เมื่อจะสร้างบ้านสักหลัง หรือทำโครงการสักโครงการหนึ่ง ทุกคนรู้ดีว่าเรื่องของความแข็งแรงสำคัญที่สุด และสิ่งที่เป็นพื้นฐานความแข็งแรงมั่นคงของบ้านคือ “โครงสร้าง” ทั้งส่วนที่อยู่ใต้ดินและเหนือดินซึ่งล้วนมีคอนกรีตเป็นส่วนผสมร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเสาเข็ม ฐานราก พื้น หรือหลังคา

แต่การที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอย่างไรนั้นส่วนใหญ่จะให้ผู้รับเหมาเป็นคนตัดสินใจเจ้าของบ้านมักใช้เวลาไปกับการเลือกผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ตัวเองสนใจหรือถนัด เช่น วัสดุปูพื้น, วัสดุท็อปเคาน์เตอร์ครัว, กระเบื้องเซรามิก มากกว่า

แต่ถ้าคิดอีกที “ความแข็งแรง” ที่เป็น “หัวใจ” สำคัญของการก่อสร้างถ้าเจ้าของบ้านมีความเข้าใจและมีส่วนในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่เหมาะสมก็น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้ “บ้าน” ที่เปรียบเป็น “วิมาน” ของตนเองจะมีความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยมากขึ้น

แม้แต่ผู้รับเหมาหรือช่างผู้เชี่ยวชาญเองหากคุณรู้จักผลิตภัณฑ์คอนกรีตดีพอ คุณก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เจ้าของบ้านได้ด้วยเช่นกัน

คอนกรีตเรื่องไม่ยากอย่างที่คิด 

คอนกรีต คือวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงการก่อสร้างมานานนับพันปี เริ่มจากการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในยุคโรมัน เช่น วิหาร โบสถ์ กำแพงขนาดใหญ่ จึงถือได้ว่าคอนกรีตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน

คอนกรีตประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วน คือ วัสดุประสาน อันได้แก่ ปูนซีเมนต์กับน้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ผสมกับวัสดุผสมอันได้แก่ ทราย หินหรือกรวด เมื่อนำมาผสมกันจะคงสภาพเหลวอยู่ช่วงเวลาหนึ่งพอที่จะนำไปเทลงในแบบหล่อที่มีรูปร่างตามต้องการ หลังจากนั้นจะแปรสภาพเป็นของแข็ง ที่มีความแข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้นตามอายุของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์คอนกรีตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

คอนกรีตหล่อในที่

นิยมใช้ร่วมกับงานโครงสร้างอาคารเป็นหลัก เช่น เสา คาน รวมทั้งพื้น (Slab) โดยหากเป็นงานเล็กๆ ช่างสามารถจะผสมด้วยมือ แต่หากเป็นงานใหญ่ จุดสำคัญหรืองานโครงสร้างบ้านทั่วไป จะนิยมใช้คอนกรีตผสมเสร็จ หรือที่เราเคยเห็นรถโม่ปูนมาส่งหน้างานนั่นเอง โดยคอนกรีตเหล่านี้ผ่านการผสมมาจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต มีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและส่วนผสม ผ่านการผลิตด้วยเครื่องจักร จึงสามารถควบคุมคุณภาพของคอนกรีตได้ดี รวมทั้งอำนวยความสะดวก ลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการทำงานให้แก่ช่างหน้างานอีกด้วย

คอนกรีตสำเร็จรูป

สำหรับงานบางชนิดที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูป ที่ผลิตโดยการหล่อตามแบบจนแล้วเสร็จภายในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งไปติดตั้งในพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อช่วยให้งานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น เสาเข็ม แผ่นพื้นสำเร็จรูป หรือหากท่านใดอยู่อาศัยในโครงการจัดสรรขนาดใหญ่ หลาย ๆ โครงการนิยมใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือที่เรียกกันว่า ผนังพรี-คราสท์ โดยผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานผลิตคอนกรีตที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา (ASTM)

ดังนั้น การเลือกใช้งานคอนกรีตหล่อในที่กับคอนกรีตสำเร็จรูปมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานนั้นๆ

แล้วการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปควรเลือกอย่างไร

3 งานหลักที่นิยมนำคอนกรีตมาใช้งาน

งานพื้นและหลังคาคอนกรีต

กรณีเป็นพื้นบ้านที่ไม่ติดกับดินและไม่ได้เป็นส่วนของหลังคาหรือห้องน้ำ เช่น พื้นบ้านยกสูงมีคานพื้นรองรับ หรือพื้นบ้านตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป สามารถซื้อแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปมาใช้งานได้เลย จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับงานก่อสร้างเป็นอย่างมาก หลังจากปูพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปเสร็จแล้ว ช่างจะทำการเทปูนทับอีกครั้ง เพื่อทำการปูกระเบื้องหรือตกแต่งพื้นในลำดับถัดไป

