CV นักออกแบบกราฟิก | เทคนิคพร้อมตัวอย่างการเขียน

คะแนนเฉลี่ยสำหรับเทมเพลตนี้

นักออกแบบกราฟิกเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในด้านการออกแบบ ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับทั้งเพื่อนร่วมงานและกับลูกค้า ผ่่านการคิดค้นแนวคิดแล้วถ่ายทอดออกมาผ่านงานออกแบบ ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกดีไซน์โดยเฉพาะเป็นตัวช่วย พวกเขามีการแลกเปลี่ยนไอเดียเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และทำตามที่ลูกค้าต้องการจนเกิดเป็นภาพ คำพูด หรือกราฟิก ซึ่งต้องมีการสื่อสารเพื่อพูดคุยกันตลอดเวลาจนได้ผลงานที่ออกมาตรงตามความต้องการของลูกค้าจริง ๆ

อาชีพกราฟิกดีไซเนอร์ต้องใช้ทั้งงานศิลปะและเทคโลนีเชื่อมโยงกัน สำหรับงานออกแบบโฆษณา โบร์ชัวร์ แม็กกาซีน รวมทั้งรายงานต่าง ๆ ของบริษัทหรือองค์กรด้วย โดยขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การออกแบบแนวคิดผ่านการวาดมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าการเขียน CV นักออกแบบกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร เพื่อช่วยเตรียมพร้อมคุณในการเตรียม CV สำหรับสมัครงาน

ตัวอย่าง CV นักออกแบบกราฟิก

หทัยรัตน์ สิริปัญญา

นักออกแบบกราฟิก

45/24 ถนนนิพัฒน์

แขวงสี่พระยา เขตบางรัก

กรุงเทพฯ 10500

078-224-1578

Hsiripanya@gmail.com

Linkedin.com/in/hsiripanya

สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน

มีประสบการณ์ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า คิดค้นเกี่ยวกับคำหรือสโลแกนสำหรับโปรเจกต์ พร้อมทั้งสร้างภาพกราฟิกที่สามารถสื่อสารคำพูดนั้นออกมาได้ ผ่านภาพประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์ โลโก้ และเว็บไซต์ สามารถออกแบบภาพกราฟิกด้วยมือหรือแพ็คเกจซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สามารถเลือกสี รูปภาพ ฟอนต์ รวมทั้งเลย์เอาท์ เสนอผลงานให้กับอาร์ตไดเรคเตอร์และลูกค้า แก้ไขตามความต้องการของลูกค้า และตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณะ เป็นทีมที่มีผลงานที่น่าพึงพอใจ และได้สร้างรายได้ให้กับองค์กรสูงที่สุด และสูงขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ประสบการณ์การทำงาน

Graphic Genius

นักออกแบบกราฟิก

สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564

  • ออกแบบแบรนด์ให้กับบริษัทและองค์กร เช่น โลโก้ ออกแบบตัวอักษร และสี
  • ออกแบบ User interface สำหรับแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ หนังสือ โฆษณา และแพ็คเกจสินค้าด้วย
  • ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบกราฟิกต่าง ๆ เช่น Adobe Creative Suite: Photoshop, Adobe Creative Suite: Illustrator, Adobe Creative Suite: InDesign, Adobe Freehand, Adobe After Effects และ Autodesk

การศึกษา

ปริญญาตรี สาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มีนาคม 2561

กิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม

สมาชิกชมรมสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย

เข้าร่วมโครงการ Work and Travel ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ใบประกาศนียบัตร

TOEIC 650 คะแนน

อัตราและเงินเดือนของนักออกแบบ

จากข้อมูลฐานเงินเดือนของ Tcaster นักออกแบบกราฟิก ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ รวมทั้งงานออกแบบสื่อโฆษณาต่าง ๆ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีฐานเงินเดือนของบัณฑิตจบใหม่อยู่ที่ประมาณ 18,000 – 30,000 บาท

วิธีเขียน CV นักออกแบบกราฟิก

CV กราฟิกดีไซเนอร์ที่ดี นอกจากเนื้อหาต้องครบและดี ยังต้องเรียงโครงสร้างให้ดีด้วย เพื่อให้ผู้พิจารณาอ่านได้ง่าย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของ CV ในเบื้องต้นควรประกอบไปด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้:

  • ประวัติส่วนตัวและข้อมูลสำหรับติดต่อ
  • ตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน
  • สรุปทักษะและผลงานจากการทำงาน (Professional Summary)
  • ประสบการณ์การทำงานหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  • การศึกษา
  • ทักษะ
  • ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ (เช่น ภาษา, ใบประกาศนียบัตร, รางวัลที่ได้รับ และความสนใจส่วนตัวอื่น ๆ เป็นต้น)

เทคนิคการจัดเรียงข้อมูลบน CV กราฟิกดีไซเนอร์ของคุณให้น่าสนใจ

  • ให้ระบุตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัครไว้ที่หัวข้อ HR จะได้รู้ว่าคุณสมัครเข้ามาในตำแหน่งอะไร เนื่องจากองค์กรอาจจะกำลังเปิดรับสมัครหลาย ๆ ตำแหน่งพร้อม ๆ กัน
  • ควรจัดรูปแบบให้น่าสนใจ โดยเขียนประสบการณ์ในการทำงานจากใหม่ไปเก่า เน้นประสบการณ์ใหม่ล่าสุดที่มี
  • และเรียงหัวข้อหลักตามลำดับ แล้วเพิ่มส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ ไว้ในส่วนท้าย
  • เวลาที่เขียน CV ให้เขียนตอบโจทย์กับคุณสมบัติและประสบการณ์ที่องค์กรต้องการและตัวคุณเองก็มี เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่าคุณเหมาะสำหรับตำแหน่งนั้นจริง ๆ

โครงสร้างของ CV นักออกแบบกราฟิก

HR หรือผู้พิจารณา CV มักเลือกคนเข้ามาทำงานผ่าน CV ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับทักษะหรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่เคยได้รับ รูปแบบ และคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น ชื่อตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร เพื่อให้สังเกตเห็นได้ในทันทีว่า ต้องการสมัครงานในตำแหน่งใด ซึ่งข้อมูลควรถูกต้องและไม่มีคำที่สะกดผิด

ขนาดฟอนต์ประมาณ 10-12 เป็นฟอนต์ที่อ่านได้ง่าย

โดยฟอนต์ที่แนะนำสำหรับ CV ภาษาอังกฤษ ได้แก่ Calibri, Times New Roman, Cambria และ Arial และ ฟอนต์แนะนำสำหรับ CV ภาษาไทย ได้แก่ TH Sarabun New

รูปแบบของ CV

รูปแบบของ CV ที่ดีสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • รูปแบบตามลำดับเวลา เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานโดยเรียงตามลำดับเวลา เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า ผู้สมัครมีทักษะและประสบการณ์การทำงานมาจากที่ไหนบ้างก่อนหลัง
  • รูปแบบโชว์ทักษะส่วนตัว แสดงให้เห็นถึงทักษะและความรู้ที่ได้สั่งสมมาระหว่างเรียน เหมาะสำหรับนักศึกษาจบใหม่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก
  • รูปแบบผสม พูดถึงทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่ได้สั่งสมมาตามลำดับเวลา เพื่อเน้นให้เห็นว่ามีผลการเรียนที่ดี และยังมีประสบการณ์ที่น่าสนใจอีกด้วย.

หัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อ

ส่วนแรกของ CV คือหัวข้อเรื่องและข้อมูลการติดต่อ ประกอบไปด้วยชื่อ ตำแหน่งที่ต้องการสมัคร พร้อมข้อมูลสำหรับติดต่อ ซึ่งควรมีการบอกถึงตำแหน่งงานที่สมัครบน CV ในหัวข้อนี้ เพื่อที่จะให้ HR สามารถสังเกตเห็นได้ในทันทีเลยว่านี่คือ CV นักออกแบบกราฟิก

หัวเรื่องที่ดี

หทัยรัตน์ สิริปัญญา

นักออกแบบกราฟิก

45/24 ถนนนิพัฒน์

แขวงสี่พระยา เขตบางรัก

กรุงเทพฯ 10500

078-224-1578

Hsiripanya@gmail.com

Linkedin.com/in/hsiripanya

หัวเรื่องที่ไม่ดี

หทัยรัตน์ สิริปัญญา

45/24 ถนนนิพัฒน์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

063-557-2248

sbausi4451@gmail.com

Facebook.com/sbausi4451

Line ID: 5698022

📌 คำแนะนำ: ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อและข้อมูลสำหรับติดต่อ ให้ใส่แต่ข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น เขียนให้กระชับ และให้อ่านเข้าใจและจับใจความได้ง่าย ที่อยู่ไม่ควรเขียนยาวจนเกินไป ส่วนอีเมลก็ควรใช้แบบทางการสำหรับสมัครงานโดยเฉพาะ แต่ไม่ต้องใส่ลิงก์โซเชียลมีเดีย

ส่วนรูปภาพสำหรับใส่ใน CV นักออกแบบกราฟิก ซึ่งควรเป็นรูปที่ผู้สมัครแต่งกายสุภาพ โดยควรทางการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะ และวัฒนธรรมขององค์กรที่คุณต้องการร่วมงานด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ใน CV นักออกแบบกราฟิก

ในส่วนของหัวข้อด้านประสบการณ์การทำงาน มักประกอบไปด้วย ชื่อบริษัท ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงาน ตามลำดับ ใช้เครื่องหมายนำสายตาเพื่อเขียนเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อตำแหน่งงานนั้น ๆ

ตัวอย่างประสบการณ์ทำงานของกราฟิกดีไซเนอร์

ประสบการณ์การทำงาน

Graphic Genius

นักออกแบบกราฟิก

สิงหาคม 2561 – สิงหาคม 2564

  • ออกแบบแบรนด์ให้กับบริษัทและองค์กร เช่น โลโก้ ออกแบบตัวอักษร และสี
  • ออกแบบ User interface สำหรับแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ หนังสือ โฆษณา และแพ็คเกจสินค้าด้วย
  • ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบกราฟิกต่าง ๆ เช่น Adobe Creative Suite: Photoshop, Adobe Creative Suite: Illustrator, Adobe Creative Suite: InDesign, Adobe Freehand, Adobe After Effects และ Autodesk

 การศึกษา

หัวข้อด้านการศึกษาคือข้อมูลของชื่อมหาวิทยาลัย ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา หากจบปริญญาโท ก็ให้ใส่ให้ครบ

ตัวอย่างการเขียนหัวข้อการศึกษาใน CV

การศึกษา

ปริญญาตรี สาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มีนาคม 2561

ทักษะสำหรับ CV กราฟิกดีไซเนอร์

ทักษะที่สามารถนำมาใส่ใน CV โดยทั่วไปประกอบไปด้วยทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (hard skills) และทักษะในการเข้าสังคม (soft skills) ซึ่งสำหรับใครที่จบมาไม่ตรงสาย แต่เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการทำกราฟิกด้วยตัวเอง ก็สามารถแสดงถึงทักษะที่ตนเองมีได้ในหัวข้อนี้

ทักษะเฉพาะทาง

  • เทคนิคในการออกแบบ
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • คิดแบรนด์เก่ง
  • ออกแบบตัวอักษรได้หลากหลาย
  • ออกแบบ UX และ UI
  • มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้งเล็กน้อย
  • ออกแบบโลโก้
  • วาดภาพประกอบ

ทักษะการเข้าสังคม

  • ใส่ใจในรายละเอียด
  • แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • มีความรอบคอบ
  • มีภาวะของการเป็นผู้นำ
  • จัดการเวลาได้ดี
  • มีความน่าเชื่อถือ
  • มีทักษะในการสื่อสาร
  • เป็นผู้ฟังที่ดี
  • สามารถทำงานในสภาวะที่กดดันได้
  • ทำงานเป็นทีมได้ดี

ทักษะและผลงานโดยสรุป

สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ มักเขียนเป็นจุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) แต่ถ้าเคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็จะเป็นสรุปเกี่ยวกับทักษะและงานผลงานประมาณ 4-5 บรรทัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคุณ และความตั้งใจที่อยากจะเข้ามาร่วมงานกับบริษัทที่คุณกำลังสมัครงานด้วย

ตัวอย่างที่ถูกต้อง

มีประสบการณ์ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า คิดค้นเกี่ยวกับคำหรือสโลแกนสำหรับโปรเจกต์ พร้อมทั้งสร้างภาพกราฟิกที่สามารถสื่อสารคำพูดนั้นออกมาได้ ผ่านภาพประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์ โลโก้ และเว็บไซต์ สามารถออกแบบภาพกราฟิกด้วยมือหรือแพ็คเกจซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สามารถเลือกสี รูปภาพ ฟอนต์ รวมทั้งเลย์เอาท์ เสนอผลงานให้กับอาร์ตไดเรคเตอร์และลูกค้า แก้ไขตามความต้องการของลูกค้า และตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณะ เป็นทีมที่มีผลงานที่น่าพึงพอใจ และได้สร้างรายได้ให้กับองค์กรสูงที่สุด และสูงขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

💡ตัวอย่างด้านบนเป็นการสรุปคร่าว ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่ามีทักษะในด้านใดบ้าง มีประสบการณ์มาเป็นเวลากี่ปีแล้ว และมีผลงานอะไรบ้างจากการทำงานที่ผ่านมา และยังพูดถึงจุดมุ่งหมายในการสมัครงานกับบริษัทด้วยว่าคืออะไร และจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทได้อย่างไรบ้าง

ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง

จบการศึกษาจากสาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยเป็นติวเตอร์สอนการออกแบบเป็นงานพาร์ททาม และทำงานออกแบบโลโก้นานถึง 3 ปี สามารถนำประสบการณ์ที่มีมาสร้างประโยชน์ให้กับทางบริษัทได้

💡 ตัวอย่างด้านบนเป็นการกล่าวสรุปที่สั้น ห้วน และไม่ครอบคลุม เพราะไม่ได้พูดถึงทักษะด้านการทำงานของคุณอย่างเห็นได้ชัด ควรเน้นประสบการณ์มากกว่าสาขาที่เรียน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว และควรพูดถึงผลงานที่เคยทำไว้ เพื่อดึงดู HR ให้เห็นถึงศักยภาพของคุณมากขึ้นด้วย

ส่วนเพิ่มเติม

ส่วนเพิ่มเติมได้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ ทักษะภาษา กิจกรรมที่เคยทำ และไปรษณียบัตรที่เคยได้รับ หากมีผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ ก็สามารถเพิ่มหัวข้อ และแนบ Reference ให้สำหรับผู้พิจารณา CV เพิ่มเติมได้เช่นกัน

ภาษา

ภาษาเป็นทักษะที่มีความสำคัญสำหรับแทบทุกอาชีพ โดยเฉพาะถ้าองค์กรของคุณเป็นบริษัทจากต่างชาติ มีเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ ถ้าคุณมีคะแนนสอบวัดผลทางภาษา เช่น TOEFL หรือ IELTS สำหรับภาษาอังกฤษ หรือมีประสบการณ์อื่น ๆ เช่นเคยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ก็สามารถอธิบายไว้ใน CV ได้เช่นกัน

เคล็ดลับในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ CV นักออกแบบกราฟิก

  • เลือกรูปแบบ CV ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งงานที่คุณต้องการสมัคร ซึ่งหากเป็นงานด้านวิชาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ รูปแบบ CV ก็ควรเป็นแบบทางการเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้อ่านสามารถดูรูปแบบ CV ที่น่าสนใจได้ที่ตัวอย่างรูปแบบ CV
  • หากคุณมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องการสมัคร ก็ให้เน้นเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้น เพื่อแสดงให้ผู้ที่พิจารณา CV เห็นว่าคุณมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นจริง ๆ แต่ถ้าคุณยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ก็ให้เน้นเขียนเกี่ยวกับการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทักษะที่มีที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นแทน
  • ปรับ CV ให้เหมาะสำหรับตำแหน่งงานและบริษัทที่ต้องการร่วมงานด้วย ไม่ใช้ CV เดียวสำหรับการสมัครงานทั้งหมด เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงหรือน่าสนใจมากพอ เนื่องจากไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่องานนั้น ๆ จริง ๆ และผู้อ่านสามารถรับรู้ได้
  • ก่อนจะส่ง CV ให้อ่านทบทวนอีกครั้งให้ดีก่อนส่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีคำสะกดผิด

สรุปประเด็นสำคัญในการเขียน CV

  • CV ควรประกอบไปด้วยข้อมูลประวัติส่วนตัว, ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัคร, ข้อมูลติดต่อ, สรุปทักษะและผลงานในการทำงาน (professional summary), ประสบการณ์การทำงาน, การศึกษา, ทักษะ และส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ
  • สรุปทักษะและผลงาน เป็นการกล่าวถึงทักษะและผลงานที่คุณเคยทำไว้โดยสรุป เป็นส่วนที่จะดึงดูดให้ผู้พิจารณา CV อ่าน CV ของคุณได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หากคุณสรุปให้เห็นถึงทักษะและความสามารถที่เป็นประโยชน์สำหรับบริษัทได้จริง ๆ
  • ประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับ CV นอกจากที่จะต้องพูดถึงชื่อบริษัท ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงานแล้ว ยังจะต้องพูดถึงหน้าที่การทำงานอย่างน้อย 3 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะด้านการทำงานของคุณได้อย่างชัดเจน
  • ข้อมูลด้านการศึกษาให้ใส่ทั้งหมด ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (ถ้ามี)
  • ควรเขียนถึงทักษะสำหรับการทำงาน (hard skill) และทักษะการเข้าสังคม (soft skill) ที่คุณมีด้วย
  • ใส่ส่วนเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อให้ CV ของคุณโดดเด่นจากผู้สมัครรายอื่น ๆ เช่น ทักษะด้านภาษา ใบประกาศนียบัตรที่ได้รับ และผลงานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ เป็นต้น

เขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับ Cover letter ของคุณ

นอกจากการเขียน CV แล้ว ก็มีเรซูเม่ที่เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำหรับใช้สมัครงานเหมือนกัน โดยเรซูเม่จะมีข้อมูลด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และความสามารถโดยสังเขป ความยาวประมาณ 1-2 หน้า ส่วน CV มีความยาวมากกว่า ประมาณ 2-20 หน้า เนื่องจากมีข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า

เช่น ทักษะ ประสบการณ์การทำงานโดยละเอียด การศึกษา ส่วนเพิ่มเติม เช่น งานวิชาการที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ เป็นต้น เพราะ CV มักถูกนำไปใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งเชิงวิชาการหรือเป็นนักวิจัย ส่วนเรซูเม่สำหรับใช้ในการสมัครฝึกงานหรือทำงานกับบริษัทโดยทั่วไป ซึ่งคุณสามารถดูตัวอย่างเรซูเม่ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ที่แนบนี้

บทความที่คล้ายกัน