ตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น น้ำร้อน ปี 2566 3.2 พันล้านบาท โตหลักหน่วยดิจิต แต่สตีเบล เอลทรอน เผยยังใช้ 20% ของครัวเรือน ยังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ไตรมาส 4 เงินสะพัดมากสุด 50% ในรอบปี ขอปล่อยโปรดักต์ แคมเปญ ชิงมาร์เก็ตแชร์ต่อเนื่อง 

นายโรลันด์ เฮิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จำกัด กล่าวว่า ยอดขายของบริษัททั่วโลก ปี 2023 อยู่ที่ 1,143 ล้านยูโร เติบโต 19.35% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่าน สัดส่วนครึ่งหนึ่งมาจากตลาดนอกประเทศเยอรมนี (บริษัทแม่) โดยเครื่องทำน้ำร้อน หรือ ฮีทปั๊ม เป็นโปรดักต์ฮีโร่ของบริษัท 

ยอดขายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1,520 ล้านบาท เติบโต 10% แบ่งเป็นยอดขายในไทย 70% หรือ 1,065 ล้านบาท เติบโต 8% ครั้งแรกที่มียอดขายแตะพันล้านบาท และยอดขายส่งออกในภูมิภาคสัดส่วน 30% หรือ 455 ล้านบาท 

รวมผลิตโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา ฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค ประมาณ 500,000 เครื่อง สำหรับทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โรงงานยังคงเน้นผลิตเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน และเครื่องทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม และอยู่ระหว่างดำเนินงานซื้อที่ดิน เพื่อขยายโรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทย 

อัปเดตตลาดเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อนในไทย มูลค่า 3,200 ล้านบาท รวม 900,000 ยูนิต เติบโตไม่เกินหนึ่งดิจิต สตีเบล เอลทรอน มีมาร์เก็ตแชร์ มูลค่า 22% ยูนิต 23%    

อันดับ 1 ของกลุ่มเครื่องทำน้ำร้อน และไม่ใช่อันดับ 1 ในกลุ่มเครื่องทำน้ำอุ่น แต่หากรวมทั้ง 2 กลุ่ม มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุด ด้านมูลค่า แต่ไม่ใช่ด้วยยูนิต 

พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาด เครื่องทำน้ำอุ่น น้ำร้อน ปัจจุบันเป็นไลฟ์สไตล์โปรดักต์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าซีซันนอล เทศกาลลดราคาปลายปี และความเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ก็ทำให้ไตรมาส 4/2566 ยังเป็นช่วงที่มีเงินสะพัดในตลาดมากที่สุด สัดส่วน 50% ของยอดขายในรอบปี 

และปัจจุบัน ครัวเรือนไทยยังมีเครื่องทำน้ำอุ่น น้ำร้อน 20% ทำให้ตลาดยังมีช่องทางเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมาก    

แผนดำเนินงาน ปี 2024 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 100 ปี แบรนด์ STIEBEL ELTRON (ก่อตั้งปี 1924) บริษัทเดินหน้าเปิดตัวสินค้าใหม่ ๆ ต่อเนื่อง ทั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน ฮีทปั๊ม ฯลฯ  

และปล่อยแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ อาทิ ภาพยนตร์โฆษณา งาน Print Ad ทั้งออนไลน์ ออนกราวด์ 

และเปิดตัวเป็นผู้สนับสนุน บีจี ปทุม (BG Pathum United) สโมสรฟุตบอลในไทยลีก (Thai League) ติดต่อกันเป็นปีที่ 6

แผนรุกตลาดในภูมิภาค หลังปี 2565 ได้ตั้งบริษัทลูกในเวียดนาม เปิดโชว์รูม แต่งตั้งดีลเลอร์ และใช้โนว์ฮาวจากบริษัทแม่ในภูมิภาค (ไทย) มาเจาะตลาดโมเดิร์นเทรดต่อเนื่อง และเตรียมเปิดช่องทางอีคอมเมิร์ซ ปี 2567 โดยการที่พฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดมีความคล้ายคลึงกับไทย ทำให้บริษัทเลือกเวียดนามเป็นตลาดที่จะใช้ขยายฐานผู้บริโภคในภูมิภาคนี้



ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online