(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน พฤษภาคม 2567 | Notice holiday in May 2024 > คลิก

วิทยุสื่อสาร สำหรับงานสื่อสารระยะใกล้

วิทยุสื่อสาร

วิทยุสื่อสาร (Transceiver) หรือวิทยุคมนาคม เป็นอุปกรณ์สื่อสารประเภทควบคุมที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กสทช ทำงานโดยการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วส่งสัญญาณคลื่นวิทยุผ่านทางสายอากาศไปยังเครื่องรับอื่นๆ โดยมีแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งประกอบด้วยตัวเครื่อง แบตเตอรี่ สายอากาศ สายคล้องมือ คลิปหลัง อะแดปเตอร์ และแท่นชาร์จ สามารถใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารได้ทั้งในงานที่ต้องการจำกัดพื้นที่ในการสื่อสารและงานที่ต้องการสื่อสารในวงกว้างหรือไม่จำกัดพื้นที่ได้ วิทยุสื่อสารไม่มีค่าใช่จ่ายรายเดือนและไม่จำกัดเวลาในกรสื่อสาร ส่วนใหญ่มี 3 แบบให้เลือกใช้งาน คือ วิทยุสื่อสารแบบมือถือ วิทยุสื่อสารแบบเคลื่อนที่ติดตั้งในรถยนต์ และ วิทยุสื่อสารแบบประจำที่ติดตั้งในอาคาร สำหรับการใช้งานจะต้องมีใบอนุญาตจาก กสทช จึงจะสามารถใช้งานได้ และสามารถพบการใช้งานได้ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ อาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ หรือหน่วยงานเอกชน

เลือกอ่านหัวข้อวิทยุสื่อสารที่สนใจ

เลือกซื้อวิทยุสื่อสาร

  • Photo
  • List

ความรู้เกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร

คำแนะนำก่อนซื้อและใช้วิทยุสื่อสาร

คำแนะนำก่อนซื้อและใช้วิทยุสื่อสาร

ผู้ใช้จะต้องเลือกวิทยุสื่อสารที่ถูกกฎหมาย โดยผ่านการตรวจสอบและทดสอบจาก กสทช ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ NTC, ID หรือตราครุฑ ติดอยู่ที่ตัวเครื่อง ผู้ใช้จะต้องใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกประเภท ต้องทราบว่าควรใช้วิทยุสื่อสารสีอะไรหรือใช้วิทยุสื่อสารประเภทไหน ให้ดูที่จุดประสงค์ของการใช้งาน ควรจดใบอนุญาตซื้อวิทยุสื่อสาร เมื่อซื้อวิทยุสื่อสารมาแล้วจะต้องขอใบอนุญาตใช้จาก กสทช ก่อน ยกเว้นเครื่องที่มีกำลังส่ง 0.5 วัตต์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่ตัวเครื่องต้องผ่านการตรวจสอบจาก กสทช และถ้าหากใช้งานผิดประเภทหรือไม่ขอใบอนุญาตใช้งาน อาจมีโทษปรับหรือจำคุกซึ่งขึ้นอยู่กับทาง กสทช กำหนด

ประเภทของวิทยุสื่อสาร

เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 1

เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 1 ผู้ใช้งานสามารถตั้งความถี่ที่ตัวเครื่องได้เอง เนื่องจากมีหน้าจอและความถี่ สามารถใช้งานได้เฉพาะคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต เหมาะสำหรับการใช้งานในหน่วยงานราชการซึ่งมีทั้งหมด 18 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานป้องกันและรักษาความมั่นคง หน่วยงานป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย และหน่วยงานอารักขาบุคคลสำคัญ

เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 2

เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 2 หรือเรียกว่า วิทยุราชการมีเครื่องสีดำ ใช้ย่านความถี่ที่ 136 – 174 MHz วิทยุประเภทนี้ไม่สามารถตั้งความถี่ที่หน้าเครื่องได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีหน้าจอและไม่มีตัวเลข ต้องตั้งโปรแกรมความถี่จากคอมพิวเตอร์ สำหรับการใช้งานผู้ใช้จะต้องเป็นลูกข่ายของทางหน่วยงานราชการเท่านั้น หรือ มูลนิธิ เทศบาล และอาสากู้ภัยต่างๆ จึงสามารถใช้วิทยุสื่อสารได้ทั่วราชอาณาจักรโดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจาก กสทช แต่ต้องมีบัตรประจำตัวที่ทางหน่วยงานออกให้เมื่อพกวิทยุไปใช้งานในที่ต่างๆ

เครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่น

เครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่น ตัวเครื่องมีสีดำลักษณะคล้ายกับเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 1 สำหรับการใช้งานผู้ใช้จะต้องสอบและอบรมอนุญาตเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น และต้องมีบัตรอนุญาตใช้งาน โดยมีความแตกต่างจากเครื่องวิทยุราชการตรงที่สามารถกดขยายความถี่ตรงหน้าเครื่องได้ ตั้งแต่ความถี่ 144 - 146 MHz มีกำลังส่ง 5 วัตต์ วิทยุสมัครเล่นเป็นความถี่ประเภท VSS สามารถคุยได้ภายในอำเภอ จังหวัด หรือข้ามจังหวัดได้ และสามารถสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วย เหมาะสำหรับการใช้งานกับบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น

