ชนิดของบายศรี

imagesCACSCGTQ

บายศรีปากชาม ลักษณะบายศรี รองด้วยชาม ที่มี ขนาดเหมาะสม ตัวแม่มี ๕ ลูก จำนวน ๓ ด้าน และมีลูก ๓ ลูก แซมอีก ๓ ด้าน จากนั้น จะมีแมงดา ที่แม่บายศรี อีกทั้ง ๓ ด้าน ตรงกลาง จะม้วนเป็น กรวยด้วยใบ ตองตานี ภายในใส่ข้าวสวย ไว้ภายใน ยอดบายศรี จะใช้ไข่ต้มเสียบ ส่วนรอบๆ จะมีการประดับไปด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ บายศรีปากชาม เป็นบายศรี ที่ใช้ในการ สักการบูชา เทพยดา ครูบาอาจารย์ ในการบวงสรวง เทพยดาในทุกๆ พิธีกรรม จะขาดบายศรีปากชาม ไม่ได้

images

บายศรีเทพ จะมีลักษณะ ตัวแม่ ๙ ลูก ตัวลูก ๕ ลูก ปัจจุบันจะไม่ใส่ ข้าวภายใน กรวยเหมือน บายศรีปากชาม แต่ก็อนุโลม ให้ใช้เรียกว่า บายศรีเทพ เพื่อสักการะ บูชาเทพยดา

imagesCAGDKG1K

บายศรีพรหม จะใช้ตัวแม่ ๑๖ ลูก ตัวลูก ๙ ลูก ภายใน กรวยที่อยู่ ตรงกลาง จะบรรจุด้วย หญ้าแพรก ใบโพธิ์ ใบขนุน ดอกเข็ม ด้านนอก จะใช้หมาก – พลู บุหรี่ ดอกไม้มงคล ประดับใช้ใน พิธีกรรมการ บวงสรวง พระพรหม เช่น การตั้งศาล หรือพิธีกรรม บวงสรวง ในงานไหว้ครู

นอกจากนี้ บายศรีพรหม ที่ทำเป็น พุ่มยังมีบายศรี พรหมประกาศิต ที่ใช้ใน ด้านการบวงสรวง ที่ให้ผลดีแก่ สานุศิษย์ ทั้งผู้ชาย – ผู้หญิง ก็สามารถ สักการะได้ จะมีตัวลูก เรียงกัน ๑๖ ลูก ทั้ง ๒ ด้าน รวม ๓๒ ลูก มองดูเป็นรูป ใบพายใช้ ๔ ด้าน ใน ๑ พาน ตรงกลาง จะมีใบไม้มงคล เหมือนบายศรีพรหม ทั่วไป ซึ่งบรรจุ อยู่ตรงกลางกรวย

บายศรีหลัก ใช้บายศรีสลับกันไป เช่น ชั้นแรก ๓๒ ลูก หรือ ๑๖ ลูก ชั้นต่อไป ก็ลดลง ตามแต่ผู้สั่งจะสั่งทำ บายศรีหลัก มี ๙ ชั้น หรือ ๗ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ในพิธีกรรม ไหว้ครู ซึ่งให้ความหมาย “ด้านการตั้งตัว มีหลักมีฐานที่มั่นคง”

บายศรีตอ ตำราโบราณ จะใช้ต้นกล้วย เป็นแกนกลาง ใช้รัดด้วยบายศรี เป็นชั้นหนึ่ง หรือสองชั้น ก็มีชั้นแรก ด้านบน จะใช้บายศรี แม่ตั้งขึ้น ๕ ลูก แล้วลง ๕ ลูก เป็น ๓ ด้าน ช่วงตรงกลาง ของช่องว่าง จะคั่นด้วยตัว ลูกขึ้น ๓ ลูก ลง ๓ ลูก บนยอด จะใส่กระทง หมาก – พลู บุหรี่ ของหวาน เช่น เม็ดขนุน ทองยอด แล้วปิดด้วย กรวย เป็น บายศรี ซึ่งใช้ในทาง ความหมายในทาง ขอขมา ต่อเทพยดา ครูบาอาจารย์พื้นล่าง

บายศรีบัลลังก์ ซึ่งมีทั้ง บัลลังก์บรมครู บัลลังก์ศิวะ บัลลังก์นารายณ์ (ส่วนใหญ่ จะทำเป็น รูปพระยานาค มี ๕ – ๗ เศียร) บางครั้ง ก็ทำบัลลังก์ เป็นรูป พระยาครุฑ บัลลังก์ธรรมจักร ก็มี บัลลังก์พิฆเนศ บัลลังก์จุฬามณี แล้วแต่ เจ้าพิธีต่างๆ จะสั่งทำให้ ผลด้านความมั่นคง และอุดมสมบูรณ์

Leave a comment