พวงมาลัยรถยนต์ ทำมาจากอะไร ?

วันหนึ่งประมาณเดือนที่แล้ว มีลูกค้าท่านหนึ่งถามมาว่า พี่ครับๆ "พวงมาลัยนี้ทำมาจากอะไรหรือครับ" ผมก็ตอบไปประมาณหนึ่งว่า "มันทำมาจาก โพลียูรีเทน ครับ" แล้วลูกค้าก็เกิดความสงสัยอีกว่า "พี่ครับๆ แล้วไอ้ โพลียูรีเทน คืออะไรอ่ะครับ" คำถามนี้ทำให้ตัวผมเงียบไปครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบไปว่า "มันทำมาจากยางสังเคราะห์ประเภทหนึ่งครับ" ซึ่งจริงๆแล้ว คำตอบนี้มันก็ค่อนข้างคลุมเครือแบบกว้างมากๆ ฮ่าๆๆ แบบว่าเอาตัวรอดไว้ก่อนเป็นดี ทำให้วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "โพลียูรีเทน" กันครับ

เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องกันเลยแล้วกันนะครับ วันนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของ "พวงมาลัยรถยนต์ ทำมาจากอะไร ? " หลายคนอยากทราบไหมครับ จริงๆแล้ว พวงมาลัยรถยนต์ ที่เราใช้กันนั้นแรกเริ่มเดิมทีในสมัยก่อนประมาณสัก 30 ปีที่แล้วมันทำมากจาก Hard Plastic ครับ ซึ่งมันแข็งแรงและทนทานมากๆ แต่ในปัจจุบัน ได้เลิกใช้งานไปแล้ว เพราะมีต้นทุนทางการผลิตที่สูงมาก

ปัจจุบันนั้น พวงมาลัยรถยนต์ ล้วนแล้วทำมาจากยางสังเคราะห์ทั้งสิ้น หรือเราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โพลียูรีเทน (PU) " ซึ่งมันคือ สารพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยชีวเคมีระหว่างการเชื่อมต่อของยูรีเทนและพอลิเมอร์ของโพลียูรีเทน โดยผลิตจากปฏิกิริยาของโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม สำหรับวัสดุที่โพลียูรีเทนเป็นส่วนประกอบนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะโดดเด่นของคุณสมบัติ อันได้แก่ ความเหนียว ความแข็งและความหนาแน่น โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบ ได้แก่


  • โฟมอ่อนความหนาแน่นต่ำ มักจะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเตียง
  • โฟมแข็งความหนาแน่นต่ำ มักจะนำมาใช้ทำเป็นฉนวนสำหรับรถยนต์
  • อีลาสโตเมอร์อ่อน มักจะนำมาใช้ในพวกแผ่นยางเป็นหลัก
  • พลาสติกแข็ง มักจะนำมาใช้ในการทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้การทำ PU นั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าต้องการนำไปใช้งานประเภทไหน ซึ่งส่วนผสมที่ใช้หรือสารเคมีที่ใส่ลงไป ย่อมแตกต่างกัน อย่างไรก็แล้วแต่ การใช้งานของ PU ยังมีข้อความระวัง โพลียูรีเทนติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก และเมื่อไหม้แล้วจะให้ความร้อน และควันหนาแน่นมาก ที่สำคัญคือให้ก๊าซพิษออกมาด้วยได้แก่ ไดออกซิน ไอโซไซยาไนด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และคาร์บอนไดออกไซด์

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับบทความนี้หากสิ่งนี้ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ
แนะนำ ติชม สามารถ comment ที่ด้านล่างนี้ได้เลยครับ 

Ref : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99

บทความที่ได้รับความนิยม