ข้อมูล การประกอบธุรกิจร้านหนังสือเช่าเบื้องต้น

ข้อมูลการประกอบธุรกิจร้านหนังสือเช่า เบื้องต้น

 https://i0.wp.com/3.bp.blogspot.com/_JyfeTnyALKA/TAX_28s4-pI/AAAAAAAAAAU/Rl4o5M2KYzs/s1600/A674790.jpg

1. ศักยภาพของผู้ประกอบการร้านหนังสือเช่า

ผู้ประกอบการที่สนใจและกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจร้านเช่า หนังสือ ไม่ใช่ว่ามีเงินทุนพร้อมเพียงอย่างเดียว ก็จะสามารถเปิดร้านได้ แต่ต้องอาศัยคุณสมบัติเฉพาะตัวดังต่อไปนี้

รักการอ่าน เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือประเภทต่างๆ

 

มี เงินทุนเป็นของตนเอง เนื่องจากการทำร้านในช่วงต้น ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ถ้าผู้ที่สนใจทำธุรกิจนี้ มีพร้อมด้านนี้อยู่แล้ว ก็สามารถดำเนินการขั้นต่อ ๆ ไปได้ไม่ติดขัด ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงจุดนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเปิดร้าน

 

มี ทำเลที่ตั้ง ควรอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะหากมีสถานที่เป็นของตนเองแล้ว ผู้ประกอบการจะสามารถทุ่นงบประมาณลงไปได้มาก

 

มี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นกันเองต่อลูกค้า ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นคนระดับใดก็ตาม ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเท่ากันหมด

 

ให้ บริการที่ดี ละเอียดรอบคอบ ผู้ประกอบการควรบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แนะนำหนังสือใหม่ให้ลูกค้า คิดเงิน ถอนเงินถูกต้อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะดึงดูดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการที่ร้านอย่างต่อเนื่อง  

 

2. การติดต่อหน่วยงานราชการ

ขั้น ตอนการขอจดทะเบียนร้านค้า

ผู้ที่คิดจะทำร้านเช่าหนังสือเพียงอย่างเดียว อาจไม่จำเป็นต้องยื่นขอจดทะเบียนกับกรมทะเบียนการค้า เว้นแต่ร้านที่ขายสินค้าอื่นด้วย ในลักษณะซื้อมา-ขายไป เช่น ขายขนม สินค้ากิ๊ฟชอป ลักษณะนี้ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการจดทะเบียนการค้ากับกรมทะเบียนการค้า แต่ปัจจุบันธุรกิจที่ให้บริการลักษณะนี้มักจดทะเบียนไว้ เนื่องจากมีการประกอบธุรกิจเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วย

เอกสาร ที่ต้องเตรียมกรณีนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกิจการที่มีเจ้าของคนเดียว

บัตรประชาชน

สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน 1 ฉบับ

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินการได้รับ ทะเบียนพาณิชย์ ภายในวันเดียวกัน

กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์

การ จดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบ กิจการ

 

สถาน ที่ยื่นขอจดทะเบียนการค้า ยื่นในพื้นที่ที่เปิดร้าน

กรุงเทพ มหานคร สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า หรือโทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2547-5050 (กรมทะเบียนการค้า อ.เมือง จ.นนทบุรี)

ต่าง จังหวัด ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด

ขั้นตอนดำเนินการเกี่ยวกับภาษี

ขอ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ในเขตกรุงเทพฯ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอได้ที่สรรพากรเขตที่มีภูมิลำเนาอยู่ หรือที่ตั้งร้าน ส่วนต่างจังหวัด ผู้ประกอบการสามารถขอได้ที่สรรพากรอำเภอหรือสรรพากรจังหวัดนั้น ๆ แต่หากมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอยู่ก่อนแล้ว สามารถนำมาใช้ได้เลย

เอกสารที่ต้องเตรียมในการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

1. สำเนาทะเบียนบ้าน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ

ติดต่อเจ้าหน้า เพื่อขอแบบ ลป.10 กรอกความประสงค์ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่

ยื่นแบบฟอร์มและหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง และรอรับบัตรได้ในวันเดียวกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

 

การยื่นชำระภาษี

ผู้ที่จะต้องยื่นชำระภาษี คือผู้ที่มีรายได้ต่อปีภาษี (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31ธันวาคม) รวมกันเกิน 60,000 บาท ต้องยื่นแบบชำระภาษีประจำปี ภ.ง.ด. 90(5) ภาย ในเดือนมีนาคม (1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม) ของปีถัดไป นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครึ่งปี ภ.ง.ด. 94 โดยคำนวณจากเงินได้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน ภายในเดือนกันยายน (กรกฎาคม ถึง กันยายน) ของทุกปีภาษี สถานที่สำหรับชำระภาษี คือ ในเขตกรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่สรรพากรเขต หรือสรรพากรเขตสาขา ต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สรรพกรจังหวัด สรรพากรอำเภอ หรือสรรพากรอำเภอสาขา สำหรับร้านที่เปิดทำการแล้ว แต่ยังไม่มีการชำระภาษีมาก่อน สามารถติดต่อทำให้ถูกต้องได้ที่กรมสรรพากร เช่นกัน

 

การ ชำระภาษีป้าย

เอกสารที่ต้องเตรียม

บัตรประจำตัวประชาชน

สำเนาทะเบียนบ้าน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ

ทะเบียนพาณิชย์

แบบแปลน ,ขนาดของป้าย ( ถ้ามี )

ใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

สถาน ที่ยื่นดำเนินการเกี่ยวกับภาษี

 

กรุงเทพมหานคร ยื่น ณ สำนักงานเขตสรรพากร ต่างจังหวัด ยื่น ณ สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการ อ.บ.ต.

วิธีดำเนินการ เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วันหลังติดตั้งป้าย จากนั้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจขนาดป้าย และดูแบบอักษร พร้อมคำนวณภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถมาชำระเงินด้วยตัวเองได้ที่กองการเงิน กระทรวงการคลัง หรือส่งทางไปรษณีย์ในรูปของธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน หรือเช็ค ภายใน 15 วันหลังจากเจ้าหน้าที่ได้มาตรวจป้าย การชำระเงินจะชำระเป็นรายปี คือตั้งแต่เดือนมกราคมแต่ไม่เกินมีนาคมของทุกปี

3. ภาพรวมการตลาด

3.1 ตลาดร้านเช่าหนังสือ

ในปัจจุบันตลาดร้านเช่าหนังสือ ยังเปิดกว้างรองรับการลงทุนได้อีก สังเกตได้จากการเปิดร้านตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่เคยซื้อหนังสืออ่านเอง หันมาใช้บริการธุรกิจประเภทนี้กันมากขึ้นเพราะประหยัดกว่า นี้จึงเป็นหนทางที่ทำให้ธุรกิจประเภทนี้เติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจร้านเช่าหนังสือให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเพียงใด จะขึ้นอยู่กับทำเลเฉพาะย่านเป็นส่วนสำคัญ

3.2 พฤติกรรมลูกค้า ลูกค้าร้านเช่าหนังสือมีเกือบทุกเพศทุกวัย สิ่งที่เราต้องทำ คือสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในย่านนั้นๆก่อนว่ามีคนกลุ่มใด วัยใดมากที่สุด และความชอบแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร อาทิ เด็กและวัยรุ่นจะชอบการ์ตูน ส่วนวัยทำงานและแม่บ้านจะเน้นแนวนิตยสาร นวนิยาย เป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

สำหรับ วิธีสังเกตว่า ลูกค้าจะเป็นคนกลุ่มใด เราอาจจะดูจากลักษณะย่านนั้น ๆ เช่น อยู่ใกล้โรงเรียนประถมหรือมัธยม กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นเด็ก และวัยรุ่น เป็นต้น รวมถึงเราอาจสังเกตได้จากคนสัญจรไปมาบริเวณที่ตั้งร้านว่า มีจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นคนกลุ่มใด วัยใดบ้าง

3.3 ธุรกิจหลักธุรกิจเสริม

สำหรับกิจการเช่าหนังสือเป็นธุรกิจหลักที่ทำในร้าน แต่หากผู้ประกอบการต้องการมีรายได้เสริม สิ่งที่สามารถทำในร้านเช่าหนังสือได้ คือ

เปิดซุ้มขายของขบเคี้ยว จำพวกขนม และผลไม้แปรรูปต่างๆ

เปิดซุ้มขายกิ๊ปช็อป

บางร้านที่นำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ อาจรับพิมพ์งานควบคู่ไปด้วย

ขายหนังสือมือสองให้นักสะสม

การ เพิ่มบริการเสริมเพื่อสร้างรายได้ ผู้ประกอบการควรคำนึงด้วยว่า ของที่จะขายภายในร้านควรเป็นของแห้ง เพื่อป้องกันการหกเลอะหนังสือ สิ่งสำคัญคือ เมื่อตัดสินใจทำธุรกิจเสริมแล้ว ผู้ประกอบการต้องสามารถควบคุมดูแลกิจการทั้งสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3.4 ส่วนผสมทางการตลาด

3.4.1 รู้จักหนังสือ หนังสือหลักที่นำมาจัดวางไว้ให้บริการในร้าน จะเป็นหนังสือการ์ตูน นวนิยาย พ๊อคเก็ตบุ๊ค นิตยสาร หนังสือแต่ละประเภทมีรายละเอียดแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ

หนังสือการ์ตูน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การ์ตูนผู้หญิง และการ์ตูนผู้ชาย

 

การ์ตูนผู้หญิง มีเนื้อเรื่องในแนวกุ๊กกิ๊ก ตัวการ์ตูนสวย มีทั้งแบบเล่มเดียวจบ และเป็นชุด การเลือกซื้อควรดูที่ความคมชัดของลายเส้นตัวการ์ตูน ดูแล้วน่าอ่าน

การ์ตูน ผู้ชาย จะเป็นแนวต่อสู้ บู้ล้างผลาญ สืบสวนสอบสวน โดยมากเป็นการ์ตูนชุดหลายเล่มจบ รวมถึงการ์ตูนเด็ก เช่น โดเรมอน ชินจัง เป็นต้น

อัตราส่วนการจัดซื้อหนังสือการ์ตูนเข้ามาในร้าน ควรมีไว้อย่างละครึ่ง หรือแล้วแต่ว่าลูกค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่ชอบอ่านประเภทใด ให้ประเมินแล้วนำมาเพิ่มหรือลดสัดส่วนตามความต้องการในภายหลัง

นวนิยาย มีราคาตั้งแต่สิบกว่าบาท ที่เรียกกันว่า นิยายฝันหวาน จนถึงหลักร้อย มีทั้ง นวนิยายไทย และงานแปล (จีน-ฝรั่ง) การเลือกซื้อ ควรเลือกเฉพาะเรื่องที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น เรื่องกำลังจะถูกสร้างเป็นละคร หรือผู้แต่งที่นามปากกาดัง ๆ เป็นที่รู้จัก

พ็อกเก็ตบุค หนังสือประเภทเรื่องสั้น หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ควรเลือกเรื่องตามกระแสความนิยม เน้นที่ชื่อเสียงผู้แต่ง และเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า

นิตยสาร เจ้าของร้านเช่าหนังสือควรเลือกนิตยสารที่กำลังได้รับความนิยม แต่มีเนื้อหาแตกต่างกันไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า

เมื่อ เปิดร้านแล้ว เจ้าของร้านคอยสำรวจว่าหนังสือเล่มใดได้รับความสนใจอย่างไร แล้วจึงเลือกจัดซื้อเพิ่มเติม หรือเลิกซื้อเล่มที่ไม่เป็นที่นิยมในภายหลัง การออกวางจำหน่ายของนิตยสาร มีทั้งที่เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน อย่างไรก็ตาม วิธีการเลือกนิตยสารจะเหมือนกับหนังสืออื่นๆ คือ เลือกหนังสือที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คนนิยมอ่าน

หนังสือเรื่องย่อของละครหลังข่าว ควรเน้นเรื่องที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

วิธีสำรวจความนิยมของหนังสือแต่ละ ประเภท

สำรวจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีการจัดอันดับหนังสือ หรือบทวิจารณ์หนังสือ

สำรวจตามสื่อต่าง ๆ เช่น นิตยสาร สัมภาษณ์ดาราขวัญใจวัยรุ่น เกี่ยวกับหนังสือที่ชอบ

สอบ ถามลูกค้า เกี่ยวกับหนังสือที่ต้องการ แล้วพิจารณาเลือกหนังสือที่มีลูกค้าสนใจมากที่สุด

จาก สถิติการยืมหนังสือของลูกค้าในร้าน

รายการหนังสือ และเวลาการออกของหนังสือ เช่น การ์ตูนจะมีเรื่องใหม่ ๆ ออกวางขายทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ผู้ประกอบการควรทราบ และซื้อหนังสือเพิ่มเติมเข้าร้านอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหนังสือชุดที่มีเล่มต่อ เจ้าของร้านต้องหาซื้อเข้ามาไว้ให้ครบ

 

3.4.2. ค่าบริการ ผู้เปิดกิจการไม่ควรตั้งอัตราค่าบริการไว้สูงมากนัก จนทำให้ลูกค้าคิดว่า ควรซื้อหามาอ่านเองดีกว่า โดยทั่วไป วิธีคิดค่าบริการมีอยู่ 3 แบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของหนังสือนั้น ๆ มีรายละเอียด ดังนี้

การคิด 10% จากราคาหน้าปก ใช้กับหนังสือการ์ตูนเป็นส่วนใหญ่ เช่นหน้าปกราคาเล่มละ 40 บาท คิดราคา 4 บาท (หากมีเศษ ให้ปัดขึ้นหรือปัดทิ้ง)

การตั้งราคาเดียว ใช้กับหนังสือที่มีราคาสูง เช่น นวนิยาย พ็อคเก็ตบุ๊ค และนิตยสารบางประเภท โดยกำหนดอัตราค่ายืมไว้คงที่ เช่น 5 บาท 6 บาท เป็นต้น สำหรับนิตยสารอาจคิดค่าเช่าได้ 2 อัตรา คือ ราคาเล่มใหม่ กับราคาเล่มเก่า โดยเล่มใหม่คิดสูงกว่าเล่มเก่า (เล่มเก่าซื้อมาแล้ว 2 เดือน หรือเมื่อมีเล่มใหม่ออกมาแล้ว) เช่น ตั้งราคาเล่มใหม่ 8 บาทต่อวัน เล่มเก่าเหลือ 5 บาท เป็นต้น

 

การคิดราคาแบบกำหนดเป็นช่วง จะใช้กับหนังสือการ์ตูนเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ราคา ไม่เกิน 15 บาท คิดค่าบริการ 1 บาท

16 – 25 บาท คิดค่าบริการ 2 บาท

26 – 35 บาท คิดค่าบริการ 3 บาท

36 – 45 บาท คิดค่าบริการ 4 บาท

66 บาทขึ้นไป คิดค่าบริการ 7 บาท เป็นต้น

 

วิธี ตั้งราคาเช่าหนังสือนั้น ผู้ประกอบการอาจคำณวนจากระยะเวลาการคืนทุนของหนังสือแต่ละประเภท เช่น การ์ตูนถือได้ว่าเป็นตัวหลักที่ทำรายได้เข้าสู่ร้าน การคืนทุนจะเร็วกว่าหนังสือประเภทอื่น การ์ตูนเล่มหนึ่งราคา 35 บาท ตั้งราคาค่าเช่า 3 บาทต่อวัน ยืมไป 14 ครั้งหรือ 14 วัน เราก็คืนทุนได้แล้ว และการ์ตูนเล่มนั้นยังไม่มีล้าสมัย หากมีเนื้อหาที่สนุก ต่างไปจากหนังสือนวนิยาย นิตยสาร และพ็อกเก็ตบุ๊ค ที่มีราคาแพง ทำให้การคืนทุนนาน โดยเฉพาะในส่วนของนิตยสารนั้น อายุความทันสมัยจะสั้น เช่น นิตยสารรายปักษ์ ราคาเล่มละ 80 บาท ตั้งราคาค่าเช่าเล่มละ 6 บาทต่อวัน ต้องมีการยืม 14 ครั้ง (หมายถึงการยืมภายใน 1 ปักษ์ก่อนที่เล่มใหม่จะออกมา) จึงจะคืนทุน

สำหรับการตั้งราคาหนังสือแต่ละประเภทในร้าน จะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือผสมกันไปตามความเหมาะสมก็ได้

 

3.4.2 ทำเลที่ตั้ง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกก่อนตั้งร้าน เนื่องจากถ้าได้ทำเลที่ดี กิจการก็จะไปได้ด้วยดี ดังนั้น ผู้ประกอบการควรหาทำเลที่เหมาะสม อยู่ในที่ชุมชน เช่น ตลาด สถานศึกษา อาคารที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน ศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ สิ่งที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือถ้าผู้ประกอบการมีสถานที่เอง และเหมาะสมกับการเปิดร้านเช่าหนังสือ ผู้ลงทุนก็สามารถดำเนินการได้ทันที แต่ถ้าต้องเช่าสถานที่ ผู้ลงทุนควรดูเรื่องของค่าเช่าและสัญญาเช่า ว่าเหมาะสมกับการลงทุนหรือไม่ รวมถึงผู้ลงทุนควรหาข้อมูลด้วยว่า ในย่านนั้น มีร้านเช่าหนังสือเปิดอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากมี จะสามารถแข่งขันกับเขาได้อย่างไร และมีจำนวนลูกค้าเพียงพอให้เราแทรกพื้นที่ในตลาดได้อีกหรือไม่

 

3.4.3 การส่งเสริมการขาย หรือการดึงดูดใจให้ลูกค้ามาใช้บริการ ส่วนแรกคือการตกแต่งร้าน ถึงแม้จะขึ้นกับงบประมาณและแนวคิดในการออกแบบของผู้ประกอบการ แต่หลัก ๆ แล้วผู้ประกอบการควรจัดสถานที่ให้โล่ง ไม่เบียดกันเกินไป เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และภายในร้านต้องมีแสงสว่าง สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ขอให้คุณภาพดี ทนทานก็เพียงพอ ทั้งนี้ การตกแต่งร้าน ส่วนใหญ่ชั้นวางหนังสือ จะวางเรียงตามแนวผนังเป็นหลัก เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้ร้านแลดูโล่ง และเป็นระเบียบ โดยบางร้านอาจตั้งของตกแต่งไว้คั่นสายตาด้วยก็ได้

สำหรับ กิจกรรมที่ควรจัดเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายหรือจูงใจลูกค้า ได้แก่

การแจกใบปลิวแนะนำร้าน ตามย่านที่ร้านตั้งอยู่

การสร้างสิ่งจูงใจให้ลูกค้ามาสมัครสมาชิก บางที่มีการแข่งขันสูงอาจใช้วิธีให้สมัครสมาชิกฟรี หรือจัดโปรโมชั่นในวันเปิดร้าน เช่น สมัครสมาชิกวันนี้ อ่านหนังสือฟรี 3 เล่ม (ขึ้นกับนโยบายของร้าน) หรือให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ

การจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี เช่นการสะสมแต้ม, จัด ประกวดวิจารณ์การ์ตูน,ให้ของขวัญวันเกิดแก่สมาชิก

 

การทำสถิติหนังสือยอดนิยมของร้าน เพื่อให้ลูกค้าสนใจหนังสือเล่มอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น

การจัดกิจกรรมสมาชิกเก่าแนะนำสมาชิกใหม่ โดยมีของขวัญให้ ทั้งผู้แนะนำ และผู้สมัครใหม่ ส่วนใหญ่ใช้เมื่อยอดสมาชิกยังเพิ่มขึ้นไม่มาก

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดเพียงเท่านี้ ขึ้นอยู่กับแนวความคิดของผู้ประกอบการแต่ละราย ที่จะพลิกแพลงสร้างสิ่งจูงใจใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า

จุดขายอีกอย่างที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจคือ การหาหนังสือใหม่ ๆ ให้ทันตามกระแสความนิยมในขณะนั้นเข้าร้าน เช่น การ์ตูนออกใหม่ การ์ตูนเล่มต่อหนังสือที่มาแรง อาทิหนังสือที่ได้รับรางวัล หรือผู้แต่งที่เป็นดารา นวนิยายที่กำลังจะถูกสร้างเป็นละคร หนังสือเหล่านี้ต้องหาซื้อเข้ามาไว้ก่อน เพราะถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของร้านเช่าหนังสือ ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องติดตามข่าวสารและทราบตารางการออกของหนังสือ

 

3.5 สภาพการแข่งขันในตลาด ในภาพรวม ร้านเช่าหนังสือไม่ค่อยมีการแข่งขันด้านราคามากนัก แต่สภาพการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับย่านนั้น ๆ ว่ามีคู่แข่งหรือไม่ โดยมากลูกค้าจะยึดกับร้านที่ตนเองเป็นสมาชิกยกเว้นร้านอื่นมีการบริการที่ดี กว่า จึงจะเปลี่ยนไปใช้บริการ  

 

4. การผลิต

ร้าน เช่าหนังสือจัดเป็นงานบริการด้านหนึ่ง การผลิตจึงเน้นไปในเรื่องการจัดซื้อหนังสือเข้าร้าน การประหยัดค่าใช้จ่าย การนำเทคโนโลยีมาใช้ และการจัดหาพนักงาน ดังนี้

 

4.1 การซื้อหนังสือเข้าร้าน แยกเป็น 2 กรณี คือ การซื้อหนังสือเมื่อเริ่มต้นเปิดร้านใหม่ และหนังสือใหม่ที่ซื้อหลังจากเปิดร้านแล้ว

