เครื่องมือวัดและตรวจสอบแบบคงที่

เครื่องมือวัดและตรวจสอบแบบคงที่

เครื่องมือวัดค่าพีเอช-การนำไฟฟ้า-ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด-อุณหภูมิ-Cyber-Scan-PC-300

การผลิตชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นรูหรือรูคว้านจำนวนมากชิ้นโดยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบรูที่ผลิตเสร็จแล้วว่า สามารถนำไปใช้งานได้หรือใช้งานไม่ได้ ขนาดของรูเหล่านั้นถ้ามีขนาดอยู่ในพิกัดความเผื่อ แสดงว่าชิ้นงานรูหรือรูคว้านเหล่านั้นสามารถนำไปใช้งานได้ เครื่องมือที่ใช้ตรวจสภาพความโตของรูว่ามีขนาดอยู่ในพิกัดความเผื่อหรือไม่เรียกว่า เกจทรงกระบอก

เกจทรงกระบอกเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบขนาดของรูในกระบวนการผลิดเพื่อตรวจสอบดูว่ารูเหล่านั้นมีขนาดอยู่ในพิกัดความเผื่อหรือไม่

ลักษณะโครงสร้างของเกจทรงกระบอก
เกจทรงกระบอกมีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม มีหัวสำหรับใช้วัดงาน 2 ด้าน คือ ด้านดี และด้านเสีย ด้านดีจะมีขนาดเท่ากับขนาดเล็กสุดของรูคว้านที่ยังสามารถนำไปใช้งานได้ ส่วนด้านเสียจะมีขนาดเท่ากับขนาดโตสุดของรูคว้านที่สามารถนำไปใช้งานได้ เพราะฉะนั้นขณะตรวจสอบรูด้านดี จะเป็นด้านที่สามารถสอดใส่เข้าไปในรูได้ ส่วนด้านเสียจะไม่สามารถสอดใส่เข้าไปในรูได้ รูที่ตรวจสอบจึงจะอยู่ในพิกัดความเผื่อ สามารถนำไปใช้งานได้

ส่วนประกอบที่สำคัญมีดังนี้

  1. ด้ามจับ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกพิมพ์ลายเพื่อให้สะดวกต่อการจับ ทำจากเหล็กอ่อน ตรงกลางด้ามจับมีตัวเลขกำหนดขนาดพิกัดความเผื่อ
  2. พิกัดความเผื่อ เป็นค่าพิกัดความเผื่อด้านโตสุดและด้านเล็กสุด โดยบอกขนาดของพิกัด มีหน่วยเป็นไม่โครเมตร
  3. หัววัดด้านดี ทำด้วยเหล็กแข็ง ผ่านการชุบแข็งและเจียระไนให้มีขนาดเท่ากับพิกัดความเผื่อเล็กสุดที่ยอมให้ หัววัดด้านดีจะมีขนาดเท่ากับ 25.000 mm ความยาวของหัววัดด้านดีจะยาวกว่าหัววัดด้านเสีย
  4. หัววัดด้านเสีย ทำด้วยเหล็กแข็ง ผ่านการชุบแข็งและเจียระไนให้มีเขนาดเท่ากับ พิกัดความเผื่อโตสุดที่ยอมให้ หัววัดด้านเสียจะมีขนาดเท่ากับ 25.021 mm บริเวณส่วนปลายของมือจับหัววัดด้านเสียจาทาสีแดงไว้ เพื่อให้สังเกตเห็นชัดว่าเป็นหัววัดด้านเสีย

– เกจทรงกระบอกแบบปากแบน จะมีโครงสร้างพิเศษแตกต่างจากเกจทรงกระบอกทั่วๆไป กล่าวคือ ชุดหัววัดตรวจสอบแยกออกเป็น 2 หัว และมีมือจับไปในทิศทางเดียวกัน ออกแบบเพื่อใช้สำหรับตรวจสอบรูที่มีขนาด 100 ถึง 200 mm การใช้งานจะต้องกระทำหลายๆครั้ง และทำซ้ำๆ กัน โดยการย้ายตำแหน่งการทดสอบ
-เกจทรงกระบอกแบบสลัก มีโครงสร้างเป็นสลักสวมอยู่กับด้ามจับ ใช้สำหรับตรวจสอบรูที่มีขนาดโตกว่า 200 mm ขึ้นไป วิธีการใช้ตรวจสอบรู จะอาศัยวิธีการส่ายหัวสลักไปมาภายในรู เป็นการใช้หัววัดด้านเสียเสียบเข้าไปในรู ถ้ารูมีขนาดใหญ่กว่าพิกัดความเผื่อ ตัวสลักจะสามารถส่ายไปมาได้

 

แหล่งที่มาจาก  เครื่องมืออุตสาหกรรม

แนะนำ oilmeter

ใส่ความเห็น