บทที่1ระบบสารสนเทศ 

 

• ระบบสารสนเทศ •

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

 

ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ(นำเข้า),จัดการ(ประมวลผล)และเผยแพร่(แสดงผล)ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

ระบบสารสนเทศประกอบด้วยกระบวนการทำงานหลักๆ ดังต่อไปนี้

   1.การนำเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การบันทึกการขายรายวัน,บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน ฯลฯ

2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยการเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดรูปแบบ และการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง การนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทิน ฯลฯ

 3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ

4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะยาวระยะหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล

 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ บุคลากร ข้อมูลและขั้นตอนปฏิบัติงาน

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ แบ่งตามการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังนี้

– หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น Keyboard ,Mouse ,Scanner เป็นต้น

– หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU: Central Processing Unit)  มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิป (Chip) ภายในประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆรวมอยู่มากภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะเรียกซีพียูว่า“โพรเซสเซอร์” ใช้ในการประมวลผล

-หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำงานเร็วมากที่สุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล ที่รู้จักทั่วไป คือ แรม,รอม และซีมอส

2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Devices) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์,แผ่นซีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์

– หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ Projectorเป็นต้น

  1. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

1)ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์

– ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น Windows XP ,Linux เป็นต้น

– โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมWinZip ,Windows Explorer เป็นต้น

2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานในด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น Microsoft Office ,Media player และPhotoScape เป็นต้น

3.บุคลากร (People ware) คือ คนที่ปฏิบัติงานในด้านคอมพิวเตอร์  โดยในระบบสารสนเทศแบ่งได้ 4 ระดับ คือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้

1.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศที่ต้องการ ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อาจมีการออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศขึ้นใหม่โดยประสานงานกับโปรแกรมเมอร์

2.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้ที่รับระบบสารสนเทศที่ได้จัดทำไว้จากนักวิเคราะห์ มาเขียนหรือสร้างให้เป็นโปรแกรม เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

3.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง (Operator) คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบริการด้านการใช้งาน ควบคุมการทำงาน และรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

4.ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้งานระบบสารสนเทศโดยตรง

4.ข้อมูล (Data) ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง และในชีวิตประจำวันเราก็มีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภายหลังอยู่เสมอ

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลข้อมูล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล

 

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คอมพิวเตอร์ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์(super computer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดมีขนาดใหญ่และราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอี่นออกแบบมาเพื่อใช้แก่ปํญหาทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นระยะเวลาหลายวัน เป็นต้น

2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการทำงานสูง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้ได้หลายร้อยคน  คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มักใช้ในองค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น

  1. มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับองค์กรขนาดกลางที่ใช้บริการแก่เครื่องลูกข่าย เช่น โรงแรม เป็นต้น
  2. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)มีประสิทธิภาพสูงราคาไม่แพงมีความนิยมสูงเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวที่บ้าน และยังได้รับความนิยมสูงสุดด้วย

5.คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (handheld   computer)สามารถจัดการกับข้อมูลประจำวันได้  สร้างปฏิทิน   บันทึกเตือนความจำ  เล่นเกม  ชมภาพยนตร์  ฟังเพลง   และรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้   เป็นคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น  พีอีเอ ไอโฟน เป็นต้น

อุปกรณ์ต่อพ่วง

อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้

อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1.แผงพิมพ์อักขระ

เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง  แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี  50  แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ

2.เมาส์

เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ  แบ่งเป็น 2 ประเภท

2.1  เมาส์ทางกล

2.2  เมาส์แบบใช้แสง

3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา  ซึ่งมี 3ประเภท

3.1ลูกกลมควบคุม

3.2แท่งชี้ควบคุม

3.3แผ่นรองสัมผัส

4.ก้านควบคุม

เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง

5.จอสัมผัส

เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท

6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง  เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง  ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ

6.3กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช

7.เว็บแคม

เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้

8.จอภาพ มี2 ชนิด

1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์  ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน  โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น

2.จอภาพแบบแอลซีดี   ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง  ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า  มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ

  1. ลำโพง

เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง

10.หูฟัง

เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง  มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

  1. เครื่องพิมพ์

เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์

11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด

11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์

11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก

11.4พล็อตเคอร์

  1. โมเด็ม

เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์   แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก