xs
xsm
sm
md
lg

ไทยกำลังจะได้ T-84 “โอปล็อต” 5 คันแรก .. แถวนี้ใครเจ๋ง?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หุ้ม สเกิ๊ต รอบคัน ข้างในยังมีเกราะอีก 2 ชั้น ด้านหน้าขึ้นไปจนถึงป้อมปืนเป็นเกราะแบบ ERA ยืดหยุ่นรับแรงระเบิด ติดปืนใหญ่ 125 มม. ระบบควบคุมการยิงแบบอัตโนมัติ ยิงกระสุนได้หลากหลายแบบ รวมทั้งกระสุนนำวิถีด้วยความร้อนแบบเดียวกับจรวดทำลายรถถัง มีระยะหวังผลไกล 5 กม. เครื่องยนต์ 1,200 แรงม้า ห้อเร็วถึง 70 กม./ชม. ฯลฯ รุ่นมาตรฐานของสาธารณรัฐยูเครนติดตั้งระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ไทยซื้อ 49 คันมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทและกำลังจะเป็นเจ้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นเจ้าของรถถังเจ๋งที่สุดที่มีต้นกำเนิดจากค่ายโซเวียตในอดีต.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนการ กองทัพบกไทยก็จะได้รับรถถัง T-84 “โอปล็อต” 5 คันแรก ในเดือน พ.ค.นี้ และกำลังจะเป็นประวัติการณ์ใหม่ กำลังจะเป็นครั้งแรกที่รถถังยอดเยี่ยมที่สุดรุ่นหนึ่งของโลกจากค่ายโซเวียตเก่าเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยเติมอุณหภูมิการสั่งสมแสนยานุภาพระหว่างเพื่อนบ้านย่านนี้ให้ระอุร้อนยิ่งขึ้น

ไทยเซ็นซื้อ T-84 จากสาธารณรัฐยูเครนในปลายปี 2554 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเคยเดินทางไปชมการสาธิต “โอปล็อต” ด้วยตัวเองถึงแหล่งผลิต และหลายวงการยกย่องว่า “ช่างรู้จักเลือก” กล่าวคือ กองทัพบกไทยจงใจเลือกของคุณภาพดีในราคาที่สมเหตุสมผล

แต่เมื่อสำรวจเพื่อนบ้านรอบๆ ตัว จะพบว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นแหล่งรถถังคุณภาพเยี่ยมของโลกมาระยะหนึ่งแล้ว มีทั้งที่ผลิตจากค่ายโซเวียตเก่า ซึ่งรวมทั้ง T-72 ที่พม่าซื้อจากรัสเซีย ขณะที่เวียดนามอยู่ระหว่างจัดซื้อของเก่าจะโปแลนด์ที่นำไป “รีฟิต” ติดตั้งระบบอาวุธ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งของเกราะป้องกันด้วย

มาเลเซียที่รั้วบ้านติดกันมีรถถัง T-72 อีกรุ่นหนึ่งที่ซื้อจากโปแลนด์ และ “รีฟิต” ให้ทันสมัย

ส่วนไทย หลังจากโละรถถังที่ซื้อจากจีนที่จอดตายเต็มค่ายแบบยกล็อต และนำไปทิ้งทะเลทำปะการังเทียมจนหมดในปลายปี 2553 ทัพบกไทยก็เหลือเพียง M48 กับ M60 ซึ่งติดปืนใหญ่ 105 มม.

หากจะว่าด้วยรถถังโจมตีหลัก หรือ Main Battle Tank เทียบตัวต่อตัว ชิ้นต่อชิ้น ถ้าหากไม่นับจำนวน ก็ดูเหมือนว่าไทยจะล้าหลังกว่าใครๆ ในภาพรวม โดยไม่นับ T-55 ของกัมพูชาที่ซื้อจากสาธารณรัฐยูเครน 2 ล็อต รวมเป็นจำนวนกว่า 100 คัน ในปี 2553 และ 2555

ใต้ลงไปยิ่งดูน่าเกรงขาม กองทัพบกสิงคโปร์มีรถถังเลโอพาร์ด-เอ4 (Leopard A4) ใช้ก่อนใคร และอินโดนีเซียอาจจะเป็นเจ้าที่ 2 เพื่อนบ้านทางใต้สุดของกลุ่มอาเซียนเจรจาจัดซื้อรถถัง “เสือดาว” ที่ผลิตในเยอรมนีถึง 100 คัน

เลโอพาร์ด-2 เป็นรถถังชั้นเยี่ยม 1 ใน 4 รุ่นของค่ายตะวันตกในปัจจุบัน ร่วมกลุ่มกับรถถังเลอแคลร์ (Leclerc) ของฝรั่งเศส กับ แชลเลนเจอร์ (Challenger) ของอังกฤษ กับ เอ-1 “เอบรามส์” A1 Abrams ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ชื่อเป็น “รถถังนาโต้”

สำนักข่าวกลาโหมหลายแห่งบอกว่า T-84 โอปล็อต ป้ายแดงของไทยกำลังจะเปลี่ยนเกมการสู้รบของเหล่ายานเกราะในย่านนี้.

เลียบค่ายทหาร ภาพประกอบ/สารพัดแหล่ง
<bR ><FONT color=#000033>T-72S กองทัพบกพม่าซื้อจากยูเครนกว่า 130 คัน เวียดนามมี T-72M1 ซื้อจากโปแลนด์เกือบ 500 คัน ซื้อล็อตล่าสุดปี 2548 ปัจจุบันกำลังจัดซื้อรุ่นใหม่อีกกว่า 100 คัน เป็นรถถังที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก พัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ผลิตในหลายประเทศที่เคยอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์โซเวียต กองทัพบกรัสเซียยังมีประจำการ แต่ยูเครนปลด T-72 หมดแล้ว หันมาพัฒนา T-80UD และกลายมาเป็น T-84 โอปล็อต ในวันนี้.</b>
2
<bR ><FONT color=#000033>T-72S กองทัพบกพม่า หุ้มเกราะรอบคัน และในส่วนหน้าจากล่างขึ้นไปจนถึง ป้อมปืน หุ้มด้วยเกราะแบบยืดหยุ่นแรงระเบิด (Explosive Reactive Armor) แบบเดียวกันกับที่ใช้ในส่วนหน้าของ T-48M  โอปล็อต ที่ไทยซื้อจากยูเครน T-72 ติดปืนใหญ่ 125 มม. ระบบป้อนกระสุนอัตโนมัติเช่นเดียวกัน ติดตั้งจรวดทำลายรถถังข้าศึกแบบ 2A6M พร้อมท่อยิง เก่ากว่าแต่ระบบอาวุธของ T-72 ยังเป็นหนึ่งในย่านนี้เช่นกัน. </b>
3
<bR ><FONT color=#000033>T-84 โอปล็อต-M หุ้มเกราะรอบคันถึง 3 ชั้น ส่วนหน้าเป็นเกราะแบบยืดหยุ่นต่อแรงระเบิด (ERA) ไม่ให้เข้าถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน ติดตั้งปืนใหญ่ 125 มม. ลำกล้องเรียบ หรือ รูเกลี้ยง ป้อนกระสุนอัตโนมัติ ยิงกระสุนได้หลายชนิด ทำลายรถถัง-ยานหุ้มเกราะข้าศึก สิ่งปลูกสร้างหรือบังเกอร์ และยิงเฮลิคอปเตอร์ที่บินระดับต่ำ ยิงกระสุนนำวิถีด้วยความร้อนทำลายเป้าหมายได้ไกลถึง 5,000 เมตร ฯลฯ ติดระบบจรวดต่อสู้รถถังอีกต่างหาก มีระบบพรางตัวเองด้วย ควันอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ตกเป็นเป้าของจรวดที่นำวิถีด้วยความร้อนหรือเลเซอร์ ติดปืนต่อสู้อากาศยาน ฯลฯ.</b>
4
<bR ><FONT color=#000033>เครื่องยนต์ดีเซล 1,200 แรงม้า แรงจัด มีระบบเกียร์อัตโนมัติให้เลือก ระบบควบคุมทุกอย่างเป็นดิจิตอล ภายในติดแอร์เย็นฉ่ำสำหรับ 3 คน ผู้บังคับการ พลขับกับพลอาวุธ ของยูเครนมีรุ่นติดตั้งเครื่องยนต์พิเศษใช้เชื้อเพลิงได้ทุกชนิด ติดตั้งระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม กองทัพบกไทยยังไม่เคยแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็กของ T-84 Oplot-M ที่เซ็นซื้อทั้ง 49 คันแต่รัฐสภาอนุมัติงบประมาณ 7,155 ล้านบาทให้แล้ว เป็นการจัดซื้อจัดหาเพื่อใช้แทน M41 จำนวน 200 คันที่ปลดประจำการ.  </b>
5
 <bR><FONT color=#000033>PT-91M รถถังหลักของทัพบกมาเลเซีย ซื้อจากโปแลนด์ซึ่งพัฒนาจาก T-72M1 ของโซเวียต ติดปืนใหญ่ 125 มม. พร้อมระบบควบคุมการยิงสมัยใหม่ ระบบสื่อสารยุคใหม่ หุ้มเกราะหนารอบคัน ติดตั้งอาวุธ/ระบบป้องกันตัวเองรอบคัน เป็นรถถังของค่ายโซเวียตแบบที่ 3 ที่มีใช้อยู่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ T-84 Oplot-M ของไทยได้ชื่อเป็นรุ่นทันสมัยที่สุดจากหลังม่านเหล็กในอดีต. </b>
6
<bR><FONT color=#000033>ทัพบกเสือเหลืองเซ็นซื้อ PT-91M จากโปแลนด์ต้นปี 2545 พร้อมยานยนต์สนับสนุนรวมมูลค่า 370 ล้านดอลลาร์ ยานเกราะทั้งหมดส่งมอบในช่วงปี 2551-2552 เติบโตมาจากค่ายโซเวียตเก่าด้วยกัน ไม่ต่างกับ T84 Oplot-M ที่ไทยจะได้รับ 5 คันแรกในเดือน พ.ค.นี้ ว่ากันว่าปัจจุบันเป็นรถถังชั้นนำ 1 ใน 5 รุ่นของโลก ประสิทธิภาพไม่ได้ห่างกันมากมายกับของเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐ. </b>
7
<bR><FONT color=#000033>ว่าด้วยอำนาจการยิง ป.125 ของ PT-91M ไม่น่าจะแตกต่างกับของ T-84 Oplot-M มากมาย ตัวถังอาจจะหุ้มเกราะไม่หลายชั้นเท่ากับ T-84 แต่ก็ติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์รอบคันซึ่งรวมทั้งระบบควบคุมการยิง ระบบนำร่องต่างๆ ตลอดจนระบบป้องกันตัวเอง ที่ล้วนเป็นอุปกรณ์ทันสมัย ผลิตจากยุโรปตะวันตก เช่นเดียวกันกับรถถังใหม่ที่ไทยกำลังจะเป็นเจ้าของเจ้าแรกในย่านนี้. </b>
8
<bR><FONT color=#000033>เก่าแต่พัฒนาใหม่ -- นอกจากรถถังจากค่ายโซเวียตเก่าแล้ว สิงคโปร์เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นเจ้าของ เสือดาว Leopard 2SG ซึ่งก็คือ Leopard 2A4 โดยซื้อของใช้แล้วจากเยอรมนี 94 คันอัพเกรดขึ้นใหม่ ปัจจุบันเจ้าของเทคโนโลยีพัฒนาไปจนถึง A7 แล้ว แต่ A4 ก็ยังมีเขี้ยวเล็บที่ไม่เป็นรองใครๆ ในย่านนี้ อินโดนีเซียเพื่อนบ้านกำลังพันตูกับเยอรมนีขอซื้อทั้ง A4 และ A4 Revolution ซึ่งเหนือขึ้นไปอีกขึ้นหนึ่ง รวมจำนวนประมาณ 100 คัน. </b>
9
<bR><FONT color=#000033>ป.120 ของเลโอพาร์ด 2SG อาจดูด้อยกว่า T-72 หรือ T-84 แต่ในด้านระบบควบคุมการยิงไม่เป็นรอง เกราะมาตรฐานของ A4 ทำจากการวัสดุผสมผสานระหว่างเหล็กอัลลอย เซรามิกกับไทเทเนียม ป้องกันให้ทั้งคันปลอดภัยจากการถูกทำลายด้วยกระสุนปืนใหญ่และจรวด แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น A4 ก็มีระบบป้องกันตัวเองครบถ้วน เคยเป็นที่หมายตาของไทย ก่อนจะตัดสินใจเลือก ไอ้ปืนโต ซึ่งให้อุปกรณ์และระบบต่างๆ มากกว่า ราคาต่ำกว่า และประสิทธิภาพไม่ห่างกันมาก และผู้ผลิตยังตกลงถ่ายทอดเทคโนโลยีให้อีกด้วย.  </b>
10
<bR><FONT color=#000033>เสือดาว 2 เอ4 เวอร์ชั่นของ ทบ.ลอดช่อง ซื้อต่อจากเยอรมนีที่เปลี่ยนรุ่นไปใช้ A5 กับ A6 เข้าประจำการและปัจจุบันพัฒนาไปถึง A7 แต่นี่คือหนึ่งในรถถังหลักของกลุ่มนาโต้ ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม 2SG ของสิงคโปร์พัฒนาไปไกลกว่า Leopard 2 A4 รุ่นมาตรฐานจากโรงงาน ประเทศเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นเจ้าแรกที่ได้ครอบครอง และยังส่งคนไปฝึกอบมรมการใช้งานถึงเยอรมนี. </b>
11
<bR><FONT color=#000033>น่าจะเป็น เสือหมอบ มากกว่าเป็นเสือดาว Leopard 2SG ได้รูปลักษณ์เดิมทุกอย่าง แต่ระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติ ระบบสื่อสาร ระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เป็นรุ่นใหม่ อินโดนีเซียอาจเป็นเจ้าที่ 2 กำลังพันตูกับเยอรมนีเจรจาซื้อราว 100 คันในนั้นมี Leopard A4 Revolution รวมอยู่ด้วย ส่วนไทยกำลังจะเป็นเจ้าของ T-84 โอปล็อต ล็อตแรกในเดือน พ.ค.นี้ เป็นเจ้าแรกในย่านนี้เช่นกัน. </b>
12
<bR><FONT color=#000033>หลังโละรถถังจีนที่จอดตายกันยกล็อตไปทิ้งทะเลหมดในปลายปี 2553 ทบ.ไทยก็เหลืออยู่เพียง แพ็ตตันนายพลกระดูกเหล็ก 2 รุ่นคือ<i> M48 กับ M60 </i>ที่ซื้อต่อจากสหรัฐ ซึ่งไปส่งเสียงคำรามครั้งล่าสุดที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ไทยเซ็นซื้อ T-84 โอปล็อต 49 คันในปลายปี 2554 เพื่อแทน<i> M41 Walker Bulldog </i>ที่เคยมีอยู่ 200 คันและปลดประจำการไป ...49 คันจึงเป็นเพียงล็อตแรก.  </b>
13
กำลังโหลดความคิดเห็น