ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

โดย ผศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตน
ส่วนสื่อสารองค์การ กองวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ

จากห้องเรียนสู่การพัฒนาคลอง

เสริมทักษะนักศึกษาด้วยการแก้ปัญหาในพื้นที่จริง เป็นฉันทามติระหว่างนักศึกษาและอาจารย์คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) เมื่อเมษายน 2546 โดยการ “คืนความสดใสให้คลองแสนแสบ”เป็นกิจกรรมที่ได้รับการคัดเลือก เนื่องจาก 1.สถาบันฯตั้งอยู่ติดคลองแสนแสบ คลองแสนแสบเน่าเสีย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก 2.คลองแสนแสบเคยเป็นคลองที่มีความสำคัญทางด้านการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเป็นเส้นทางคมนาคมของผู้คนจำนวนมาก และ 3.สถาบันฯตั้งโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหา ราชบรมนาถบพิตร พระองค์ทรงห่วงใยเรื่องน้ำและพระราชทานแนวทางการบำบัดน้ำเสียไว้หลากหลายวิธี ด้วยโครงการจะสำเร็จได้ต่อเมื่อได้รับความร่วมมือจากประชาชนจำนวนมาก จึงใช้ชื่อโครงการว่า“โครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ”

          คลองแสนแสบเป็นคลองขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2383 เพื่อใช้เป็นเส้น ทางขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ กำลังพล เสบียงอาหาร การติดต่อค้าขายระหว่างพระนครกับหัวเมืองตะวันออก คลองแสนแสบเป็นทั้งแหล่งน้ำกินน้ำใช้ แหล่งอาหาร แหล่งวัฒนธรรม สถานที่เล่นกีฬาทางน้ำ เป็นเส้นทางคมนาคมหลัก คลองแสนแสบยาว 72 กิโลเมตรจากคลองมหานาคถึงแม่น้ำบางปะกง กว้าง 20-30 เมตร ปัจจุบันคลองแสนแสบเป็นหนึ่งในคลองระบายน้ำสายหลักของกรุงเทพมหานครในการระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและสู่แม่น้ำบางปะกง  คลองแสนแสบเชื่อมต่อกับคลองต่างๆ ราว 200 สายคลอง ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร   

          คลองต่างๆ นี้รับน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำซึ่งรับน้ำทิ้งมาจากบ้านเรือน ชุมชน สถานประกอบการ สถาน ศึกษา  ศาสนสถาน ห้างร้าน อาคารพาณิชย์ ตลาดสด และอื่นๆ น้ำทิ้งส่วนใหญ่ไม่ได้มีการบำบัดเนื่องด้วยหลายสาเหตุ ได้แก่ สถานที่สร้างก่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 การขาดความรู้ ความเข้าใจ การขาดความรับผิดชอบ การมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตามระเบียบ ภาครัฐขาดการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง ภาครัฐขาดการติดตั้งระบบบำบัดให้ทั่วถึง เป็นต้น ส่งผลให้คลองส่วนใหญ่มีขยะ น้ำในคลองเน่าเสีย การจะทำให้น้ำในคลองมีคุณภาพดีขึ้น ภายใต้ระบบบำบัดที่ไม่มีหรือมีไม่ทั่วถึง เป็นโจทย์ที่ยาก จำเป็นต้องมีการให้ความรู้เพื่อปรับวิธีคิด ปรับวิธีปฏิบัติ และสร้างความร่วมมือจากผู้คนจำนวนมากอย่างจริงจังเกี่ยวกับการจัดการขยะและน้ำทิ้งที่ต้นทาง

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

การดำเนินงานของโครงการ

          การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.เตรียมคน พัฒนาคน และสร้างเครือข่าย 2.หนุนเสริมกลุ่มเครือข่ายในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ 3.เชื่อมเครือข่ายด้วยงานมหกรรมรวมใจเพื่อสายน้ำ

1.เตรียมคน พัฒนาคน และสร้างเครือข่าย

          การดำเนินงานในขั้นตอนนี้คือ 1.การลงพื้นที่ เรียนรู้ชุมชน พื้นที่และสำรวจสายคลอง และ 2.การจัดประชุม อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ต้นทาง สำหรับการลงพื้นที่และสำรวจสายคลองของทีมงาน เพื่อเรียนรู้ เข้าใจในบริบทของพื้นที่ ชาวบ้าน ทุนต่างๆ ทั้งทุนบุคคล ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนเศรษฐกิจ ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ได้รู้จักผู้นำ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานที่ต่างๆ การสำรวจสายคลอง อาจทำงานร่วมกัน ทั้งทีมงาน ชาวชุมชน หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้าใจเส้นทางเดินของน้ำทิ้ง ปริมาณ ลักษณะและปัญหาของน้ำทิ้ง ลักษณะและปัญหาทางกายภาพ(วัชพืช การรุกล้ำของบ้านเรือน) และคุณภาพของน้ำในคลอง

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

          การจัดประชุมอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมจากต้นทาง กิจกรรมนี้มุ่งผล ลัพธ์ 3 ประการคือ 1.การทำให้ภาคีต่างๆ ในพื้นที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะและน้ำทิ้งที่ต้นทาง จากความรู้ความเข้าใจดังกล่าวทำให้ มีการปรับวิธีคิด/มุมมอง และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับขยะและน้ำทิ้ง เกิดมุมมองใหม่ มองขยะและน้ำทิ้งเป็นทรัพยากร มีการนำไปใช้ประโยชน์ส่งผลให้ขยะและน้ำทิ้งในพื้นที่ลดลง      2.เกิดวิทยากรเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ต้นทางจากกลุ่มต่างๆ และมีการขยายความรู้และการปฏิบัติอย่างกว้างขวางในพื้นที่ และ 3.เกิดเครือข่ายผู้สนใจทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อดูแลคลองในพื้นที่ ผ่านกระบวน การประชุม อบรม การทำกิจกรรมที่เน้นการสร้างความรู้จัก ความคุ้นเคย การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ทุกคนในเวทีประชุมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการกำหนด ดำเนินงาน และรับผิดชอบในกิจกรรม พร้อมๆ กับการส่งเสริม สนับสนุนให้เครือข่ายได้ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่ได้เอง การสร้างเครือข่ายมีความสำคัญในการคืนความสดใสให้คลอง เนื่องจากสายคลองยาว ไหลเชื่อมต่อกัน การพัฒนาเพียงจุดใดจุดหนึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงจำเป็นต้องสร้างเป็นเครือข่าย

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

          ประเด็นในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและน้ำทิ้งที่ต้นทางและการดูแลสายคลอง ได้คัดเลือกสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้น เทคโนโลยีที่ง่าย ประหยัด สิ่งที่เหมาะกับชาวชุมชน ได้แก่ ประเภทขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะสด/ขยะรีไซเคิล/น้ำทิ้ง การทำดินจากขยะสด การทำและการใช้น้ำสกัดชีวภาพ การทำผลิตภัณฑ์ซักล้างชีวภาพ ทำไมน้ำในคลองเน่าเสีย ดูแลรักษาคลองได้อย่างไร การใช้ถังดักไขมัน การทำบ่อกรองน้ำทิ้งโดยใช้อิฐ หิน กรวด ทราย ถ่าน การเติมออกซิเจนโดยใช้น้ำพุ การใช้กังหันพลังงานแสงอาทิตย์ การบำบัดน้ำโดยใช้ถังบำบัด การทำเขื่อนพลาสติกกั้นน้ำดี น้ำเสีย

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

2.หนุนเสริมเครือข่ายในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

ในขั้นตอนนี้มี 3 กิจกรรมหลักคือ 1.การทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 2.การส่งเสริมสนับสนุนสิ่งจำเป็นในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมแก่กลุ่ม/เครือข่าย และ 3.ประสานหน่วยงานเพื่อขอความอนุเคราะห์อุปกรณ์ เครื่องจักร และพาหนะ พื้นที่ดำเนินกิจกรรมรวม 22 เขตของในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 2.พระนคร 3.ราชเทวี 4.ปทุมวัน 5.วัฒนา 6.ห้วยขวาง 7.ลาดพร้าว     8.วังทองหลาง 9.บางกะปิ 10.บึงกุ่ม 11.คันนายาว 12.สวนหลวง 13.สะพานสูง 14.มีนบุรี 15.คันนายาว     16.ลาดกระบัง 17.หนองจอก 18.บางบอน 19.บางเขน 20.บางนา 21. บางซื่อ และ 22.ประเวศ โดย 1-17 เขตเป็นพื้นที่ที่มีคลองเชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ

สำหรับการทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับเวทีการประชุมหารือของกลุ่มภาคีต่างๆ จากเวทีการประชุมแลกเปลี่ยน อาจมีการสาธิตต่างๆ การเดินรณรงค์ การจัดการขยะในชุมชน และในคลอง กิจกรรมสาธิตต่างๆ เช่น การคัดแยกขยะ การทำน้ำสกัดชีวภาพ การทำผลิตภัณฑ์ซักล้าง การทำดินจากขยะสด การทำบ่อกรองน้ำทิ้ง การใช้ประโยชน์จากขวดพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ กิจกรรมการจัดการขยะในชุมชน เช่น การทำ Big Cleaning Day การจัดระเบียบทางเดินชุมชน/ทางเดินริมคลอง การจัดการขยะใต้ถุนบ้าน การจัดการขยะ/วัชพืชในคลอง การนำขยะแลกของ/ไข่ การนำของเหลือใช้มาแบ่งปัน การทอดผ้าป่าขยะ กิจกรรมเกี่ยวกับน้ำสกัดชีวภาพ การเทน้ำสกัดชีวภาพ ห้องน้ำวัด/โรงเรียน การล้างตลาดสดด้วยน้ำสกัดชีวภาพ การเทน้ำสกัดชีวภาพตามท่อระบายน้ำ/ท่อขยะ/กองขยะ/แหล่งน้ำเน่าเสีย กิจกรรมเกี่ยวกับการทำบ่อกรองน้ำทิ้งอย่างง่าย การทำถังดักไขมัน การทำกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ การทำน้ำพุ การใช้ถังบำบัดน้ำทิ้ง เป็นต้น

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

การส่งเสริมสนับสนุนสิ่งจำเป็นในการทำกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำสกัดชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ซักล้าง ได้แก่ ถังพลาสติก กากน้ำตาล น้ำตาลไม่ฟอกสี N70 เกลือ กลิ่นและสี สำหรับวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมฟื้นฟู คูคลอง จัดการขยะได้แก่ ตะกาว ตะแกรง เข่ง สแลน ไม้ไผ่ เป็นต้น วัสดุอุปกรณ์การบำบัดน้ำทิ้ง ทำดินจากขยะสด ทำถังดักไขมันได้แก่ วงบ่อ อิฐ หิน ถ่าน ถังพลาสติก ท่อน้ำ ถังบำบัดน้ำ เป็นต้น หลายพื้นที่มีการส่งเสริมการทำแปลงพืชผักสวนครัว โดยสนับสนุน ดิน ปุ๋ย และพืชผักสวนครัว เป็นต้น

การช่วยประสานหน่วยงานเพื่อขอความอนุเคราะห์บุคลากร เครื่องจักร ยานพาหนะในการจัดเก็บขนขยะทั้งในชุมชน ในคลอง การขุดลอกคูคลอง บ่อบำบัดที่ตื้นเขิน การช่วยประสาน สื่อให้ช่วยทำข่าว ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ
ถอดบทเรียนโครงการประชารวมใจคืนความสดใสให้คลองแสนแสบ

3.งานมหกรรมรวมใจเพื่อสายน้ำประจำปี

          กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เครือข่ายจากพื้นที่ต่างๆ ได้มีโอกาสได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ งานนี้จัดที่หอประชุมใหญ่ของNIDA โดยมีการจัดต่อเนื่องช่วง 2546-2562 โดยจัดในวันเสาร์ถัดจากวันแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ (20 กันยายน) กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการของหน่วยงานและเครือข่ายต่างๆ การจัดสัมมนาเกี่ยวกับการฟื้นฟูคลองของทั้งในและต่าง ประเทศ การจัดสัมมนาการจัดการสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆ มีการแสดงจาก โรงเรียน และชุมชนต่างๆ  มีการออกร้านขายของต่างๆ เป็นต้น ผู้ร่วมงานเป็นผู้สนใจด้านสิ่งแวดล้อมจากเขตต่างๆ ราว 1,000-1,300 คน

ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ

          1.ช่วง 2546-2552 โครงการมีทีมงานและนักศึกษาช่วยขับเคลื่อนปีละราว 80 คน ทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนากับชุมชน ส่งผลให้สามารถขยายกิจกรรมได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุม 22 เขตในกรุงเทพมหานครและโครงการได้ร่วมกับเครือข่ายทำกิจกรรมเป็นระยะๆ ในช่วงที่ผ่านมา

          2.การได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันการศึกษา สำนักงานเขต สำนักการระบายน้ำ และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ในการสนับสนุนสถานที่จัดประชุมบุคลากร เครื่องจักร อุปกรณ์ ยานพาหนะ ทำให้กิจกรรมที่ต่างๆ เกิดขึ้นได้ เช่น การจัดประชุม การณรรงค์ การจัดเก็บขยะ/วัชพืชในคลอง การขุดลอกคลอง ขุดลอกบ่อบำบัด เป็นต้น

          3.การได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงบประมาณ บริษัท ปตท. บริษัท ช.การช่าง และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทำให้โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ และสามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในจัดกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ได้

          4.เทคโนโลยีที่โครงการนำมาส่งเสริมคือ น้ำสกัดชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ซักล้างชีวภาพ เป็นสิ่งที่ทำง่าย ต้นทุนไม่สูง ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทำให้เป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายในกลุ่มต่างๆ

          5.NIDA เป็นสถาบันการศึกษาและกิจกรรมที่ทำเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ทำให้โครงการเป็นที่ยอมรับและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคีต่างๆ ทั้งชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน องค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

ผลลัพธ์ของโครงการ

          1.นักศึกษาของคณะได้รับประสบการณ์และการเสริมสร้างทักษะในการบูรณาการวิชาการเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จริงเพิ่มขึ้น

          2.เกิดการตื่นตัวในการจัดการขยะในพื้นที่ดำเนินงาน มีการคัดแยกขยะ ลดขยะ ใช้ประโยชน์จากขยะ รีไซเคิลและขยะสดเศษอาหาร มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

          3.คลองในพื้นที่ดำเนินงานได้รับการจัดการเรื่องขยะและวัชพืชอย่างเป็นรูปธรรม หลายสายคลองและบางบึงได้รับการขุดลอก ทำให้สามารถกักเก็บน้ำ คุณภาพน้ำดีขึ้น สวยงามขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น หลายพื้นที่ได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ขายของ  สถานที่ออกกำลังกาย เช่น คลองลำไทร(หนองจอก) บึงกระเทียม(มีนบุรี) บึงน้ำเสรีไทย(คันนายาว) สวนน้ำหมู่บ้านนักกีฬา(สะพานสูง) คลองประเวศบุรีรมย์(ประเวศ) ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และความภาคภูมิใจของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามคุณภาพน้ำในคลองหลายสายในพื้นที่ยังเน่าเสีย ต้องรอการแก้ไขเชิงระบบ การใช้มาตรการจูงใจให้เกิดการบำบัดจากต้นทางและการบังคับใช้กฎหมายจากกรุงเทพมหานคร พร้อมๆกับการเพิ่มบทบาทของภาคีต่างๆ โดยเฉพาะสื่อสารมวลชน สถาบันการ ศึกษาในการให้ความรู้เพื่อปรับวิธีคิด ปรับวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับขยะและน้ำทิ้งอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

          4.เกิดวิทยากรและเครือข่ายในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มีจัดการขยะ การฟื้นฟูคูคลอง ตลอดทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ในชุมชนและริมคลอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากปี 2563 เป็นต้นมา การระบาดของ Covid 19 ทำให้ต้องงดการทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมในรูปเครือข่าย คงเหลือเป็นการทำเฉพาะบุคคล หน่วยงานเท่านั้น และโครงการประชารวมใจฯได้งดการจัดงานมหกรรมรวมใจเพื่อสายน้ำลงด้วย

          5.น้ำสกัดชีวภาพและผลิตภัณฑ์ซักล้างชีวภาพ มีการทำและใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้ชุมชน สถาน ศึกษา สถานประกอบการ ตลาดสดและองค์กรต่างๆ มีการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร การทำแปลงพืชผักสวนครัว บางรายทำใช้และขาย ทำให้สร้างรายได้ ลดรายจ่าย พัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี กำจัดกลิ่น ช่วยย่อยสลาย ช่วยลดการอุดตัน ช่วยลดขยะสด เป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีในชุมชน บางแห่งกลายเป็นแหล่งดูงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น แฟลตคลองจั่น 25 ชุมชน 101 บึงทองหลาง(บางกะปิ) ชุมชนบ้านเกาะ สวนสยาม(คันนายาว) หมู่บ้านรุ่งสว่างวิลเลจ(บางเขน) ตลาดนครไทย(บางกะปิ)  โรงเรียนลำต้นกล้วย(หนองจอก) โรงเรียน     โสมาภา 2 (บึงกุ่ม) ศูนย์เด็กเล็กนพสร(ปทุมวัน) และสวนสยาม ทะเลกรุงเทพ(คันนายาว) เป็นต้น อนึ่งสวนสยาม ทะเลกรุงเทพฯมีการใช้น้ำสกัดชีวภาพและผลิตภัณฑ์ซักล้างอย่างครอบคลุม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพในห้องน้ำ ใส่บ่อเกรอะ (ไม่ต้องสูบบ่อเกรอะ) ใส่ตามท่อระบายน้ำ ใช้บำบัดน้ำในบึง ใช้ผสมรดไม้ประดับและไม้ยืนต้น นำน้ำสกัดชีวภาพจากมะนาวไปทำผลิตภัณฑ์ซักล้างหลายชนิดเพื่อใช้ในการล้างจาน ชามเครื่องครัว ชักผ้าปูโต๊ะและล้างพื้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของพนักงานที่ทำความสะอาดดีขึ้นและสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซักล้างได้อย่างมาก

          นับได้ว่า น้ำสกัดชีวภาพซึ่งทำจากเปลือกผลไม้รสเปรี้ยว ซึ่งทำได้ง่าย ประหยัด สารพัดประโยชน์ ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร เป็นเทคโนโลยีชุมชนแห่งยุคสมัยโดยแท้