หรือนี่คือคู่แข่งของ AI ? รู้จักปัญญาชีวะคอมพิวเตอร์ชีวภาพจากเซลล์สมองมนุษย์ | Techsauce

หรือนี่คือคู่แข่งของ AI ? รู้จักปัญญาชีวะคอมพิวเตอร์ชีวภาพจากเซลล์สมองมนุษย์

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของ AI และการเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น เช่น การวินิจฉัยทางการแพทย์ การใช้เครื่องจักร ในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้เกิดประเด็นคำถามว่า มนุษย์จะเอาชนะความสามารถและความฉลาดของมันได้หรือไม่ หรือจะมีเทคโนโลยีแบบไหนที่สามารถทำให้เราอยู่เหนือกว่า


แม้ AI จะสามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ในบางอย่างแล้วตอนนี้ แต่ถึงอย่างนั้นสมองของมนุษย์ก็ยังมีความหลากหลายมากกว่า AI ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือความคิดสร้างสรรค์ 

ประเด็นนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์จากนานาประเทศ นำโดย มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของ “ปัญญาชีวะ” (Organoid Intelligence - OI) คอมพิวเตอร์ชีวภาพจากสเต็มเซลล์ของมนุษย์ พร้อมกับสร้างตัวอย่างทดลองขึ้นมาเพื่อนำไปศึกษาและ พัฒนาให้มีศักยภาพเหนือกว่า AI ในอนาคต โดยมีคำอธิบายเกี่ยวกับแผนงานพร้อมรายละเอียดต่างๆ ในนิตยสาร Frontiers in Science

ปัญญาชีวะ (Organoid Intelligence - OI)  คืออะไร

ปัญญาชีวะ (Organoid Intelligence - OI) เป็นเซลล์สมองที่ถูกเพาะเลี้ยงขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ แม้ว่าจะไม่ใช่สมองจริง ๆ แต่มันมีโครงสร้างและการทำงานสำคัญที่คล้ายกัน เช่น เซลล์ประสาทและเซลล์สมองส่วนอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานในการรับรู้ เช่น การเรียนรู้และความจำ

นอกจากนั้น ด้วยการเพาะเลี้ยงในลักษณะ 3 มิติ ทำให้เพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงถึง 1,000 เท่า นั่นหมายความว่าเซลล์ประสาทจะเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้นิ

“ขณะที่คอมพิวเตอร์ที่มีซิลิคอนเป็นพื้นฐาน จะมีความสามารถในเรื่องการคำนวณ แต่สมอง จะเรียนรู้ได้ดีกว่า"

โดยยกตัวอย่างศาสตราจารย์ Thomas Hartung จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ยกตัวอย่างจาก AlphaGo (AI ที่เอาชนะผู้เล่น Go อันดับหนึ่งของโลกในปี 2017) ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลจาก 160,000 เกม ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์เราจะต้องเล่นมันถึงห้าชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลากว่า 175 ปีเพื่อเรียนรู้เกมมากขนาดนี้ 

เขายังให้รายละเอียดอีกว่า “สมองมีการจัดเก็บข้อมูลที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งมีความจุกว่า 2,500 TB (เทราไบต์) เรากำลังเข้าถึงขีดจำกัดทางกายภาพของคอมพิวเตอร์แบบซิลิกอน แต่เนื่องจากเราไม่สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ จำนวนมากลงในชิปขนาดเล็กได้ แต่สมองกลับมีสายใยที่แตกต่างออกไป สมองมีเซลล์ประสาทประมาณ 100 พันล้านเซลล์ที่เชื่อมโยงผ่านจุดเชื่อมต่อกว่า 1,015 จุดมันเป็นความแตกต่างด้านพลังงานอย่าง มหาศาลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบันของเรา”

แนวทางการรักษาแห่งอนาคต

ถ้าหากคอมพิวเตอร์ชีวภาพนี้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานได้จริง เทคโนโลยีนี้อาจถูกนำไปรักษา โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น เราสามารถเปรียบเทียบการก่อตัวของหน่วยความจำในปัญญาชีวะที่ได้จากคนที่มีสุขภาพดีและจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์และซ่อมแซม ส่วนที่ขาดไป อีกทั้งยังสามารถใช้ OI เพื่อทดสอบว่าสารบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง จะทำให้เกิดปัญหาด้านความจำหรือการเรียนรู้หรือไม่

แม้ว่า OI (Organoid Intelligence)  จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ผลการศึกษาที่เผยแพร่โดย  Dr. Brett Kagan จาก Cortical Labs โดยทีมงานของเขาแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์สมอง แบบปกติสามารถเรียนรู้ที่จะเล่นวิดีโอเกม Pong ได้

อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ก็ยังมีความกังวลว่า หากเทคโนโลยีปัญญาชีวะมีความรู้สึกนึกคิด แบบมนุษย์ขึ้นมา แบบที่พวกเรากังวลว่า AI จะระลึกได้ว่าตัวเองมีตัวตนและมีความคิด เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมมากำหนดขอบเขตในการพัฒนาและวิจัยอย่างเหมาะสม 

อ้างอิง : scitechdaily

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล...

Responsive image

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

Blood Free Group บริษัท Biotechnology จากซีรีส์เรื่อง Blood Free เปิดตัว ‘เนื้อจากแล็บ’ ตอบรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...