สิ่งที่ทำให้สินค้าที่มีความ ‘เหมือนกัน’ ‘แตกต่าง’ กันได้ก็คือการสร้างแบรนด์

เช่นเดียวกับน้ำเปล่าเมื่อมีความใสเหมือนกัน สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อน้ำเปล่าจึงเป็นเรื่องของแบรนด์

– น้ำทิพย์ โดดเด่นในเรื่องของ Packaging ที่ปรับขวดจากสีฟ้าในอดีต มาเป็นขวดสีเขียวแบบบาง พร้อมตั้งสโลแกนให้กับขวดแบบใหม่ว่าเลือก-ดื่ม-บิด และเน้นขายความรักษ์โลก

– SPRINKLE สร้างจุดเด่นให้ตัวเองในแง่ของดีไซน์ขวดน้ำที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ที่มีในตลาดอย่างเห็นได้ชัด

– น้ำดื่มคริสตัล สร้างความแตกต่างด้วยการดึงนาย ณภัทรมาเป็นพรีเซนเตอร์ จนกลายเป็นประโยคที่หลายคนพูดตามนาย ณภัทร กันว่า ‘คริสตอล’ ไม่ใช่ ‘คิดตั้น’

– น้ำดื่มสิงห์ นอกจากจะดึงณเดชน์มาเป็นพรีเซนเตอร์แล้ว ก็ยังเป็นแบรนด์น้ำดื่มที่มีความแข็งแรงในแง่ของการทำออนไลน์และการสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค ด้วยกลยุทธ์สะสมรหัสใต้ฝาเพื่อเป็นคะแนนเอาไปแลกรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ หรือลุ้นเป็นรางวัลใหญ่

– น้ำดื่มตราช้าง แม้จะไม่มีการตลาดโดดเด่นมากเท่ากับน้ำดื่มแบรนด์อื่น แต่ในแง่ของ Offline น้ำดื่มตราช้างมีช่องทางการกระจายสินค้าใน Local ที่แข็งแรงมากทีเดียว ด้วยการขายพ่วงไปกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของแบรนด์

– Nestle เพียวไลฟ์ ดึงเป๊ก ผลิตโชค ซึ่งเป็นศิลปินที่มีกลุ่มแฟนคลับที่หนาแน่น มาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์

ซึ่งนอกจากจะเอาไว้ดื่มแล้ว น้ำเปล่าก็ยังเป็นอีกเครื่องมือในการทำการตลาดที่เรียกว่า Surrogate Marketing ด้วยเช่นกัน หากแปลกันตรง ๆ คำว่า Surrogate ในพจนานุกรมจะมีความหมายว่าตัวแทน
 
แต่หากนำมาปรับใช้ทางการตลาดคำว่า Surrogate Marketing คือกลยุทธ์ที่สินค้าอย่างเหล้า เบียร์ หรือยาสูบ จะนำมาใช้ในการทำโฆษณา เพื่อให้การทำโฆษณาแบรนด์นั้นไม่ผิดกฎหมาย
 
อีกประเด็นหนึ่งที่น้อยคนนักจะสังเกตเห็น ว่าบนขวดของน้ำเปล่าก็มีวันหมดอายุเหมือนกับสินค้าอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ราว ๆ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต
 
เห็นไหมล่ะว่าภายใต้ความใสนั้นมีอะไรต่าง ๆ ซ่อนอยู่มากมายเลย
 
แล้วคุณละชอบดื่มน้ำเปล่าของแบรนด์ไหนมากที่สุด?
I-


ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.
Marketeer ฉบับดิจิทัล : อ่านบน Ookbee / อ่านบน meb
.
Marketeer ฉบับ PDF : https://marketeermagazine.com/
.
Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online