แต่หากเป็นงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือพื้นที่มีความชื้น เช่น พื้นติดกับดิน (Slab on Ground) หลังคาคอนกรีต พื้นห้องน้ำ หรือแม้แต่พื้นลานจอดรถ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้คอนกรีตหล่อในที่ เนื่องจากแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปจะมีช่องรอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีตด้วยกัน ซึ่งช่องรอยต่อนี้อาจก่อให้เกิดการรั่วซึมภายหลังได้

งานผนังคอนกรีต

ส่วนงานผนังคอนกรีตจะขึ้นอยู่กับปริมาณงาน หากเป็นบ้านเดี่ยวสร้างแบบดังกล่าวเพียงหลังเดียวจะไม่คุ้มกับการผลิตในโรงงานซึ่งมีต้นทุนแบบหล่อที่สูง แต่หากเป็นการสร้างบ้านภายในโครงการจัดสรร ซึ่งมีแบบบ้านเดียวกันสร้างเหมือนกันหลายๆ หลัง ลักษณะนี้หากใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจะช่วยลดต้นทุนงานก่อสร้างและเพิ่มความรวดเร็วในการส่งบ้านให้ลูกค้า

คอนกรีตกับงานเสาเข็ม

เสาเข็มคอนกรีตที่นิยมใช้แบ่งเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงและเสาเข็มเจาะ กรณีเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป ขั้นตอนการทำงานไม่ซับซ้อน โดยผู้รับเหมาจะใช้ปั้นจั่นตอกกระแทกลงพื้น นิยมใช้ร่วมกับบ้านและอาคารพาณิชย์ทั่วไป ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเสาเข็มเจาะ

แต่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปมีข้อจำกัดในการใช้งาน ทั้งด้านขนาดความยาวของเสาเข็มและสถานที่ก่อสร้าง กรณีพื้นที่หน้างานมีบ้านหลังอื่นๆ สร้างติดกันก่อนหน้า การใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะส่งผลให้บ้านข้างเคียงเกิดรอยร้าวได้ หรือกรณีหน้างานมีพื้นที่แคบ ซึ่งยากต่อการนำปั้นจั่นไปใช้ในงานก่อสร้างภายในเมือง จึงนิยมใช้เสาเข็มเจาะมากกว่าเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง โดยจะใช้เครื่องมือเจาะตามขนาดและความลึกที่วิศวกรกำหนด จากนั้นใส่เหล็กและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสา กระบวนการนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับบ้านข้างเคียง สามารถทำในพื้นที่แคบๆ ได้ และสามารถทำเสาเข็มได้ยาวกว่าเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง จึงเหมาะอย่างยิ่งกับอาคารสูงและบ้านทั่วไปที่สร้างในตัวเมือง

ทุกครั้งที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่มีคุณภาพ มองหาสัญลักษณ์ “ใช้ปูนเอสซีจี”

เอสซีจี คือบริษัทที่เป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์มายาวนานกว่าศตวรรษ และเป็นผู้สร้างนวัตกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับงานโครงสร้างในทุกพื้นที่ และที่สำคัญยังใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

ดังนั้นสัญลักษณ์ “ใช้ปูนเอสซีจี” คือสัญลักษณ์เดียวที่ให้เจ้าของบ้าน หรือช่างผู้รับเหมามั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น เสาเข็ม แผ่นพื้น ผนังสำเร็จรูป พรี-คราสท์ และคอนกรีตสำเร็จรูป (ซีแพค) ที่ซื้อจากโรงงานที่มีสัญลักษณ์ “ใช้เป็นเอสซีจี” นั้นเป็นโรงงานคอนกรีตที่เลือกใช้ปูนเอสซีจี ซึ่งเป็นปูนซีเมนต์คุณภาพสูง เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

โดยโรงงานคอนกรีตที่ได้รับรองสัญลักษณ์ “ใช้ปูนเอสซีจี” จะแตกต่างจากโรงงานคอนกรีตทั่วไปเพราะเป็นโรงงานที่ใช้ปูนเอสซีจีในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต 100% ได้รับการบริการและคำแนะนำจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก SCG และเป็นโรงงานผ่านการตรวจสอบเกณฑ์คุณภาพ (Endorsed Scores) ทั้ง 6 ด้าน คือ การผลิต คุณภาพ เครื่องจักร ความปลอดภัย ความสะอาด และสิ่งแวดล้อม

เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าผลิตภัณฑ์สัญลักษณ์ “ใช้ปูนเอสซีจี” จะสร้างโครงสร้างที่ “แข็งแรงจากข้างใน” สู่ “ความสวยงามข้างนอก” ได้อย่างแน่นอน

สามารถค้นหาร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ “ใช้ปูนเอสซีจี” ได้ที่ http://www.ใช้ปูนเอสซีจี.com จากนั้นโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้ากับร้านค้าที่อยู่ใกล้พื้นที่ได้ทันทีด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับบ้านและโครงการที่เรารักอีกทางหนึ่ง



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online