งานพิมพ์ 3 มิติ

งานพิมพ์ 3 มิติ (3D printing Design) เป็นหนึ่งในรูปแบบการพิมพ์ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในวงการผลิตชิ้นส่วน ต้นแบบ หรือ อะไหล่ ต่างๆ เพราะผลลัพธ์การพิมพ์ที่ได้มีความลึก ความกว้างและความยาว แตกต่างจากการพิมพ์แบบ 2D อย่างสิ้นเชิง จับต้องเป็นชิ้นเป็นอันได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้งานได้จริงอีกด้วย เรียกได้ว่าเห็นภาพชัดเจนกว่าการพิมพ์ทั่วไปเป็นไหน ๆ

โดยการพิมพ์ด้วยเครื่อง 3 มิติอาจมีการใช้วัสดุที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดการขึ้นรูป ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก เรซิ่น ผงพลาสติก หรือ ผงโลหะ หัวฉีดเครื่องพิมพ์จะเลื่อนขึ้น-ลงเพื่อหล่อเลเยอร์แต่ละชั้นจนเกิดเป็นรูปทรงที่จับต้องได้

งานพิมพ์ 3 มิติ คืออะไร

งานพิมพ์ 3 มิติ คืองานที่หมาะสำหรับการสร้างโมเดลเสมือนจริงก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ลัดขัดตอนการใช้แม่พิมพ์ ลดความยุ่งยากในกระบวนการเริ่มต้น และที่สำคัญ ช่วยให้เราสามารถเห็นจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง เราไปทำความรู้จักพร้อมกันเลยว่างานพิมพ์ 3 มิติสุดทันสมัยมีระบบใดบ้าง แล้วระบบไหนจะเหมาะกับงานของเรามากที่สุด

 

Print my Design บริการพิมพ์งาน 3 มิติ มีระบบใดบ้าง

งานพิมพ์ 3 มิติในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่

 

1. วัสดุพิมพ์พลาสติก (Fused Deposition Modeling : FDM)

การพิมพ์งาน 3 มิติแบบวัสดุพิมพ์พลาสติก (Fused Deposition Modeling) เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยจะใช้พลาสติกชนิดต่าง ๆ มาหลอมละลายให้หนืดเป็นเส้นและฉีดขึ้นรูปในแนวระนาบก่อนจะพิมพ์ซ้อนกันทีละชั้นด้วยหัวฉีดที่มีลักษณะคล้ายปืนกาว รูกว้างประมาณ 0.4 มิลลิเมตรและควบคุมการทำงานด้วยมอเตอร์

พิมพ์งาน 3 มิติด้วยระบบนี้มีข้อดีคือราคาเริ่มต้นไม่แพง โดยค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับฟังก์ชันและวัสดุที่ใช้พิมพ์ หาซื้อง่าย ไม่ยุ่งยากในการใช้งาน เลือกใช้วัสดุได้มากมายตามความต้องการ เมื่อพิมพ์แล้วสามารถนำมาขัดแต่งและใช้งานได้จริง เหมาะสำหรับงานศิลปะ โมเดล งานวิศวกรรมหรือชิ้นส่วนเครื่องจักร ส่วนข้อด้อยได้แก่ ผิวชิ้นงานจะสังเกตเห็นชั้น Layer ได้ และใช้ระยะเวลาในการพิมพ์นานกว่าการพิมพ์งาน 3 มิติรูปแบบอื่น

 

2. วัสดุพิมพ์ชนิดน้ำยาเรซิ่น (Stereolithography : SLA)

การพิมพ์งาน 3 มิติแบบวัสดุพิมพ์ชนิดน้ำยาเรซิ่น (Stereolithography) หรือระบบเรซิ่น เป็นการพิมพ์โดยมีการยิงแสงเลเซอร์ UV ใส่ถาดให้เรซิ่นแข็งตัวเฉพาะจุด เมื่อได้ฐานแล้ว เครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบนี้จะค่อย ๆ ฉายจนขึ้นเป็นรูปร่างทีละชั้น

ข้อดีคือสามารถพิมพ์งาน 3 มิติขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูงได้ พิมพ์ด้วยความเร็วที่สูงกว่าระบบวัสดุพิมพ์พลาสติก เหมาะกับธุรกิจประเภทเครื่องประดับหรืออะไหล่ขนาดเล็กในเครื่องจักร ส่วนข้อเสียได้แก่ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการใช้พลาสติก ยุ่งยากในการใช้งานเนื่องจากวัสดุที่ใช้เป็นของเหลว ยากต่อการควบคุม และมีข้อจำกัดด้านขนาดของงานพิมพ์

 

3. วัสดุพิมพ์ชนิดผง (Selective Laser Sintering : SLS)

การพิมพ์งาน 3 มิติแบบ Selective Laser Sintering เป็นการพิมพ์ด้วยการยิงเลเซอร์ความเข้มข้นสูงไปยังผงวัสดุอย่างผงพอลิเมอร์ ผงพลาสติก ประเภท ไนลอน เมื่อได้ส่วนฐานแล้ว เครื่องพิมพ์จะเกลี่ยผงให้เป็นรูปทรงและยิ่งเลเซอร์ต่อขึ้นเป็นเลเยอร์จนสมบูรณ์

การพิมพ์งาน 3 มิติด้วยวัสดุพิมพ์ชนิดผงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง คงทน และพิมพ์ปริมาณมากได้ในครั้งเดียว แต่ข้อด้อยคือเครื่องพิมพ์มีราคาสูง ต้องควบคุมโดยผู้ชำนาญการ และเครื่องมีขนาดใหญ่ กินพื้นที่

ปัจจุบันที่งานพิมพ์ 3 มิติกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นและมีบทบาทอยู่ในวงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หากคุณกำลังสนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมงานพิมพ์ 3 มิติด้วยระบบไหน ก็อย่าลืมติดต่อ ปรินต์มายดีไซน์ บริการพิมพ์งาน 3 มิติครบวงจร มีให้เลือกทุกวัสดุการพิมพ์ ทุกเทคโนโลยี และไม่มีขั้นต่ำในการผลิต ได้งานพิมพ์ 3 มิติ คุณภาพดี ตรงใจแน่นอน

 

4. วัสดุพิมพ์ชนิดผงโลหะ DMLS (Direct Metal Laser Sintering) และ SLM (Selective Laser Melting)

การพิมพ์งาน 3 มิติแบบ DMLS และ SLM เป็นการให้ความร้อนเพื่อให้ผงวัสดุโลหะนั้นเชื่อมติดกัน

ดังนั้น การพิมพ์งาน 3 มิติ แบบ DMLS และ SLM สามารถ พิมพ์งาน วัสดุโลหะ ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น CNC ไม่สามารถผลิตชิ้นงานได้ ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นงาน Mold & Die ที่มีช่องน้ำหล่อเย็น ที่ดัดโค้งไปตามพื้นผิว ซึ่ง การผลิตแบบ CNC ไม่สามารถ เจาะรู โค้งได้ และยังรวมทั้งชิ้นงาน ทางด้านการแพทย์ ที่ต้องการให้เนื้อในโลหะ มีรูพรุน คล้ายโครงสร้างกระดูก เพื่อลดน้ำหนัก และ ยังช่วยเพิ่มผิวสัมพัส ให้ เนื้อเยื่อ เส้นเลือดต่าง ๆ สามารถ เจริญเติบโต แทรกประสานไปกับชิ้นงานได้