หัวนก
หัวของนกจะต่อกับปากและลำตัว นกบางชนิดอาจมีสีเดียวกันตลอดจากหัวจนถึงลำตัว แต่บางชนิดจะมีสีต่างกัน และบางชนิดยังมีหลาย ๆ สีรวมกันด้วย

คอนก
จะเป็นส่วนที่ต่อระหว่างหัวและลำตัว โดยทั่วไปจะไม่เด่นชัด ยกเว้นนกบางชนิดที่มีคอ
ยาวเห็นเด่นชัด ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษออกไป

จงอยปาก
ปากของนกจะเป็นกระดูก 2 ชิ้นมาประกบกัน ประกอบด้วยขากรรไกรบนและ
ขากรรไกรล่าง รูปร่างของปากจะมีความสัมพันธ์กับการกินอาหารของนกด้วย
และเราสามารถใช้จำแนกประเภทของนกได้เช่นกัน
 

รูปที่ 1 จงอยปากอ้วนสั้นเป็นรูปกรวย จึงเป็นพวกกินเมล็ดพืชเป็นอาหาร เช่น นกกระจาบ
รูปที่ 2 จงอยปากยาวเรียวเล็กและแหลม เป็พวกนกกินน้ำหวาน เช่น นกกินปลี
รูปที่ 3 จงอยปากงุ้มแหลม เป็นพวกนกกินเนื้อ เช่น เหยี่ยว
รูปที่ 4 จงอยปากยาวใช้สำหรับทิ่มไปในโคลน เป็นพวกนกชายเลน เช่น นกปากส้อม
รูปที่ 5 จงอยปากแหลมแข็งแรงใช้สำหรับเจาะต้นไม้ เช่น นกหัวขวาน
รูปที่ 6 จงอยปากเรียวแหลมคลายหอกใช้แทงหรือจับปลาและสัตว์น้ำ เช่น นกกระยาง
รูปที่ 7 จงอยปากเว้าโค้งตรงปลาย สำหรับคาบหอย เช่น นกปากห่าง
ลำตัว
โดยทั่วไปมักจะเป็นรุ)กระสวย ด้านบนเป็นส่วนหลังและตะโพก ด้านล่างแบ่งออกเป็น อก ท้องและใต้ขา นกส่วนใหญ่นั้นทั้งอกและหลังมักจะมีสีเดียวกันจะมีเพียงไม่กี่ชนิด
ที่มีสีบนลำตัวต่างกัน

ปีก
เป็นขาหน้าที่ดัดแปลงไปสำหรับบิน โดยประกอบด้วย ขนสำหรับบิน ขนสำหรับปกคลุม
ปีก ซึ่งอยู่ทางด้านบนและล่างของปีก และทั้ง 2 ด้านต่างก็มีหลายชั้น โดยปกติจะมี 3 ชั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามปกติแล้วปีกมักจะมีสีเดียวกับลำตัว

หาง
หมายถึงขนที่ยื่นยาวออกไป ซึ่งนกมีไว้สำหรับเป็นหางเสือในขณะที่ทำการบิน หรือใช้
ประโยชน์อย่างอื่น หางของนกมักจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของนก

ขา
ขาของนกเป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งเพราะจะแสดงให้เห็นถึงสภาพและที่อยู่ของนก
ขาจะประกอบไปด้วย ต้นขา ซึ่งเป็นส่วนบนสุดจึงมักจะมองไม่เห็นน่องจะต่อจากต้นขา
ลงมาสามารถมองเห็นได้ แข้ง ตามปกติจะเป็นเกล็ด นิ้วเท้า โดยทั่วไปจะมี 4 นิ้ว เรียง
ไปข้างหน้า 3 ด้านหลัง 1 นิ้ว หรือหันไปข้างหน้า 2 และหันไปข้างหลัง 2 นิ้ว และเท้า
ของนกยังสามารถแยกลักษณะของนกได้อีกเช่นกัน
 

รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกที่สามารถว่ายน้ำได้ด จึงมีพังพืดระหว่างนิ้ว เช่น นกเป็ดน้ำ
รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกกินเนื้อ จึงมีกรงเล็บที่แข็งแรงใช้สำหรับจับเหยื่อ เช่น เหยี่ยว
รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกที่เกาะอยู่ตามลำต้นของต้นไม้ จึงมี 2 นิ้วหลังยันตัว เช่น นกหัวขวาน
รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกที่หากินตามริมน้ำ จึงมีนิ้วเท้ายาวเพื่อไม่ให้จมโคลน เช่น นกกระยาง
รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกที่หากินอยู่บนกอไม้น้ำ จึงมีนิ้วเท้าที่ยาวมาก ๆ เพื่อให้เดินได้ดี เช่น นกพริก
รูปที่ 1 เป็นเท้าของนกที่ไม่ชอบเกาะต้นไม้ แต่มักจะหากินบนดินจึงมีหัวแม่เท้าสั้น เช่น นกต้อยตีวิด
 

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการดูนก