตลอดจนอวัยวะใกล้เคียง โดยเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อวางแผนการรักษา (Treatment Planning System) ทำให้แพทย์และนักฟิสิกส์การแพทย์สามารถวางแผนขนาดและทิศทางของลำรังสีได้ชัดเจน

เครื่องจำลองการรักษา

Linear Accelerator (Varian; Vital Beam)
เครื่องฉายรังสีที่ใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานสูงสามารถปรับรูปร่างและความเข้มของลำรังสีให้เหมาะกับขนาดและรูปร่างของก้อนมะเร็ง โดยจะทำลายเซลล์มะเร็งในขณะที่อวัยวะปกติข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อย ใช้ระยะเวลาในการฉายรังสี 10-15 นาทีต่อครั้ง โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล

Radiography Techniques

Three Dimensional Conformal Radiotherapy (3D-CRT)
เทคนิคการฉายรังสี 3 มิติ คือ การรักษาที่ใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นก้อนเนื้องอกและอวัยวะปกติในรูปแบบ 3 มิติ เพื่อกำหนดขอบเขตการรักษาจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ปริมาณรังสีกระจายอย่างสม่ำเสมอ มีความถูกต้องมากขึ้น ทำให้สามารถรูปร่างลำรังสีให้เหมาะสมเฉพาะบริเวณเซลล์มะเร็ง และลดปริมาณรังสีที่จะกระทบเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบๆ เซลล์มะเร็ง

Intensity Modulated Radiation Therapy (IMRT)
เทคนิคการฉายรังสี 3 มิติแบบปรับความเข้ม คือ พัฒนาการอีกระดับของการฉายรังสี 3 มิติ (3D-CRT) สามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับความหนา-บางของก้อนมะเร็งได้ เป็นวิธีการที่ใช้การปรับปริมาณรังสีที่มีความเข้มต่างกันโดยประกอบด้วยลำรังสีขนาดต่าง ๆจำนวนมาก ทำให้ครอบคลุมเฉพาะบริเวณรอยโรคและเหมาะสมกับก้อนมะเร็งได้มากที่สุด ส่งผลให้อวัยวะโดยรอบของก้อนมะเร็งนั้น ๆ ได้รับรังสีน้อยกว่าเทคนิคการฉายรังสีแบบเดิม

Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT)
เทคนิคการฉายรังสี 3 มิติแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัว ซึ่งพัฒนามาจากเทคนิคการฉายรังสีแบบ IMRT มีการปรับความเข้มของลำรังสี สามารถควบคุมความเร็วของการหมุน ปริมาณของรังสี และการเคลื่อนที่ของวัตถุกำบังรังสี (MLC) จึงช่วยลดระยะเวลาของการฉายรังสี และลดความผิดพลาดที่เกิดจากการขยับตัวของผู้เข้ารับบริการอีกด้วย รวมทั้งทำให้การฉายรังสีมีความถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับความหนา-บางของก้อนมะเร็งได้ ทำให้ครอบคลุมบริเวณรอยโรคได้มากที่สุด ส่งผลให้อวัยวะโดยรอบของก้อนมะเร็งนั้นๆ ได้รับรังสีน้อยกว่าเทคนิคการฉายรังสีแบบเดิม

Stereotactic radiation therapy
รังสีร่วมพิกัด คือการรักษาโดยการให้รังสีปริมาณสูงไปยังเป้าหมายด้วยความแม่นยำ จุดประสงค์เพื่อทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ใช้เป็นทั้งการรักษาหลักในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือใช้เป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัด มีความแตกต่างจากการฉายรังสีแบบทั่วไป คือจะมีการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูงกว่า แต่จำนวนครั้งของการฉายรังสีจะน้อยกว่า โดยสามารถจำกัดรังสีปริมาณสูงให้อยู่เฉพาะบริเวณก้อนเนื้องอกได้ดีกว่าการฉายรังสีแบบทั่วไป เทคนิคการฉายรังสีร่วมพิกัดนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.Stereotactic radiosurgery (SRS) เป็นการฉายรังสีร่วมพิกัดปริมาณรังสีสูงเพียงครั้งเดียว การรักษาชนิดนี้ นอกจากจะใช้รักษามะเร็งสมองแล้วยังมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคกลุ่มเนื้องอกธรรมดา (Benign tumor) เช่น โรคหลอดเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิด (AVM) บางครั้งอาจใช้การฉายรังสีมากกว่า 1 ครั้ง เรียก SRT (Stereotactic radiotherapy) แต่มีข้อจำกัดคือต้องมีอุปกรณ์ที่จำเพาะ ซึ่งทำให้สามารถจัดตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ

2.Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT) Stereotactic Body Radiation Therapy (SBRT) is a high-dose radiation treatment for tumors located in the body, such as the lungs, liver, or lymph nodes. This approach involves delivering radiation in 3-7 sessions.

 

Share
ผู้ที่เขียนบทความ
นพ.นิรวิทธ์ รัชพงษ์ไทย
DR.NIRAVIT RUTCHAPONGTHAI
Radiation Oncologist Thainakarin Hospital
ข้อมูลแพทย์