ระบำลพบุรี

ชื่อ ระบำลพบุรี
ประเภทการแสดง ระบำ
ประวัติที่มา ระบำ ลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ทับหลังประตูระเบียงตะวันตกของปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมัลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม
       นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร
นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

การแสดงถวายพระที่นั่ง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ มีผู้บรรเลง และผู้แสดงดังนี้

ผู้บรรเลงเพลงระบำลพบุรี

เครื่องดนตรี

ซอสามสาย
พิณน้ำเต้า
ปี่ใน
กระจับปี่ ๑
กระจับปี่ ๒
โทน ๒ ลูก
ฉิ่ง
ฉาบ
กรับคู่ ๑
กรับคู่ ๒

ผู้บรรเลง

นายศิลปี ตราโมท
นายปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
นายสุรพล หนูจ้อย
นายเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ
นายจรีพล เพชรสม
นายปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี
นายวิเชียร อ่อนละมูล
นายอนุชาต วรรณมาศ
นายยงยุทธ ปลื้มปรีชา
นายบุญช่วย โสวัตร

ผู้แสดงระบำลพบุรี

นางสาวใบศรี เรืองนนท์
นางสาวจินดารัตน์ วิริยะวงศ์
นางสาวศรีจันทรา ทิพโกมุท
นางสาวบุษบา ธนวุฑโฒ
นางสาวนิธิวดี ไชยวสุ
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
       ระบำลพบุรี เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๕ คน แบ่งเป็นตัวเอก ๑ คน และตัวหมู่ระบำ ๔ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากศิลปะของที่เป็นโบราณวัตถุและภาพจำหลักใน สถานที่ต่าง ๆ ลักษณะการรำจะมีกระบวนท่ารำของตัวเอก และท่ารำของหมู่ระบำที่มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน รวมทั้งการใช้มือ เท้า และศีรษะ มีลักษณะพิเศษตามยุคสมัย ตลอดจนการแปรแถวในการรำด้วยลักษณะต่าง ๆ
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑
ผู้แสดงหมู่ระบำรำออกมาตามทำนองเพลง
  • ขั้นตอนที่ ๒
ผู้แสดงตัวเอกรำออก และมารำร่วมกันจนจบกระบวนท่า
  • ขั้นตอนที่ ๓
ผู้แสดงหมู่ในระบำรำเข้าเวที
  • ขั้นตอนที่ ๔
ผู้แสดงตัวเอกทำท่าจบด้วยการไหว้ในช่วงท้ายของเพลง แล้วรำเข้าเวที
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
       ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอสามสาย พิณน้ำเต้า กระจับปี่ ปี่ใน โทน ๒ ลูก ฉิ่ง ฉาบ และกรับคู่ เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงลพบุรี (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)
เครื่องแต่งกาย
       เครื่องแต่งกายของระบำลพบุรี ประกอบด้วย๑. เสื้อสีเนื้อ คอกลม แขนสั้นเหนือศอก ติดแถบทองรอบคอตลอดระหว่างอกและรอบเอว เสื้อตัวเอกปักดิ้นเป็นลายดอกประจำยามหนึ่งดอกตรงระหว่างอก๒. กระโปรงเย็บสำเร็จแบบทบซ้อนหน้า ชายล่างโค้งมน ยาวคลุมเข่า ประดิ้นลายประจำยามประปราย มีผ้าตาดสีทอง ติดทาบชายกระโปรง ตัวเอกประโปรงส้ม หมู่ระยำประโปรงสีฟ้า๓. ผ้ารัดสะเอวมีสายผูกคาดไปข้างหลัง ปักดิ้น มีลวดลายเฉพาะด้านหน้า๔. ผ้าคลุมสะโพกสีม่วงอ่อน ชายแหลมมนแยกเป็น ๒ ชิ้น ตัวเอกผ้าคลุกจะทาบริมด้วยผ้าตาด สีเงิน ตัวรองผ้าคลุมจะทาบด้วยผ้าตาดสีทอง๕. เครื่องประดับ ประกอบด้วย เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู ต้นแขน กำไล ข้อมือ กำไลเท้า๖. ศีรษะใส่ครอบแบบประกอบสำเร็จรูป ประดับด้วยเกี้ยว พู่ไหมสีเงิน
โอกาสที่ใช้แสดงถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะ โบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และเผยแพร่ให้ประชาชนชม

 

อ้างอิง ระบำลพบุรี