เลือกหน้า

กังหันไอน้ำ (Steam turbine) เป็นอุปกรณ์ทางกลที่ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างใหญ่มาก (บางตัวเท่ากับตึก 3-4 ชั้น) และมีความซับซ้อนในการออกแบบทางกล พบเจอได้ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมใหญซึ่งมักนำไปเป็นตัวขับเครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator) ที่มีแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในโรงงานเอง หรือแม้กระทั่งเป็นตัวขับ (Driver) ที่ใช้ในการขับปั้ม (ส่วนมากจะเป็นตัวเล็กๆนะครับ) โดยเอาไอน้ำที่เหลือใช้กระบวนการผลิตอีกด้วยครับ

โดยหลักการเบื้องต้นแบบง่ายๆเลย คือ การเอาไอน้ำร้อนๆ (Steam) ไปขับเคลื่อนกังหัน (Turbine) ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการรับไอน้ำที่ถูกฉีด จากนั้นกังหันที่ได้รับแรงฉีด หรือพลังงานจากไอน้ำ ก็จะหมุน ซึ่งการหมุนตรงนั้นเองจะถือเป็นพลังงานทางกล (Mechnanical power) และเอาไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ครับ และไอน้ำหลังจากถูกใช้ก็จะหมดพลังงานลงกลายเป็นน้ำธรรมดา (Condensate water) หรือ ไอน้ำที่เย็นลง (พลังงานลดลง)

โดยในบทความนี้ทางเราของอ้างอิงมาตรฐาน API611 และ API612 ตามประสบการณ์ของผู้เขียนนะครับผม 🙂

อะไรคือกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) ?

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ Steam turbine หรือ กังหันไอน้ำเบื้องต้นของเรากันก่อนนะครับ โดยเอาตามนิยามเลย Steam turbine คือ “เครื่องยนต์ (Rotary Engine) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของไหล (Fluid) ; นั้นก็คือ ไอน้ำ (Steam) ของเราเองครับ , ไปเป็นพลังงานทางกล (Mechanical Energy)” ซึ่งอาจจะนำประโยชน์ตรงนี้ไปเป็นต้นกำลังขับปั้ม (Pump) หรือ เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า (Generator) ต่อไปนั่นเองครับ

ตัวอย่างภาพของ Steam Turbine

อาจจะลองรับชมตามวีดีโอด้านล่างนะครับ

ประวัติและต้นกำเนิดของกังหันไอน้ำ (History of Steam Turbine)

สำหรับกังหันไอน้ำ หรือ Steam turbine ตัวแรกถูกคิดค้นโดย Dr. Gustaf de Laval ในปี ค.ศ. 1883 และ sir Charles Parsons ในปี ค.ศ. 1884 และต่อมา Charles Curtis  ได้คิดค้นกังหันไอน้ำประเภท impulse turbine ในปี ค.ศ. 1896 จนต่อมากังหันไอน้ำประเภท Radial turbine โดย Ljungström ในปี ค.ศ. 1910

ประวัติของ Steam Turbine

ส่วนประกอบของกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)

ภาพตัดด้านใน (Crossectional-Drawing) ของกังหนไอน้ำ

1 – steam pipeline. 2 – inlet control valv. 3 – nozzle chamber. 4 – nozzle-box. 5 – outlet. 6 – stator

7 – blade carrier. 8 – casing 9 – rotor disc. 10 – rotor  11 – journal bearing. 13 – thrust bearing.

14 – generator rotor. 15 – coupling. 16 – labyrinth packing. 19 – steam bleeding (extraction). 21 – bearing pedestal.

22 – safety governor  23 – main oil pump. 24 – centrifugal governor. 25 – turning gear. 29 – control stage impulse blading

กังหันไอน้ำแบบต่างๆที่เรามักพบเจอในโรงงานอุตสาหกรรม

API611 : General Proposed Steam Turbine มักใช้ขับปั้ม/Air Compressor
API612 : Special Proposed Steam Turbine มักใช้ขับ Gas Compressor
Reheat Steam Turbine ที่มักพบเห็นในโรงไฟฟ้าใหญ่ๆ ในการผลิตไฟฟ้า

สำหรับ [EP.1] ของพอไว้เท่านี้ก่อนนะครับ โดย EP ถัดไปจะขอมาลงรายละเอียดหลักการทำงานภายใน และประเภทของ impulse และ reation blade กันนะครับผม สำหรับวันนี้ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านนะครับ

=======================================

แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสต์ถัดๆไปนะครับ หรือสามารถตามสื่อตามๆของเราด้านล่างเลยนะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

=======================================

#นายช่างมาแชร์ #SteamTurbine #กังหันไอน้ำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ยินยอมใช้ Cookie สำหรับการติดตามการใช้งานเวปไซท์ นายช่างมาแชร์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาและบริการ

บันทึกการตั้งค่า