วิทยุคมนาคมความถี่ภาคประชาชน

วิทยุคมนาคมความถี่ภาคประชาชน มีเครื่องสีแดงและเครื่องสีเหลืองให้เลือกใช้งาน โดยเครื่องสีแดง ใช้ย่านความถี่ที่ 245 MHz ใช้งานได้ 160 ช่องความถี่ ส่วนเครื่องสีเหลือง ใช้ย่านความถี่ที่ 78 MHz และใช้งานได้ 80 ช่องความถี่ เป็นวิทยุสื่อสารที่ใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการสอบและอบรมนักวิทยุสมัครเล่น แต่ต้องนำไปจดทะเบียนให้ถูกกฎหมายก่อนใช้งาน ซึ่งมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย มีระบบป้องกันสัญญาณรบกวน เหมาะสำหรับใช้งานกับประชาชนทั่วไป กลุ่มท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม หรือแม้แต่ใช้ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ

วิทยุสื่อสารระบบอนาล็อก

วิทยุสื่อสารระบบอนาล็อก เป็นวิทยุสื่อสารที่ครอบคลุมในพื้นที่ที่จำกัด เนื่องจากการเข้ารหัสป้องกันการดักฟังทำได้ค่อนข้างง่าย เพียงแค่ปรับจูนความถี่ให้ตรงกันก็สามารถแอบฟังความลับได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้มีความปลอดภัยต่ำ วิทยุประเภทนี้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลในช่วงความถี่ต่ำได้ แต่คุณภาพเสียงที่ได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีเสียงสัญญาณรบกวนเยอะ ไม่สามารถเลือกผู้สนทนาได้และการใช้คลื่นความถี่ค่อนข้างสิ้นเปลือง เนื่องจาก 1 ความถี่สามารถคุยได้แค่ 1 คู่สาย เท่านั้น

วิทยุสื่อสารระบบดิจิตอล

วิทยุสื่อสารระบบดิจิตอล ครอบคลุมทุกพื้นที่บริการ และมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากการเข้ารหัสต้องเข้าที่ตัววิทยุโดยตรง ทำให้การดักฟังจึงทำได้ยาก เพราะว่าความถี่และช่องสัญญาณเปลี่ยนแปลงทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ สามารถสนทนาได้หลายแบบทั้งแบบส่วนตัว แบบกลุ่ม และคุยพร้อมกันทุกคน ซึ่งสามารถเลือกการสนทนาได้ตามต้องการ มีคุณภาพเสียงที่คมชัดเนื่องจากไม่มีสัญญาณรบกวน และสามารถติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉินได้ในทันทีโดยไม่ต้องปรับจูนความถี่ให้ตรงกัน ทำให้สามารถสื่อสารกันได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป รปภ ร้านอาหาร บริษัท และอื่นๆ

วิทยุสื่อสารระบบเซลลูลาร์

วิทยุสื่อสารระบบเซลลูลาร์หรือวิทยุสื่อสารผ่านเครือข่ายมือถือ เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสัญญาณ 3G, 4G หรือ WiFi ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก และมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายทั้งการส่งข้อความ การอัพโหลดภาพถ่ายและวิดีโอ มีระบบ GPS ติดตาม และ มีสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน มันสามารถทำงานได้ดีแม้ในมุมอับ ชั้นใต้ดิน หรือในอาคารสูงๆ ให้คุณภาพเสียงที่คมชัด สามารถเลือกคุยแบบกลุ่มหรือแบบตัวต่อตัวได้ การใช้งานและการดูแลรักษาง่าย แต่มีราคาค่อนข้างสูงและต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน เหมาะสำหรับภาครัฐ โรงพยาบาล การขนส่ง ก่อสร้าง เหมืองแร่ หรือธุรกิจสื่อสารทางไกล

วิทยุสื่อสารกันน้ำ

วิทยุสื่อสารกันน้ำ ผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานในระหว่างฝนตก หรือในกรณีที่เครื่องหล่นลงน้ำซึ่งไม่ทำให้เครื่องพังหรือเสียหาย เนื่องจากสามารถกันน้ำได้ 100 % ที่ความลึกประมาณ 1 เมตร และสามารถอยู่ในน้ำได้ประมาณ 30 นาที วิทยุประเภทนี้สามารถใช้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ และมีคุณภาพเสียงที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถทนต่อแรงตกกระแทกได้ดีไม่ทำให้เครื่องแตกเสียหาย แถมยังเป็นเครื่องขนาดกระทัดรัด มีน้ำหนักเบา พกพาใช้งานได้สะดวก เหมาะสำหรับการใช้งานในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ปั่นจักรยาน ตั้งแคมป์ หรือเดินป่า เป็นต้น

สินค้าแนะนำสำหรับโรงงาน