ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเบื่อเสื้อผ้าสีขาวเรียบๆ หรือสีอ่อน ก็ลองมาย้อมให้กลายเป็นสีสันสดใสดู คุณย้อมผ้าได้ทั้งสีย้อมสำเร็จรูปที่เป็นสารเคมี และสีย้อมทำเองจากพืชผักต่างๆ ขั้นตอนก็ไม่ยากเกินเข้าใจและลงมือ ว่าแล้วก็เลื่อนลงไปอ่านบทความวิกิฮาวนี้กันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมเสื้อผ้าที่จะย้อม รวมถึงสถานที่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเสื้อผ้าทำจากเส้นใยธรรมชาติ ใช้สีอะไรก็ย้อมติดง่ายดาย แต่ถ้าจะย้อมเส้นใยโพลีเอสเตอร์ หรือใยสังเคราะห์ต่างๆ ก็ต้องใช้สีเฉพาะ หรือเปลี่ยนไปย้อมเสื้อผ้าเส้นใยแบบอื่นแทน[1]
    • ถ้าผ้าสีขาวหรือออฟไวท์ จะย้อมออกมาได้สีสดกว่า
    • สีย้อมจากวัสดุธรรมชาติ จะย้อมผ้าคอตตอน ผ้าวูล ผ้าไหม และผ้ามัสลินได้ดี
    • สีย้อมสำเร็จรูปที่เป็นสารเคมี จะย้อมผ้าคอตตอน ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้าวูล และผ้าป่านรามีได้ดี ใช้ย้อมผ้าเรยอนกับไนลอนที่เป็นใยสังเคราะห์ก็ได้ด้วย
    • ถ้าผ้าของคุณทำจากเส้นใยย้อมง่าย 60% เช่น คอตตอน ก็ใช้สีย้อมสำเร็จรูปได้ ถึงเส้นใยที่เหลือจะย้อมยากหรือไม่ติดสีก็เถอะ อย่างไรก็ดี สีที่ย้อมออกมาแล้วจะอ่อนกว่าเวลาย้อมผ้าที่เส้นใยติดสีง่าย
    • อย่าย้อมผ้าที่เป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สแปนเด็กซ์ เส้นใยโลหะ หรืออะไรที่เน้นว่า "ซักแห้งเท่านั้น"
  2. เสื้อผ้าที่จะย้อม ต้องซักให้สะอาดก่อน โดยซักเครื่องด้วยน้ำอุ่นตามปกติ และใช้น้ำยาซักผ้าสูตรอ่อนโยน
    • ต้องขจัดคราบก่อนย้อม
    • จะใช้น้ำยาฟอกขาวให้ผ้ายิ่งขาวจัดก็ได้ เพราะยิ่งผ้าขาวก็ยิ่งย้อมออกมาได้สีสดกว่าผ้าขาวแบบตุ่นๆ
    • ซักแล้วไม่ต้องตากหรืออบแห้ง เพราะตอนย้อม ผ้าต้องเปียกอยู่แล้ว
  3. เวลาย้อมผ้าอาจมีกระเด็นหรือเลอะเทอะบ้าง จะเก็บกวาดทำความสะอาดง่ายกว่า ถ้าเอาผ้าพลาสติกคลุมห้องกันเปื้อนไว้ หรือใช้หนังสือพิมพ์แทนหลายๆ ชั้น
    • หาฟองน้ำหรือทิชชู่ติดมือไว้ เผื่อสีย้อมกระเด็นจะได้จัดการทันที
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใช้สีย้อมธรรมชาติ[2]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. dye fixative หรือน้ำยาคงสภาพ จะช่วยให้สีย้อมติดทนมากขึ้น ส่วนจะใช้ fixative ประเภทไหน ก็แล้วแต่ชนิดของพืชที่นำมาทำสีย้อม
    • ถ้าทำสีย้อมจากเบอร์รี่ ก็ต้องใช้ fixative สูตรเกลือ โดยผสมเกลือ 1/2 ถ้วยตวง (125 มล.) กับน้ำเย็น 8 ถ้วยตวง (2 ลิตร)
    • ถ้าทำสีย้อมจากพืชชนิดอื่น ให้ใช้ fixative สูตรน้ำส้มสายชู โดยผสมน้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ส่วนกับน้ำเย็น 4 ส่วน
    • ถ้าใช้สีย้อมสำเร็จรูปที่เป็นสารเคมี ก็ให้เลือกใช้ fixative ตามเส้นใยผ้าที่จะย้อม
    • แช่ผ้าไว้ใน fixative 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็น แล้วค่อยเริ่มย้อม
  2. สีที่ได้จะขึ้นอยู่กับวัสดุธรรมชาติที่คุณเลือกใช้ ต้องลองศึกษาและทดลอง ว่าเบอร์รี่พันธุ์ต่าง ไปจนถึงพืชและเครื่องเทศอื่นๆ ใช้ทำสีย้อมอะไรได้บ้าง
    • ถ้าอยากได้สีส้ม ให้ใช้เปลือกหัวหอม รากแครอท เปลือกเมล็ดฟักทองน้ำเต้า และสาหร่ายสีทอง
    • ถ้าอยากได้สีน้ำตาล ให้ใช้รากแดนดิไลออน เปลือกไม้โอ๊ค เปลือกวอลนัท ถุงชา กาแฟ ลูกโอ๊ค รากโกลเด้นรอด เนื้อไม้สีเสียดเหนือ เปลือกติ้วขน เปลือกคาง และเปลือกไม้ประดู่ป่า
    • ถ้าอยากได้สีชมพู ให้ใช้สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ เรดราสเบอร์รี่ และเปลือกต้นแกรนด์เฟอร์
    • ถ้าอยากได้สีม่วงอมฟ้า ให้ใช้เปลือกไม้ด็อกวู้ด กะหล่ำปลีแดง เอลเดอร์เบอร์รี่ ลาเวนเดอร์ มัลเบอร์รี่สีม่วง กลีบดอกคอร์นฟลาวเวอร์ บลูเบอร์รี่ องุ่นม่วง และไอริสม่วง
    • ถ้าอยากได้สีน้ำตาลแดง ให้ใช้เอลเดอร์เบอร์รี่ เปลือกหอมแดง ทับทิม หัวบีท ไผ่ ดอกฮิบิสคัส (ชบา) ตากแห้ง และเปลือกสนทะเล
    • ถ้าอยากได้สีเทาไปจนถึงดำ ให้ใช้แบล็กเบอร์รี่ เปลือกวอลนัท ก้อนกลมบนต้นโอ๊ค ผลมะเกลือ และเปลือกฟักทองน้ำเต้า
    • ถ้าอยากได้สีม่วงแดง ให้ใช้ดอกไม้จีน (เดย์ลิลลี่) ฮัคเคิลเบอร์รี่ หรือโหระพา
    • ถ้าอยากได้สีเขียว ให้ใช้อาร์ติโชค รากซอร์เรล ใบปวยเล้ง แบล็คอายซูซาน ดอกลิ้นมังกร ดอกไลแลค หญ้า หรือดอกยาร์โรว์
    • ถ้าอยากได้สีเหลือง ให้ใช้ใบกระวาน เมล็ดอัลฟัลฟ่า ดอกดาวเรือง เซนต์จอห์นเวิร์ต ดอกแดนดิไลออน ช่อดอกแดฟโฟดิล พริกปาปริก้า แก่นไม้ฝาง ยางรง รากมะหาด และขมิ้น
  3. พืชที่จะใช้ทำสีย้อม ต้องสุกหรือโตเต็มที่แล้วเท่านั้น
    • ผลไม้และเบอร์รี่ต่างๆ ต้องสุกเต็มที่
    • ถั่วต่างๆ ก็ต้องแก่ได้ที่
    • ดอกไม้ต่างๆ ต้องบานเต็มที่ จนเกือบจะร่วง
    • เมล็ด ใบ และก้าน งอกเต็มที่เมื่อไหร่ให้เก็บได้เลย
  4. ต้องสับวัสดุธรรมชาติที่จะใช้ทำสีย้อมให้ละเอียดที่สุด โดยใช้มีดทำครัว เสร็จแล้วเอาใส่หม้อต้มใบใหญ่
    • หม้อต้องใหญ่กว่าเสื้อผ้าที่จะย้อมประมาณ 2 เท่า
    • พอวัตถุดิบถูกสับละเอียดแล้วเท่ากับเพิ่มพื้นที่ ยิ่งดึงสีออกมาได้ง่ายและมากขึ้น
  5. เติมน้ำใส่หม้อ แล้วยกขึ้นตั้งไฟแรงจนเดือด จากนั้นใช้ไฟอ่อน แล้วเคี่ยวต่อประมาณ 60 นาที
    • เติมน้ำลงไป 2 เท่าของปริมาณวัตถุดิบ
  6. เทน้ำสีผ่านกระชอน เพื่อกรองเอากากใยออก เหลือแต่น้ำสี แล้วเทสีย้อมที่ได้กลับลงในหม้อ
  7. เอาผ้าเปียกใส่ในหม้อสีย้อม แล้วเคี่ยวต่อด้วยไฟแรงปานกลาง จนได้ผ้าสีตามต้องการ
    • ถ้าผ้าแห้งแล้ว สีจะอ่อนกว่าที่เห็น
    • ต้องแช่ผ้าไว้ในสีย้อมอย่างน้อย 30 - 60 นาที
    • ถ้าอยากได้สีเข้มหน่อย ก็ต้องแช่ผ้าทิ้งไว้ 8 ชั่วโมงขึ้นไปหรือข้ามคืน
    • กวนผ้าในสีย้อมเป็นระยะ สีจะได้ทั่วถึง
  8. ซักผ้าที่ย้อมเสร็จครั้งแรกในน้ำเย็นจัด โดยซักแยกกับผ้าชิ้นอื่น
    • ขั้นตอนนี้สีตกแน่นอน
    • เอาใส่เครื่องอบผ้า หรือตากแดดไว้ก็ได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้สีย้อมสำเร็จรูป โดยตั้งเตา[3]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เติมน้ำใส่หม้อต้มใบใหญ่ประมาณ 3/4 ของหม้อ แล้วตั้งไฟแรงปานกลางจนพอเดือด
    • ใช้หม้อแบบที่จุดได้ 2 แกลลอน (8 ลิตร) ขึ้นไป ไม่งั้นจะกวนผ้าไม่ได้ ย้อมสีได้ไม่ทั่วถึง
  2. Watermark wikiHow to ย้อมผ้า
    ถ้าใช้สีย้อมสำเร็จรูปแบบสารเคมี ให้ใส่ fixative ลงไปในน้ำสีโดยตรง ส่วนจะเป็น fixative แบบไหน ต้องดูจากเส้นใยของผ้าที่จะย้อม
    • ถ้าเป็นเส้นใยธรรมชาติ เช่น คอตตอนหรือผ้าไหม ให้ใส่เกลือ 1 ถ้วยตวง (250 มล.) ตอนน้ำเดือด
    • ถ้าเป็นเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ไนลอน ให้ใช้น้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ถ้วยตวง (250 มล.) แทน
  3. Watermark wikiHow to ย้อมผ้า
    จะใช้แบบผงหรือแบบน้ำก็ได้ โดยอ่านและทำตามคำแนะนำการใช้งานที่ฉลาก จะได้ใช้สีในปริมาณที่ถูกต้อง
    • ถ้าใช้ผงสีแบบกล่อง ก็เทลงไปในน้ำที่เริ่มเดือดทั้งห่อเลย
    • แต่ถ้าใช้สีย้อมแบบน้ำ ปกติแค่ครึ่งขวดก็พอ
    • คนจนสีย้อมละลายผสมกับน้ำเป็นเนื้อเดียว
  4. แช่ผ้าลงในหม้อใส่สีย้อม จนน้ำท่วมผ้าทั้งผืน
    • เอาช้อนคนหรือไม้อะไรสักอย่างกดผ้าลงไปให้จมอยู่ในน้ำ
  5. พอน้ำสีเริ่มเดือด ก็ลดเหลือไฟอ่อน แล้วแช่ต่อไป 30 นาที
    • กวนผ้าเป็นระยะ จะได้ย้อมสีทั่วถึง
    • ไม่ต้องปิดฝาหม้อ
  6. Watermark wikiHow to ย้อมผ้า
    เอาผ้าออกจากน้ำสี (ระวังลวกมือ) โดยใช้ช้อนคนหรือไม้สองอันคีบแล้วยกมาใส่ไว้ในอ่างล้างจานสแตนเลส เปิดหรือราดน้ำร้อนราดผ้า แล้วค่อยๆ ลดอุณหภูมิลงจนกลายเป็นน้ำเย็นจัด (น้ำใส่น้ำแข็ง) และจนกว่าน้ำที่ไหลจากผ้าจะใส สีไม่ตก
    • เทน้ำสีย้อมทิ้งในอ่างล้างจาน
    • ตอนล้างผ้าด้วยน้ำเปล่า สีจะตกค่อนข้างเยอะ ถือว่าปกติ ไม่ต้องกังวล
    • น้ำเย็นจัดหรือน้ำใส่น้ำแข็งตอนสุดท้ายจะทำให้สีเซ็ตตัว ติดผ้าทนนาน
  7. ตากผ้าตรงที่สะดวก แล้วผึ่งลมไว้จนแห้งสนิท
    • อย่าเอาใส่เครื่องอบผ้า
    • ตอนตาก หาผ้าหรือพรมเก่าๆ รองไว้ข้างใต้ด้วย เผื่อผ้าสีตกแล้วหยดลงมา
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ใช้สีย้อมสำเร็จรูป โดยใส่ในเครื่องซักผ้า[4]

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาให้ร้อนที่สุดเท่าที่จะไม่ทำเส้นใยของผ้าที่จะย้อมเสียหาย
    • ตั้งค่าให้เครื่องซักผ้าปล่อยน้ำแบบซักน้อยๆ (small load) ถ้าน้ำเยอะขั้นสุด สีย้อมจะเจือจางไป ผ้าออกมาสีไม่เข้มสมใจ
  2. เทสีย้อมลงในน้ำ ระหว่างที่น้ำกำลังไหลอยู่ในเครื่องซักผ้า. ระหว่างน้ำไหลเติมเครื่องซักผ้าอยู่ ให้เทสีย้อมลงไป
    • ตอนนี้อย่าเพิ่งใส่ผ้าลงไป
    • เพราะเราเทสีใส่เครื่องซักผ้าที่น้ำกำลังไหล เลยไม่ต้องคนผสม น้ำจะไหลแรงจนสีละลายเอง
    • อ่านและทำตามคำแนะนำการใช้งานที่ฉลากสีย้อม ถ้าเป็นผงสีก็เทหมดซองเลย แต่ถ้าเป็นสีย้อมแบบน้ำ ก็ครึ่งขวด
  3. พอเครื่องซักผ้าเติมน้ำเสร็จ ก็แช่ผ้าได้เลย
    • แต่อย่าลืมราดน้ำให้ผ้าเปียกก่อน แล้วค่อยเอาใส่ในน้ำสีย้อมในเครื่องซักผ้า ไม่งั้นสีจะไม่ค่อยติด
  4. ต้องรีเซ็ตแล้วตั้งค่าใหม่ให้เริ่มจนจบครบ 30 นาทีพอดี หรือจะนานกว่านั้นก็ได้ ถ้าอยากได้สีเข้มๆ
    • ข้อดีของการย้อมผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ก็คือไม่ต้องมานั่งกวนให้สีทั่วถึง เพราะถังซักผ้าจะหมุนอัตโนมัติ
  5. ปล่อยให้ซักน้ำเปล่าไปในเครื่อง จะได้ขจัดสีส่วนเกิน ผ้าไม่สีตกที่หลัง
    • ตอนซักน้ำเปล่าให้ใช้น้ำอุ่น เพราะชะสีย้อมส่วนเกินได้มากกว่าน้ำเย็น
  6. ตั้งรอบซักตามปกติ โดยใช้น้ำเย็นจัดและน้ำยาซักผ้าสูตรอ่อนโยน
    • น้ำเย็นจัดจะช่วยให้สีติดผ้าทนนาน แถมซักรอบนี้ยังช่วยให้ผ้าสะอาดหลังแช่น้ำสีมา
    • อย่าซักรวมกับผ้าอื่น
    • เอาเข้าเครื่องอบผ้า หรือตากแดดไว้จนแห้ง
  7. พอเอาผ้าที่ย้อมเสร็จออกจากเครื่องแล้ว ให้เปิดเครื่องซักไปเปล่าๆ เพื่อล้างสีย้อมที่อาจหลงเหลืออยู่ ซักผ้ารอบหน้าจะได้ไม่สีตกใส่
    • แนะนำให้ล้างเครื่องโดยใช้น้ำร้อนกับน้ำยาฟอกขาว 1 ถ้วยตวง (250 มล.)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะย้อมและซักผ้าในถัง/อ่างสแตนเลสหรือโลหะก็ได้ อย่าใช้กะละมังพลาสติกหรืออ่างพอร์ซเลน เพราะสีติดเป็นคราบแน่นอน
  • เนื้อผ้าหรือเส้นใยแต่ละแบบ ก็ย้อมแล้วได้ผลต่างกันไป ถึงจะเป็นผ้าที่ย้อมแล้วติดทนดี แต่ก็จะได้เฉดสีต่างกันไปตามน้ำหนักและชนิดของเส้นใย เพราะงั้นถ้าเสื้อผ้านั้นมีหลายเส้นใยในตัวเดียว ก็จะย้อมออกมาได้เฉดสีที่แตกต่างกันไปนิดหน่อย
  • ต้องสวมถุงมือยาง และเสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนเสมอเพื่อไม่ให้มือและตัวเลอะเทอะเปรอะเปื้อน แต่จะดีที่สุดถ้าใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ข้างใน แบบเลอะแล้วทิ้งได้เลย
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาย้อมผ้าด้วยสีสำเร็จรูปแบบเป็นสารเคมี ต้องอ่านคำแนะนำการใช้งานให้ดี รวมถึงข้อมูลเรื่องอาการแพ้ที่อาจเกิด ปกติสีย้อมผ้าจะไม่อันตราย แต่สารเคมีบางตัวที่ผสมก็ใช่ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 100% ต้องใช้อย่างระวัง[5]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เสื้อผ้าสีขาวหรือสีอ่อน
  • ผ้าปูรองเวลาทาสี หรือหนังสือพิมพ์
  • น้ำยาซักผ้า
  • เกลือ
  • น้ำส้มสายชู
  • น้ำเปล่า
  • หม้อต้มใบใหญ่ที่เป็นโลหะ
  • เครื่องซักผ้า
  • ช้อนคน
  • พืชที่จะใช้ทำสีย้อม
  • มีดทำครัว
  • สีย้อมผ้าสำเร็จรูป
  • ผ้ากันเปื้อน
  • ถุงมือยาง

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ลดไข้ให้แมวลดไข้ให้แมว
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณเปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
เปลี่ยนริงโทนของมือถือ Androidเปลี่ยนริงโทนของมือถือ Android
ดูแลนกที่ป่วยดูแลนกที่ป่วย
แต่งกายแบบ Smart Casual (สำหรับผู้หญิง)แต่งกายแบบ Smart Casual (สำหรับผู้หญิง)
ทำให้เป็นไข้ทำให้เป็นไข้
แกล้งท้องแกล้งท้อง
ถักเปียด้วยตัวเอง
เล่นสเกตน้ำแข็งเล่นสเกตน้ำแข็ง
รับรู้ถ้าหากว่าเพื่อนไม่ชอบคุณแล้วรับรู้ถ้าหากว่าเพื่อนไม่ชอบคุณแล้ว
แอบออกจากบ้านตอนกลางคืนแอบออกจากบ้านตอนกลางคืน
ประเมินนัยสำคัญทางสถิติประเมินนัยสำคัญทางสถิติ
เล่น Candy Crush Saga แบบมีหัวใจไม่จำกัดเล่น Candy Crush Saga แบบมีหัวใจไม่จำกัด
ปลอบใจเพื่อนหลังจากที่เลิกกับแฟนปลอบใจเพื่อนหลังจากที่เลิกกับแฟน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 16 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 26,134 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,134 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา