ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และ ชนิดของปั้นจั่น

ปั้นจั่น (Cranes of Derricks) หมายถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ ปั้นจั่นจัดเป็นเครื่องจักรอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่จำกัด (Limited Ared Equipment) กล่าวคือ เป็นเครื่องจักอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่จำกัด ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างและการติดตั้งทำให้สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุไปในแนวทางเดินของปั้นจั่นเท่านั้น

ปั้นจั่นที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุมีหลายประเภท อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งปั้นจั่นได้โดยใช้การเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์ได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน การใช้งานจะถูกจำกัดตามระยะที่ขาตั้งหรือล้อเลื่อนจะเคลื่อนที่ไปได้ หรือแขนของปั้นจั่นที่ติดบนหอสูงจะยาวไปถึง ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่มีการนำมาใช้มากในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ และการก่อสร้างตึกสูง
  2. ปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง หรือกล่าวได้ว่าติดตั้งอยู่บนยานพาหนะต่างๆ เช่น รถบรรทุก หรือรถตีนตะขาบ เป็นต้น ปั้นจั่นแบบนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ไปทำงานในบริเวณต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วถึงแม้ว่าจะแบ่งปั้นจั่นได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ แต่ละประเภทยังแบ่งย่อยได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตามในการเคลื่อนย้ายวัสดุภายในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ และที่นิยมใช้กันมาก คือ ปั้นจั่นแบบเหนือศีรษะหรือปั้นจั่นสะพาน (Overhead Cranes or Bridge Cranes) และปั้นจั่นแบบขาสูง (Gantry Cranes)

เครนประเภทต่างๆ

1.เครนเหนือศรีษะแบบคานเดี่ยว (Overhead Cranes : Single girder)

เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการยกน้ำหนักไม่มากนัก โดยทั่วไปจะมีความกว้างใช้งานประมาณ 6-22 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1-25 ตัน

2.เครนเหนือศรีษะแบบคานคู่ (Overhead Cranes : Double Girder)

มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-35 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 2 ตัน ถึง 250 ตัน

3.เครนสนามขาสูง 2 ข้างแบบคานเดี่ยว (Gantry Cranes : Single Girder)

Position or Job Title

มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดี่ยวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 – 22 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1 – 25 ตัน

4.เครนสนามขาสูง 2 ข้างแบบคานคู่ (Gantry Cranes : Double Girder)

มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มใต้หลังคาโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดี่ยวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวที่มีความเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักมาก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10 – 35 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 2 – 250 ตัน

5.เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว(Semi Gantry Cranes : Single Girder)

Position or Job Title

มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่โรงงาน โดยจะติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้างตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม และติดตั้งรางวิ่งที่พื้นด้านล่างของอาคารโรงงาน โดยจะมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6-22 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1-25 ตัน

6.เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่ (Semi Gantry Cranes : Double Girder)

มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่โรงงาน โดยจะติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้างตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม และติดตั้งรางวิ่งที่พื้นด้านล่างของอาคารโรงงาน โดยเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพื้นที่ใช้งานที่กว้างขึ้นและพิกัดยกที่เพิ่มขึ้น โดยจะมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-35 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 2-250 ตัน

7.เครนตั้งเสายื่นแขนหมุน (Pillar Jib Cranes)

Position or Job Title

มีความเหมาะสมสำหรับการยกสินค้าหรือวัตถุเฉพาะพื้นที่ ที่อยู่รอบรัศมีความยาวของแขนเครน โดยส่วนใหญ่จะมีความกว้างใช้งานไม่เกิน 10 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 125กิโลกรัม – 10 ตัน

8.เครนติดผนังยื่นแขนหมุน (Wall Jib Cranes)

มีความเหมาะสมสำหรับการยกสินค้าหรือวัตถุเฉพาะพื้นที่ ที่อยู่รอบรัศมีความยาวของแขนเครน ต่างจาก Pillar Jib Cranes ตรงที่ยึดติดกับเสาโครงสร้างเพื่อให้แขนหมุนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะมีความกว้างใช้งานไม่เกิน 10 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 125กิโลกรัม – 10 ตัน

9.เครนติดผนังยื่นแขนยก (Wall Jib Cranes)

Position or Job Title

มีความเหมาะสมสำหรับการยกสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน เครนติดผนังแขนยกนั้นมีชุดขาเครน 3 ขา 6 ล้อ วิ่งอยู่บนราง 2 ชั้น ชุดขาเครนทั้งหมดจะยึดไว้ที่รางวิ่งทั้งสองชั้น ติดตั้งกับเสาด้านผนังโรงงาน คานยื่นออกมาจากผนังโดยปล่อยปลายอิสระด้านหนึ่ง ซึ่งใช้งานยกวัตถุตลอดแนวด้านข้างตัวอาคารเช่นเดียวกับเครนขาสูงข้างเดียว แต่จะมีความสะดวกมากกว่า โดยส่วนใหญ่จะมีความกว้างใช้งานไม่เกิน 6 เมตร และจะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 125 กิโลกรัม – 5 ตัน

10.เครนเหนือศรีษะแขวนวิ่งใต้ราง (Underhung Cranes)

สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยว และแบบคานคู่ ตามความเหมาะสมด้านการใช้งานเกี่ยวกับการยกน้ำหนัก และความกว้างในตัวอาคารโรงงาน ดังที่ได้กล่าวอธิบายไว้แล้วในส่วนของเครนเหนือศีรษะที่วิ่งด้านบนรางวิ่ง แต่สำหรับความแตกต่างกันที่ต้องนำเครนเหนือศีรษะลงมาแขวนวิ่งใต้รางก็คือ เครนลักษณะนี้มีความเหมาะสมใช้กับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมบางอย่างที่ต้องการใช้งานพื้นที่ด้านล่างกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นอาคารโรงจอดซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 1-12.5 ตัน

11.รอกรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว(Monorail Cranes)

Position or Job Title

รอกติดตั้งและเคลื่อนที่ตามรางเดี่ยวที่ติดตั้งตามสภาพโครงสร้างของกระบวนการผลิต ตัวรางจะเป็นรางเดี่ยวสามารถออกแบบให้เป็นเส้นตรงหรือคดเคี้ยวตามลักษณะงาน ตัวรอกสามารถเดินหน้าถอยหลัง เข้าโค้งได้ จึงทำงานได้สี่ทิศทางเดินหน้าถอยหลัง ขึ้นลงตามแนวดิ่ง พิกัดยกประมาณ 0.5 – 10 ตัน


Want to work with us?


Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้