เลือกซื้อหนังสือเมื่อเปิดร้านใหม่ ต้องดูว่าร้านมีขนาดเท่าไร ถ้าเป็นร้านขนาดประมาณ 15 ตารางเมตร ควรมีหนังสือในร้านอย่างน้อยประมาณ 2,000 เล่ม ถ้าร้านขนาดกลาง คือประมาณ 20 ตารางเมตร ควรมีหนังสือประมาณ 3,000 เล่มเป็นอย่างน้อย เพื่อไม่ให้ร้านโล่งจนเกินไป สำหรับการซื้อหนังสือเข้าร้าน ต้องดูว่ากลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นใคร เช่น เด็ก ควรเน้นการ์ตูนเป็นหลัก และมีหนังสืออื่น ๆ ในสัดส่วนลดหลั่นกันไป หรือจะกำหนดไว้เลยว่าการ์ตูน, นวนิยาย, นิตยสาร และพ๊อกเก็ตบุ๊คอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ ก็ได้เช่นกัน ในกรณีการเลือกซื้อหนังสือเข้าร้าน หากผู้ประกอบการไม่รู้จะเลือกอย่างไร ปัจจุบันมีร้านขายหนังสือที่รับจัดหนังสือเป็นชุดไว้บริการ เช่น  ร้าน Book Off Service โดยบอกว่าต้องการเปิดร้านเช่าหนังสือ ทางร้านก็จะจัดหนังสือให้ เพียงแต่เรากำหนดวงเงินให้ สำหรับวงเงินขั้นต่ำที่ใช้ซื้อหนังสือจะประมาณ 50,000 บาท แต่หากเป็นร้านใหญ่ ๆ บางแห่ง อาจใช้เงินซื้อหนังสือสูงถึง 400,000 บาท แต่หากผู้ประกอบการไม่กำหนดว่า ต้องเป็นหนังสือใหม่อย่างเดียว ก็จะมีรวมกันไปทั้งหนังสือเก่าและหนังสือใหม่ หนังสือเก่าในที่นี้คือออกมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป หรือหนังสือมือสองที่ซื้อต่อจากพ่อค้า และผู้สะสมหนังสือต่าง ๆ การซื้อหนังสือเหล่านี้จะลดราคาได้ประมาณ 50 – 70% จากปก ทั้งนี้หากผู้ประกอบการมีหนังสือของตนเองที่เก็บสะสมไว้ หรือรวบรวมจากคนรู้จัก เข้ามาไว้ในร้านด้วย จะช่วยลดต้นทุนได้มากทีเดียว

 

การซื้อเพิ่มเติมเข้ามาในร้านเมื่อเปิดร้านไปแล้ว ผู้ประกอบการต้องสังเกตหรือดูสถิติว่า หนังสือประเภทใดเป็นที่นิยม ก็จัดหาประเภทนั้นๆ มาเพิ่มเติม

ซื้อจากร้านขายหนังสือทั่วไป – สั่งซื้อจากสำนักพิมพ์โดยตรง

การเลือกซื้อหนังสือขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่าจะสะดวก วิธีใด แต่ถ้าต้องการประหยัดด้วยการนำหนังสือมือสองมาให้บริการ ก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องดูเรื่องที่นิยม และลักษณะของหนังสือว่า อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่เก่าหรือ ขาด ทั้งนี้ หากเป็นการ์ตูนชุดต้องมีครบชุด สำหรับการจ่ายเงินนั้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเงินสด ไม่มีระบบเงินผ่อน

 

4.2 การประหยัดค่าใช้จ่ายในร้าน ผู้ประกอบการควรทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในร้านที่ทำได้ เพื่อช่วยลดต้นทุน เช่น การเย็บสัน วิธีการคือใช้ลวดเย็บกระดาษ (แม็ค) เย็บ 1 ที่ กลางเล่ม (หรือ 2 ที่ หัวท้ายเล่ม) หรือเจาะรูแล้วร้อยเชือก จากนั้นห่อปกด้วยพลาสติก ให้คงสภาพไม่ขาดง่าย เป็นการยืดอายุการใช้งานของหนังสือ นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรรู้วิธีการซ่อมแซมหนังสือที่ขาดหรือชำรุดด้วย

การ จำหน่ายหนังสือเก่าออกจากร้าน ผู้ประกอบการควรทำเมื่อเปิดร้านมาได้ระยะหนึ่ง และพบว่าหนังสือเล่มนั้น ๆ ไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้าเท่าที่ควร ผู้ประกอบการสามารถนำไปขายต่อให้กับร้านขายหนังสือมือสอง (ส่วนใหญ่เขาจะรับซื้อหนังสือเก่าด้วย) ถ้าเป็นหนังสือมีลิขสิทธิ์ (ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือการ์ตูนมีปก 2 ชั้น) จะขายคืนได้ 30% ของราคาหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (การ์ตูน ที่มีปกชั้นเดียว) ผู้ประกอบการอาจขายไม่ได้เลย หรือขายในราคาถูก เช่น ชั่งกิโลขาย

 

4.3 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ วิธีนี้จะช่วยให้เกิดความถูกต้องรวดเร็วในการให้บริการ และการคำนวณยอดเงิน นอกจากนี้ยังช่วยตรวจเช็คสต็อกว่ามีหนังสือเล่มใดอยู่หรือถูกยืมไปแล้ว จำนวนหนังสือมีทั้งหมดเท่าใด รายชื่อ รวมถึงราคาค่าเช่า กำหนดการของการซื้อหนังสือ และอื่น ๆ ทั้งหมดนี้จะแสดงให้เห็นผ่านจอมอนิเตอร์ สำหรับการควบคุมหนังสือด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีทั้งใช้ควบคุมด้วยบาร์โค๊ด (รหัสแท่ง) หรือใช้รหัสธรรมดา

 

4.4 การบำรุงรักษา หนังสือทุกเล่มควรมีการเย็บเล่ม ห่อปก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน ให้มีสภาพใหม่อยู่เสมอ และเมื่อลูกค้านำหนังสือมาคืน ควรเช็ดทำความสะอาดก่อนนำขึ้นชั้น รวมถึงปัดกวาดตามชั้นหนังสือไม่ให้มีฝุ่นเกาะ หากเจอหนังสือที่ชำรุด ก็ควรเก็บซ่อมแซมก่อนนำมาให้บริการลูกค้ารายต่อไป

 

