Home » Technical » Selection guide » จาระบี (Grease) แบบไหน เหมาะสมกับเครื่องจักรของเรา

จาระบี (Grease) แบบไหน เหมาะสมกับเครื่องจักรของเรา

จาระบี (Grease) นับเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญมากในเครื่องจักร เพราะนอกจากจะสามารถช่วยให้ยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดพลังงานที่ต้องใช้ได้อีกด้วย แต่เนื่องจากจาระบีนั้นมีมากมายหลายชนิด ในบทความนี้เราจะมาแนะนำจุดเด่นของจาระบีแต่ละชนิด รวมไปถึงปัจจัยในการเลือกให้เหมาะสมกันนะครับ

ตัวอย่างการใช้จาระบีหล่อลื่นตลับลูกปืน
ตัวอย่างการใช้จาระบีหล่อลื่นตลับลูกปืน

จาระบี (Grease) คืออะไร

จาระบี (Grease) จะมีลักษณะเป็นเนื้อครีมข้น มีหน้าที่สำคัญเพื่อให้ความหล่อลื่นแก่จุดที่ชิ้นส่วนมีการเคลื่อนที่ เนื่องจากแม้ผิวของชิ้นส่วนเครื่องจักรนั้นๆ จะทำมาละเอียดแค่ไหนก็ตาม ก็ยังจะต้องเหลือความหยาบอยู่อย่างแน่นอน โดยหากปล่อยให้ชิ้นส่วนสองชิ้นสัมผัสกันขณะเคลื่อนที่ โดยปราศจากการหล่อลื่น ก็จะส่งผลเสียมากมายไม่ว่าจะเป็น เกิดการสึกหรอ ใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อขยับชิ้นส่วนเนื่องจากความฝืด เกิดความร้อนที่บริเวณพื้นผิวที่มีการเสียดสี

จาระบี สีเทา
จาระบี สีน้ำเงิน
จาระบี สีแดง
จาระบี สีส้ม

นอกจากนี้จาระบีแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติเสริมที่แตกต่างกันนอกเหนือจากการเพิ่มความหล่อลื่น ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่เติมเข้าไป เช่น ถ่ายเทความร้อน ป้องกันการเกิดสนิม ป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี ป้องกันสิ่งแปลกปลอมอีกด้วย

ส่วนประกอบของ จาระบี

จาระบีประกอบด้วยสารสำคัญ 3 ชนิดดังต่อไปนี้

ส่วนประกอบของจาระบี
ส่วนประกอบของจาระบี

1. น้ำมันพื้นฐาน (Oil base)

น้ำมันพื้นฐาน (Oil base) เป็นส่วนผสมหลักของของจาระบี มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70-95% ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น เพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส โดยน้ำมันที่ใช้ จะมีอยู่หลักๆ 2 ชนิด

1.1) น้ำมันแร่ (Mineral oil)

น้ำมันแร่ (Mineral oil) หรือน้ำมันธรรมชาติ เช่น แนฟทีน, อโรมาติก หรือพาราฟิน โดยคุณภาพของน้ำมันจะขึ้นอยู่กับกระบวนการกลั่น ซึ่งจาระบีที่ทำมาจากน้ำมันแร่จะถูกผลิตมาใช้งานอย่างแพร่หลายกว่า ราคาที่ถูกกว่าน้ำมันสังเคราะห์

1.2) น้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic base oil)

น้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic base oil) น้ำมันชนิดนี้จะถูกสังเคราะห์มาด้วยกระบวนการทางเคมี ดังนั้นจึงมีโครงสร้างที่เสถียรและสม่ำเสมอกว่า ทำให้แม้จะมีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับน้ำมันแร่ แต่ก็มีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น ทนต่อการทำงานในอุณหภูมิสูงต่ำได้ดี, ติดไฟยาก (จุดวาบไฟสูง), มีความหนืดสูงเป็นต้น

2. สารอุ้มน้ำมัน (Thickener)

 สารอุ้มน้ำมัน (Thickener) มักจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 3-30% เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำกักเก็บน้ำมันไว้ ด้วยการทำให้น้ำมันจับตัวกันเป็นก้อน นอกจากนี้ ยังทำให้ยึดติดพื้นผิวได้ดีขึ้น สารอุ้มน้ำมันมี 2 ชนิดหลักๆ ดังนี้

2.1) สบู่โลหะ (Metallic soap)

สบู่โลหะ (Metallic soap) ซึ่งสารอุ้มน้ำมันชนิดนี้จะมีส่วนผสมหลักเช่น ลิเธียม, อลูมิเนียม, โซเดียม และแคลเซียม เป็นต้น โดยสบู่โลหะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยๆ ได้ดังนี้

สบู่โลหะโครงสร้างพื้นฐาน (Simple soap)

สบู่โลหะโครงสร้างพื้นฐาน (Simple soap) เป็นสารที่มีโครงสร้างทางเคมีอย่างง่าย โดยมีไฮดรอกไซด์โลหะพื้นฐานเพียงชนิดเดียว ทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน โดยสบู่โลหะชนิดสารอุ้มน้ำมันนี้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด คือสบู่ลิเธียม โดยคุณสมบัติจะขึ้นกับ โลหะพื้นฐานที่ใช้

สบู่โลหะแบบผสม (Mixed soap)

สบู่โลหะแบบผสม (Mixed soap) เป็นสบู่โลหะที่เกิดจากโลหะพื้นฐาน 2ชนิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของสารอุ้มน้ำมันจากจุดเด่นของสารสองชนิด ยกตัวอย่างเช่น การผสมกันของสบู่โซเดียมและแคลเซียม ซึ่งโซเดียมจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทนความร้อน ส่วนแคลเซียมก็จะช่วยในเรื่องการทนน้ำและช่วยต้นทุนราคาได้อีกด้วย

สบู่โลหะแบบโครงสร้างเชิงซ้อน (Complex soap)

สบู่โลหะแบบโครงสร้างเชิงซ้อน (Complex soap) จะคล้ายกับสบู่โลหะแบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะใช้ไฮดรอกไซด์ของโลหะเพียง 1 ชนิดทำปฏิกิริยากับกรดที่เกิดจากการผสมของกรดไขมัน กับกรดที่มีสายพันธะสั้นและโครงสร้างซับซ้อน โดยในช่วงหลังๆ โครงสร้างแบบเชิงซ้อนได้รับความนิยมสูงขึ้นเนื่องจาก มีคุณสมบัติหลายอย่างที่ดีกว่าสบู่โลหะแบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ทนอุณหภูมิได้สูง มีจุดหยด (Dropping point) ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่สามารถรับโหลดได้ดีขึ้นอีกด้วย

2.2) สารอุ้มน้ำมันแบบไม่ใช่สบู่ (Nonsoap thickeners)

สารอุ้มน้ำมันแบบไม่ใช่สบู่ (Nonsoap thickeners) สารอุ้มน้ำมันชนิดนี้ เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างเป็นสบู่ เช่น พวกโคลน, ซิลิกา, โพลียูเรีย โดยในช่วงหลัง ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จากคุณสมบัติพิเศษที่ทนอุณหภูมิได้สูงมาก

3.สารเพิ่มคุณสมบัติ (Additive)

สารเพิ่มคุณสมบัติ (Additive) เป็นสารที่จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติต่างๆให้กับจาระบี เช่น ป้องกันการเกิดสนิม ป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี เพิ่มความหล่อลื่น หรือ ชะลอการเสื่อมสภาพของจาระบีเป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของเครื่องจักรที่ใช้งาน รวมถึงสภาพแวดล้อมอีกด้วย

จบไปแล้วนะครับกับการแนะนำส่วนประกอบพื้นฐานของ จาระบี หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ในการเลือกใช้จารบีกันนะครับ เพื่อนๆสามารถเลือกดูจาระบีแต่ละชนิดเพิ่มเติมได้ที่นี่ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม ก็เขียนมาคุยกันได้นะครับ MISUMI Technical รู้ครบจบที่นี่

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า จาระบี (Grease) เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง