การใช้ยีสต์เพื่อการศึกษากระบวนการเกิดโรคในมนุษย์

เราอาจจะคุ้นเคยกับยีสต์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ในกระบวนการทำขนมปังให้ฟูนุ่ม หมักเบียร์หรือบ่มไวน์ให้รสชาติดี  เพิ่มสุนทรียภาพในรับประทานอาหารไปอีกขั้น แต่รู้หรือไม่ว่าถึงแม้ยีสต์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนน้อยกว่ามนุษย์ แต่ก็ยังคงมีโครงสร้างและกระบวนการพื้นฐานที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับของมนุษย์ รวมถึงเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับสากลในการนำมาใช้เป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย

เปิดมุมมองเกี่ยวกับยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae ที่ไม่ใช่แค่ยีสต์ที่ใช้ในกระบวนการหมักอาหารและเครื่องดื่มทั่ว ๆ ไป แต่เป็นยีสต์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบในการศึกษาการเกิดโรคของมนุษย์กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ใช้โมเดลยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae ศึกษาการเกิดโรคในมนุษย์ และค้นพบความผิดปกติในระดับในระดับเซลล์ที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของกระบวนการเกิดโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่มีผลกระทบต่อการสร้างโปรตีนภายในเซลล์ รวมถึงยังค้นพบแนวทางในการแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาการรักษาผู้ป่วยในอนาคต

01:51 การศึกษากระบวนการการเกิดโรคในมนุษย์มีความสำคัญอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน เล่าถึง ความสำคัญของการศึกษากระบวนการการเกิดโรคในมนุษย์

03:35 ทำไมถึงเลือกใช้ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เป็นโมเดลในการศึกษาการเกิดโรคในมนุษย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน เผยถึงสาเหตุหลัก และข้อดีของการเลือกใช้ยีสต์ที่ใช้ทำขนมปัง (Saccharomyces cerevisiae) ในการศึกษาวิจัยเรื่องโรคในมนุษย์

05:05 โมเดลยีสต์เพื่อศึกษากระบวนการเกิดโรคอันนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน กล่าวถึงการนำโมเดลยีสต์ไปใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

07:00 การพัฒนาต่อยอดในอนาคต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน เล่าถึงความตั้งใจในการพัฒนาโมเดลยีสต์เพื่อศึกษากระบวนการเกิดโรคต่อไปในอนาคต


09:54 มุมมองของการศึกษาวิจัยทางด้านพยาธิชีววิทยาของท่าน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน เผยมุมมองของการทำงานวิจัยด้านพยาธิชีววิทยา ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญในการทำความเข้าใจการเกิดโรคต้นทางในการค้นหาหนทางรักษาโรค