4.5 การจ้างพนักงาน ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน แต่ส่วนใหญ่เจ้าของร้านจะดูแลเองทั้งหมด โดยเฉพาะร้านขนาดเล็ก มีผู้ดูแลร้าน 1 คน ก็สามารถดูแลได้ทั่วถึง การจ้างพนักงานจะเป็นในกรณีที่เจ้าของไม่มีเวลามาดูแลเอง หรือเปิดหลายสาขา หรือทำเป็นอาชีพเสริม สำหรับร้านขนาดใหญ่ พนักงานควรจะมี 2-3 คน เพื่อช่วยกันดูแลร้าน เมื่อมีลูกค้าเข้าร้านจำนวนมาก การจ้างอาจจะจ้างเป็นรายวัน หรือจ้างในบางช่วงเวลา (Part time) หรือรายเดือนก็ได้ โดยใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ แล้วแต่การตกลงกัน แต่สิ่งที่ใช้ในการพิจารณาเลือกพนักงาน คือเลือกคนที่มีความรู้เรื่องหนังสือ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี พูดเก่ง หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส และสามารถแนะนำลูกค้าได้

 

 

5. การบริหาร

การบริหาร คือการจัดการระบบการควบคุมดูแลร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านเล็ก หรือร้านใหญ่ หากผู้ประกอบ การ มีการจัดการที่ดีภายในร้านแล้ว จะช่วยให้ตรวจสอบได้ง่าย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรจัดให้พนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน แต่ควรทำทุกอย่างในร้านได้เท่ากัน สามารถทำงานแทนกันได้ สิ่งที่ควรฝึกให้พนักงานในร้านมีคือ การเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ดี แนะนำหนังสือต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้ มีทักษะการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

 

5.1 การจัดระบบหนังสือในร้าน

ผู้ประกอบการควรเน้นการแยกหมวดหมู่แต่ละประเภทให้ชัดเจน หาง่าย ไม่รกจนดูไม่น่าเข้าไปเลือกหา

การจัดวางหนังสือการ์ตูน แยกเป็นการ์ตูนผู้หญิง และการ์ตูนผู้ชายไว้อย่างละตู้หรือชั้น โดยใช้วิธีจัดวาง ดังนี้

การ์ตูนผู้หญิง จัดวางโดยแยกตามสำนักพิมพ์ หรือละเอียดลงไปถึงผู้แต่ง เนื่องจากลูกค้าบางคนจะเลือกอ่านเฉพาะผู้แต่ง หรือสำนักพิมพ์เท่านั้น

การ์ตูนผู้ชาย จัดวางโดยแยกตามสำนักพิมพ์ หรือแยกตามแนวเนื้อเรื่อง เช่น การ์ตูนแนวต่อสู้, กำลังภายใน, บู้ล้างผลาญ, กีฬา, สืบสวนสอบสวน, การ์ตูนเด็ก เป็นต้น

นิตยสาร พ๊อกเก็ตบุ๊ค นวนิยาย ควรจัดแยกกัน โดยใช้ชั้นแบบเดียวกับร้านขายหนังสือ เพื่อความสะดวกในการหาของผู้อ่าน แต่หากหนังสือมีมาก ผู้ประกอบการควรจัดวางไว้ในชั้นตามความเก่าใหม่

จัดให้มีชั้นแนะนำหนังสือใหม่ในสัปดาห์นั้น ๆ และมีกระดานเขียนบอกรายละเอียดรายการหนังสือเล่มใหม่ว่ามีอะไรบ้าง เข้ามาวันไหนอย่างไร

มีป้ายบอกราคา ค่าบริการของหนังสือแต่ละประเภท

 

5.2.รูปแบบการให้บริการ ส่วนมากการให้บริการมี 3 รูปแบบ คือ

การให้สมัครระบบสมาชิก ฉะนั้น เฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บริการได้

ข้อ ดี คือเราได้ลูกค้าประจำ และทราบข้อมูลของลูกค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแจ้งข่าวสาร อีกทั้งระบบสมาชิกยังเป็นการป้องกันหนังสือหาย เนื่องจากเราสามารถติดตามลูกค้าได้ กรณีที่ลูกค้ายังไม่คืนหนังสือเมื่อครบกำหนด

ข้อ เสีย คือบางครั้งระบบนี้จะทำให้จำกัดลูกค้าเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากต้องเสียค่าสมาชิก

การเก็บค่าสมัคร ราคาของแต่ละทำเล กำหนดแตกต่างกันไป เช่น ทำเลนั้นมีเด็กนักเรียนมาก ทางร้านอาจเก็บค่าสมัครสมาชิกแบ่งเป็น 2 ราคา คือราคานักเรียน และราคาผู้ใหญ่ อาทิ ราคานักเรียน 35 บาทต่อคน ผู้ใหญ่เก็บ 50 บาทต่อคน เป็นต้น สำหรับอายุการเป็นสมาชิก อาจกำหนดว่ากี่ปี เช่น 1 ปี หรือ 2 ปี หรือจ่ายค่าสมัครสมาชิกเพียง 3 ปีแรก หลังจากนั้นได้เป็นสมาชิกตลอดไป ไม่ต้องจ่ายเงินอีกก็ได้

การสมัครสมาชิก แบบที่ไม่ต้องเสียค่าสมัครแต่สามารถยืมได้ โดยใช้บัตรประชาชน หรือใบขับขี่วางไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ ดี คือได้ทั้งลูกค้าประจำและลูกค้าขาจร

ข้อเสีย เกิดความยุ่งยาก หากจัดการไม่ดี

 

การวางเงินมัดจำ เท่ากับราคาหนังสือที่เช่า เมื่อลูกค้านำหนังสือกลับมา ผู้ประกอบการก็คืนค่ามัดจำให้ ส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้กับลูกค้าที่ไม่เป็นสมาชิก

(ถ้าใช้ระบบริหารร้านหนังสือเช่าจะช่วยลดขั้นตอนนี้ได้)

ข้อ ดี ไม่ต้องกังวลเรื่องหนังสือหาย

ข้อเสีย วิธีนี้จะยุ่งยากเรื่องการเก็บเงินและคืนเงิน อีกทั้งยังเป็นการจำกัดจำนวนลูกค้าเพราะก่อนจะยืมหนังสือได้นั้น ลูกค้าต้องวางเงินมัดจำ ดังนั้นหากยืมหลายเล่มก็ต้องเสียเงินมัดจำมากยิ่งขึ้น

 

5.3.วิธีตั้งหมายเลขสมาชิก ผู้ประกอบการอาจใช้ระบบตัวเลขเรียงลำดับก่อนหลังของการมาสมัคร โดยกำหนดเป็นเลข 3 หลัก 4 หลัก หรือ 5 หลัก ตามจำนวนที่คาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับจำนวนลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น

กำหนดเลข 3 หลัก สมาชิกคนแรกจะได้หมายเลข 000001 คนที่ 2 จะได้หมายเลข 000002 เรียงลำดับไปเรื่อย (ถ้าใช้ระบบริหารร้านหนังสือเช่าจะช่วยลดขั้นตอนนี้ได้)

 

5.4.วิธีบันทึกการยืม-คืนหนังสือของลูกค้า

ใช้สมุดบันทึก เรียงลำดับก่อนหลังของหมายเลขสมาชิก โดยแยกรายการไว้เลยว่าหน้าที่ 1 – 2 ของสมาชิกหมายเลข 001 หน้าที่ 2 – 3 เป็นของสมาชิกหมายเลข 002 เป็นต้น (ถ้าใช้ระบบริหารร้านหนังสือเช่าจะช่วยลดขั้นตอนนี้ได้)

ใช้เป็นบัตรยืมเหมือนของห้องสมุดโดยให้ 1 บัตรต่อ 1 สมาชิก (ถ้าใช้ระบบริหารร้านหนังสือเช่าจะช่วยลดขั้นตอนนี้ได้)

แนะ นำให้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพราะจะยากดูแลเมื่อยามข้อมูลมีจำนวนมากทำให้บริหารร้านไม่ได้แล้วก็ต้องปิด ร้านเป็นเพราะขาดทุนและบริหารร้าน ควบคุมการยืม-คืนไม่ได้

 

5.5.การควบคุมหนังสือเข้า – ออก ผู้ประกอบการควรทำการจดบันทึกหนังสือทั้งหมดที่มีอยู่ในร้านเหมือนการทำ สต็อคสินค้า เมื่อมีการซื้อหนังสือใหม่เข้ามา หรือยืมออกไป ซึ่งการควบคุมหนังสือเข้าออกจะทำด้วยมือ หรือใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ (ถ้าใช้ระบบริหารร้านหนังสือเช่าจะช่วยลดขั้นตอนนี้ได้)  

 

6. การลงทุน

การลงทุนในกิจการเช่าหนังสือ ควรเป็นเงินทุนของตนเองจะดีกว่าการกู้ยืมเนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้น ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องมีทุนสำรองขั้นต่ำประมาณ 50,000 – 100,000 บาท

โครงสร้างต้นทุน สัดส่วนของต้นทุนส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปยังค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นเปิดร้าน

วง เงินเริ่มต้น จะขึ้นอยู่กับขนาดร้านว่าเล็กหรือใหญ่ ถ้าเป็นร้านขนาดเล็ก เช่น ร้านที่อยู่ใต้ตึกที่พักอาศัย ควรมีเงินทุนอย่างน้อย 50,000 – 100,000 บาท สำหรับร้านประมาณ 1 คูหา แต่ถ้าเป็นร้านขนาดใหญ่ที่มีหนังสือประมาณ 5,000 เล่มขึ้นไป อาจต้องใช้เงินทุนอย่างน้อย 150,000 – 500,000 บาท แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ประมาณที่ 100,000 – 300,000 บาท ที่ผู้ประกอบการควรมีในตอนเริ่มต้น เงินทุนที่กล่าวมารวมค่าตกแต่งและสถานที่แล้ว แต่บางร้านอาจจะเกินทุนที่ประมาณการไว้

 

เงินทุนที่มีแบ่งได้เป็น

ค่าหนังสือประมาณ 60%

ร้านขนาดเล็ก (ความกว้างประมาณ 3 x 5 เมตร มีหนังสือประมาณ3,000 – 5,000 เล่ม) เงินทุนค่าหนังสือ 50,000 -80,000 บาท

ร้านขนาดใหญ่ (มีหนังสือประมาณ 5,000 เล่มขึ้นไป) เงินทุนค่าหนังสือ 80,000-300,000 บาท

ค่าสถานที่รวมค่าตกแต่งประมาณ 30% แบ่งรายละเอียดได้ดังน ค่าโปรแกรมบริหารร้านหนังสือเช่า ค่าชั้นวางหนังสือ ควรเป็นชั้นไม้สน เพราะจะทำให้ร้านสว่าง และราคาถูก ราคาค่าชั้นไม้ ถ้าผู้ประกอบการซื้ออุปกรณ์ ออกแบบเอง เพียงแต่จ้างช่างมาทำ ราคาจะตกอยู่ประมาณ 2,000 กว่าบาทต่อ 1 ชั้น ทั้งนี้ งบประมาณในการจัดทำ ขึ้นอยู่กับค่าจ้างช่าง การออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ตามความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละราย ค่าสติกเกอร์ตกแต่งร้าน ค่าโต๊ะ เก้าอี้ของเจ้าของร้าน ค่าพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ

และอื่น ๆ ประมาณ 10% กันไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าบัตรสมาชิก ค่าของชำร่วยให้ลูกค้า เมื่อเปิดร้านวันแรก ค่าใบปลิวแนะนำร้าน ค่าตรายาง สมุด ปากกา ค่าอุปกรณ์เย็บเล่ม พลาสติก เป็นต้น

อนึ่ง สำหรับร้านที่มีขนาดพอสมควร และต้องการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ ต้องบวกการลงทุนส่วนนี้ลงไปด้วย โดยค่าคอมพิวเตอร์จะอยู่ประมาณ 10,000 – 30,000 บาท (ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และราคาของซอฟต์แวร์) ค่าใช้จ่ายแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ

ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (เครื่องสแกน และเครื่องพิมพ์) การเลือกซื้อ ผู้ประกอบการควรเน้นที่คุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหา เนื่องจากต้องเปิดใช้งานตลอดเวลาทำการของร้าน (ทางเรามีจัดจำหน่ายและรับประกัน2ปี)

ค่าซอฟต์แวร์ระบบร้านเช่าหนังสือ (สอบถามทาง Book Off Service ได้ ทางเรามีระบบที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ทั่วประเทศ)

เงินทุนหมุนเวียนต่อเดือน ควรมีประมาณ 15,000 – 30,000 บาท แล้วแต่ขนาดของร้านเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น

ค่าซื้อหนังสือในแต่ละสัปดาห์ อยู่ประมาณ 2,400 – 8,000 บาท (คิดในกรณีซื้อสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)

ค่าเช่าสถานที่

ค่าน้ำค่าไฟ

ค่าจ้างพนักงาน (ควบคุณร้านเองจะลดค่าใช้จ่ายได้)

ค่าอุปกรณ์การห่อปกหนังสือ

ค่าซ่อมแซมหนังสือ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

กิจการเช่าหนังสือเป็นกิจการที่รับเงินสดทุกวัน ดังนั้นผู้ปรกอบการจะมีเงินหมุนเวียนอยู่ตลอด เจ้าของร้านต้องบริหารเงินที่ได้รับให้ดีเพื่อไม่ให้ขาดสภาพคล่องและมิให้ เกิดการรั่วไหล

ระยะเวลาคืนทุน การทำธุรกิจประเภทนี้ ระยะเวลาคืนทุนของแต่ละร้านไม่เท่ากัน ขึ้นกับปริมาณการมาใช้บริการของลูกค้า ถ้ามีมากการคืนทุนจะเร็ว บางแห่งเพียง 2 เดือนก็สามารถคืนทุนได้แล้ว แต่บางร้านมีลูกค้าไม่มากการคืนทุนจะอยู่ประมาณ 1 – 2 ปี แต่โดยเฉลี่ยแล้วการคืนทุนจะประมาณ 1 ปี

 

ผลตอบแทนต่อวัน ขึ้นกับขนาดร้าน ประมาณสมาชิกใช้บริการต่อวัน 20 คนค่าเช่ารายได้จะอยู่ที่ 300 -500 บาทต่อวัน บางรายมีลูกค้าใช้บริการสูงถึง 200 คนต่อวันรายได้จะอยู่ที่ 3000-4000 บาทต่อวัน คิดโดยอัตราสมาชิก หารด้วย 20% คือจำนวนลูกค้าเข้าร้านประมาณเฉลี่ยต่อวัน(ผลสำรวจจากร้านที่ใช้ระบบริหาร ร้านหนังสือเช่า BkrentGroup โดยประมาณ 100 ร้าน)

 

7. เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ

ทำเลที่ตั้ง ต้องหาในที่ที่ลูกค้ามีกำลังซื้อ และเหมาะสม ค่าเช่าสถานที่ไม่แพงเกินไปโดยคำนวณจากคนที่จะผ่านไปผ่านมาใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากผู้ประกอบการเลือกผิดพลาดแล้ว อาจส่งผลกระทบถึงขั้นต้องปิดกิจการ

ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่ร้านอย่างจริง จัง ไม่ใช่อาศัยเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นคนที่มี มนุษยสัมพันธ์ดี มีความอดทนด้วย – การลงทุนจะต้องใช้เงินลงทุนสูงในตอนแรก ดังนั้นผู้ประกอบการต้องพร้อมตรงส่วนนี้ ถ้าผู้ประกอบการมีทุนน้อย เราอาจจะเริ่มทำจากน้อย ๆ ไปก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณหนังสือขึ้นในภายหลังได้เช่นกัน  

 

8. ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เน้นการบริการให้ดีต่อลูกค้า มีความเป็นกันเอง ไม่เอาเปรียบลูกค้า

มีการใช้ระบบในการบริหารได้อย่างรัดคุม ไว้ใช้วิเคราะห์การทำงานการเช่ายืม ของสมาชิก ทำให้ง่ายต่อการควบคุมบริหารร้าน

ความอดทน ขยัน และมีใจรักในงานที่ทำ เพราะค่าบริการค่อนข้างถูก แต่ถ้าลูกค้ามีจำนวนมากก็ทำให้กิจการได้รับผลตอบแทนที่สูง โดยเฉพาะช่วงหลังจากการคืนทุนแล้ว กำไรจะสูงมาก

การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ประกอบการสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าชอบหนังสือประเภทใด แนวใดมากที่สุด แล้วจัดหนังสือตามที่ลูกค้าต้องการได้ครบถ้วน เช่น ลูกค้าจะมาเช่าหนังสือการ์ตูนผู้ชาย มากกว่า การ์ตูนผู้หญิง ก็ควรจัดหามาเพิ่ม และอาจลดการซื้อการ์ตูนผู้หญิงลง เป็นต้น

– รวมถึงปัจจัย อื่นที่ผู้ประกอบการพึงมี เช่น การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การปรับปรุงร้านให้ทันสมัย จัดหาหนังสือเล่มใหม่ ๆ และเป็นที่น่าสนใจเข้ามาไว้ในร้านอย่างสม่ำเสมอ

เครดิตจากเว็บ pantip คะ จำเจ้าของกระทู้ไม่ได้แล้วคะ เพราะว่ารวมๆกันมาไว้หลายกระทู้นะคะ ต้องขออภัยไว้นะที่นี้ด้วย

ใส่ความเห็น