3 ไอเดีย DIY กระถางต้นไม้รักษ์โลก

ในยุคที่เทคโนโลยีและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวัน และเทรนด์การรักษาโลกกำลังเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก ผู้คนหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งในหลายๆประเทศได้มีการรณรงค์ในหลายๆ เรื่อง เช่น การลดใช้พลาสติก, การใช้พลังงานหมุนเวียน, การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รวมถึงการใช้แนวคิด 7R (Reduce, Reuse, Recycle, Replace, Refill, Repair, Return) ซึ่งทุกคนเคยได้ยินคำว่า Recycle มาบ่อยแล้ว

วันนี้ธารารมณ์จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า Upcycle กันบ้าง!

Upcycle เป็นการนำเอาเศษวัสดุต่าง ๆ ที่กลายเป็นขยะแล้ว นำกลับมาผลิตเป็นของใช้ใหม่ โดยมีการตกแต่งความสวยงาม ใส่ไอเดียใหม่ๆ ลงไป แต่จะไม่นำกลับไป Recycle และไม่นำกลับมาผลิตเป็นของประเภทเดิม หรือคล้ายๆการ DIY นั้นเอง เช่น ขวดพลาสติก เมื่อนำมา Upcycle จะถูกเปลี่ยนเป็นสิ่งของประเภทอื่น ๆ เช่น ทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้ หรือทำเป็นโคมไฟสวยงาม

วันนี้ธารารมณ์ได้รวบรวม 3 ไอเดีย DIY กระถางต้นไม้รักษ์โลกมาฝากทุกคน รับรองว่าทำง่าย สามารถทำเองได้ที่บ้าน นอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยสร้างความสวยงามให้กับบ้านอีกด้วย

เปลี่ยนขวดน้ำพลาสติกให้กลายเป็นกระถางต้นไม้
อุปกรณ์ : ขวดน้ำลาสติก, กรรไกร, ต้นไม้

วิธีการ
1. ล้างทำความสะอาดขวดพลาสติกให้เรียบร้อย
2. ตัดปากขวดพลาติกออก โดยวัดขนาดความสูงให้พอดี และเจาะรูบริเวณตรงก้นขวด
3. เทดินลงไป ตามด้วยเมล็ดพืช หรือต้นไม้ที่ต้องการปลูก
4. ตกแต่งตามใจชอบ การใช้สีระบายตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ

เปลี่ยนกะลามะพร้าวให้กลายเป็นกระถางแขวนต้นไม้
อุปกรณ์ : กะลามะพร้าว, เชือกคอตตอน, กรรไกร, ต้นไม้

วิธีการ
1. เจาะรูบริเวณตรงก้นกะลาเพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้
2. เจาะด้านข้างกะลาสำหรับการร้อยเชือก ทั้ง 4 มุม
3. เทดินลงไป ตามด้วยเมล็ดพืช หรือต้นไม้ที่ต้องการปลูก
4. ตกแต่งตามใจชอบ การใช้สีระบายตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ

เปลี่ยนแผงไข่กระดาษให้กลายเป็นถาดปลูกต้นไม้
อุปกรณ์ : แผงไข่กระดาษ, ต้นไม้

วิธีการ
1. เจาะรูบริเวณก้นแผงไข่แต่ละช่องเพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้
2. เทดินลงไป ตามด้วยเมล็ดพืช หรือต้นไม้ที่ต้องการปลูก
3. ตกแต่งตามใจชอบ การใช้สีระบายตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ

อ่านข้อความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ >> https://tararomestate.com/blog/eco/

Share this post