เทรนด์วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งปี 2021

By Dutsanee Mua

Photo by Scott Webb on Pexels.com
อุตสาหกรรมก่อสร้างนับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำ “ความยั่งยืน” มาเป็นปัจจัยสำคัญสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ โดยในปี 2021 นี้ มีแนวโน้มหรือเทรนด์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างรักษ์โลก หรือ “วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน” ที่น่าจับตาดังต่อไปนี้

6 วัสดุยั่งยืนที่ผู้รับเหมา นักออกแบบ เล็งนำมาใช้ในงานก่อสร้างปี 2021

1. หลังคายางมะตอยคอมโพสิท (Composite Roofing Shingles)

ตัวเลือกใหม่ที่ผู้รับเหมาเริ่มหันมาแนะนำให้เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของโครงการใช้กันมากขึ้น เพราะมีการพัฒนาวัสดุและองค์ประกอบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์กระดาษรีไซเคิล ไฟเบอร์กลาส และแอสฟัลต์ ซึ่งล้วนแต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีอายุการใช้งานยาวนาน

หลังคายางมะตอยคอมโพสิทนั้นแตกต่างจากวัสดุมุงหลังคาอื่นๆ ตรงที่มีความทนทานสูง กันไฟ กันลม แรงกระแทก และดูดซับความชื้นได้น้อยกว่า ที่สำคัญต้องการงานบำรุงรักษาน้อยลง และช่วยประหยัดพลังงาน จึงนับเป็นหลังคาที่ยั่งยืนที่สมบูรณ์แบบตัวเลือกที่คนรักษ์โลกต้องห้ามพลาด

2. หน้าต่างกระจกอัจฉริยะ (Smart Glass Windows)

กระจกอัจฉริยะ หรือ กระจกแบบเปิดปิดได้เอง กำลังกลายเป็นเทรนด์ยั่งยืนที่สำคัญในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ ตลาดกระจกอัจฉริยะคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.75 พันล้านดอลลาร์ในปี 2569 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อาคารพาณิชย์และอาคารส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมใช้หน้าต่างบานใหญ่เพื่อเปิดรับแสงสว่างมากขึ้นและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวัน แต่ปัญหาที่มาพร้อมกับกระจกบานใหญ่ก็คือ “ความร้อน” ที่ไหลผ่านผนังกระจก และนี่คือที่มาของการประดิษฐ์หน้าต่างกระจกอัจฉริยะ

หน้าต่างกระจกอัจฉริยะแบบสลับได้ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมแสงและความร้อน พร้อมป้องกันอาคารในระหว่างวัน สิ่งที่น่าประทับใจอย่างยิ่งคือตัวหน้าต่างอัจฉริยะนี้สามารถปรับระดับความร้อนและแสงที่ต้องการปิดกั้นได้โดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับฤดูกาล ตัวอย่างเช่น ในช่วงฤดูร้อนจะมีการปรับค่าความทึบแสงให้สูงกว่าฤดูอื่น เพื่อปิดกั้นความร้อนที่จะเข้ามาในตัวอาคาร ส่วนในฤดูหนาว จะมีความโปร่งแสงสูงกว่า เพื่อรับความร้อนเข้ามาในตัวอาคาร เป็นการลดภาระเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความร้อนได้อย่างเหมาะสม เรียกว่าเป็นหน้าต่างที่ทำตัวเป็นฉนวนในตัวเอง คาดการณ์กันว่าอาคารที่ใช้หน้าต่างกระจกอัจฉริยะจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากถึง 30% เลยทีเดียว

Halio Smart-Tinting Glas: Halio is the world’s most advanced natural light management system

3. พื้นไม้ไผ่ (Bamboo Floors)

อีกทางเลือกที่จะทำให้พื้นบ้านหรือพื้นอาคารของคุณมีความยั่งยืนมากขึ้น นั่นคือการหันมาใช้ “ไม้ไผ่” เนื่องจากไผ่เป็นไม้ที่เติบโตได้ง่าย สามารถทนต่อดินได้เกือบทุกประเภท และไม่ต้องการน้ำมาก ไม้ไผ่จึงจัดเป็นวัสดุที่ยั่งยืนในตัวเอง แถมยังมีคุณลักษณะที่โดดเด่นหลายประการ สามารถใช้งานได้หลากหลาย และพื้นจากไม้ไผ่ ก็กำลังกลายเป็นกระแสที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2021 นี้

4. โครงคอนกรีตหุ้มฉนวน (Insulated Concrete Framing)

โครงคอนกรีตหุ้มฉนวน หรือ ICF มีความสามารถในการควบคุมความร้อนและความเย็น จึงทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสำหรับอาคารได้ดี นอกจากนี้ อาคารที่ติดตั้ง ICF ยังทนทานต่อไฟไหม้ ความชื้น และภัยพิบัติ ทำให้โครงคอนกรีตหุ้มฉนวนเป็นที่นิยมอย่างมาก และเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับอาคารที่ผู้รับเหมาต้องพิจารณา

An animated video showing a revolutionary new product that allows lighter, stronger, more cost effective precast concrete walls to be produced by Innovative Structural Solutions

5. แผงโซลาร์เซลล์

การใช้แผงโซลาร์เซลล์ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป โครงการก่อสร้างหลายโครงการกำลังใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับอาคาร แม้ตัวแผงและค่าติดตั้งอาจยังมีราคาแพง แต่ผลตอบแทนนั้นรวดเร็วและคุ้มค่า ลองนึกภาพว่าคุณไม่ต้องจ่ายค่าไฟตลอดอายุอาคาร โดยเฉพาะอาคารใหญ่ๆ แค่นี้ก็ทำให้ฟินได้แล้ว

6. ฉนวนกันความร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ฉนวนกันความร้อนเป็นส่วนสำคัญของอาคารทุกแห่ง แต่สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับฉนวนนั่นคือ “แร่ใยหิน” ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัย ทำให้ “วัสดุฉนวนแบบยั่งยืน” ที่ใช้งานได้จริงแต่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับสุขภาพได้รับความนิยมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น ฉนวนใยแก้วหรือ ฉนวนใยแก้วโพลีเอสเตอร์ ฉนวนเซลลูโลส ฉนวนขนแกะ เป็นต้น วัสดุฉนวนชนิดใหม่ที่น่าจับตามองคือ “ฉนวนใยกัญชง” โดยฉนวนใยกัญชงธรรมชาติ 92% สามารถรักษาคุณสมบัติของฉนวนที่คล้ายคลึงกับฉนวนไฟเบอร์กลาสหรือฉนวนเซลลูโลสได้เลยทีเดียว

วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน ความสำเร็จของอุตสาหกรรม ความสุขของสังคม ความอยู่รอดของโลก

อุตสาหกรรมก่อสร้างต้องการสร้างอาคารที่ยั่งยืนมากขึ้นเพราะความยั่งยืนที่ว่านี้ ในหลายมิติสามารถตอบโจทย์ทางการเงินในระยะยาวได้อีกด้วย การเลือกวัสดุก่อสร้างจึงไม่ใช่แค่การแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป แต่กลายเป็นวิถีปฏบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการได้อย่างแท้จริง

            หวังว่าเทรนด์วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งปี 2021 นี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงก่อสร้าง ตลอดจนผู้ที่กำลังจะสร้างโครงการก่อสร้างทั้งเล็กและใหญ่

ที่มาของข้อมูล : https://www.procrewschedule.com

#SustainableBuilding #SustainableMaterial #GreenChoice #LowCarbonSociety #GreenBuilding

ใส่ความเห็น