ประวัติผ้าบาติก

ประวัติผ้าบาติก

กระบี่ บาติก

ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสีและย้อมสีนับเป็นสิบ ๆ ครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ
คำว่าบาติก {Batik} หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายที่เป็นจุด คำว่า “ ติก ” มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าตริติก หรือ ตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติกจึงมีความหมายว่าเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน { wax- writing} ดัง นั้นผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติด สี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของผ้าบาติกก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือปิดส่วนที่ ไม่ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก

แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย
จาก การศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย
การ ทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนาใน คริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “ คราทอน ” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยมเขียนด้วยมือ (batik tulis) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้า บาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้นการผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้า บาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป
ผ้า บาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ 17 ได้มีการค้นพบสีอื่น ๆ อีก เช่น สีแดง สีน้ำตาลสีเหลือง สีต่าง ๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ ทำให้ออกเป็นสีต่าง ๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่น ๆ อีกในระยะต่อมา

ปลาย ศตวรรษที่ 17 ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นการก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม การระบายสีซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติกได้จำนวนมากขึ้น และได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าส่งออก

ใน ปี ค . ศ . 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวา และได้ส่งมาจำหน่ายทีเกาะชวาและในปี ค . ศ . 1940ชาวอังกฤษได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน
ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษ ที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง
ซึ่งเรียกว่า “ จั๊บ ”(cap) ทำไห้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้นต้น ทุนก็ถูกลง ทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม
ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพา ะ ในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็ก เท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ
    1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่ง โดยทั่วไปนิยมผ้า หน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่งถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า “ ปาเต๊ะ ” หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลาย
สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน
    2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ ผ้าทับ ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย ผ้าสลินดัง มีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
    3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพ – บุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ ซุรบาน ” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า “ คิมเบ็น ” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
สำ หรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความ พยายามของคนรุ่นต่อมา ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู๋ประเทศอื่น

บาติกในประเทศไทย
ในประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกเป็นอุตสาหกรรมกันมานานแล้ว มีการผลิตในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี สงขลา นราธิวาส และในภาคกลาง เช่น กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย เชียงใหม่ พัทยา เป็นต้น แต่การแพร่หลายของผ้าบาติกนั้นเริ่มเข้ามาทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียอีกทอดหนึ่ง
คนไทยรู้จักผ้าบาติกในลักษณะของ “ผ้าพันหรือผ้าปาเต๊ะพัน” โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คือ พันรอบตัว คำว่า “โสร่ง” ก็มาจากภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน หมายถึง ผ้านุ่ง คนในท้องถิ่นภาคใต้ เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียกผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทยว่า “ผ้ายาวอ” หรือ “จาวอ” (Java) ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อตามลักษณะของผ้าเป็นภาษาพื้นเมืองชายแดนภาคใต้ 4 ชนิด คือ
1.จาวอตูเลส (Java Tulis) ใช้เรียกผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียนด้วยจันติ้งตลอดทั้งผืน
2.จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่) ใช้เรียกชื่อผ้าปาเต๊ะที่มีคุณภาพดีชั้นหนึ่ง เนื้อดีเบาบาง และผ้าผืนหนึ่ง ๆ สามารถม้วนได้เพียง 1 กำมือเท่านั้น
3.จาวอบือเละ ซึ่งหมายความว่า ผ้าพันชวา ใช้เรียกผ้าบาติกที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 – 4 หลา เป็นลักษณะของผ้าที่ไม่เป็นตะเข็บผ้าให้ติดกันเป็นถุง แต่ใช้วิธีนุ่งแบบพันรอบตัว บางแห่งเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าบาติกพัน (ผ้าพัน)
4.จาวอซือแย ผ้าชวาตราดอกจิก เป็นผ้านุ่งที่มีคุณภาพดี มีตราดอกจิกเป็นเครื่องหมายการค้า และเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ชาวไทยที่มีฐานะดี
ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้จักการทำผ้าบาติก โดยได้รับเทคนิคมาจากมาเลเซียและได้ตั้งโรงงานผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนอยู่ใต้ถุนบ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ซึ่งมีคนงานระหว่าง 50 – 100 คน แบ่งหน้าที่การผลิตออกเป็นแผนก ๆ ล้วนแต่อยู่ในจังหวัดนราธิวาสเสียเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอสุไหงโก-ลก ผ้าบาติกในช่วงปี พ.ศ. 2510 – 2522 เป็นช่วงที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด
ในปัจจุบันบาติกลายเขียนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายมาก ทำให้สามารถผลิตผ้าได้หลายรูปแบบกว่าเดิม และสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่าบาติกพิมพ์ ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมผ้าบาติกในภาคใต้หันมาผลิตผ้าบาติกลายเขียน เกิดการแข่งขันในตลาดโดยแสดงลักษณะงาน รูปแบบและเอกลักษณ์ของตนเอง จนผ้าบาติกบางชิ้นกลายเป็นจิตรกรรมที่มีราคาสูงกว่าทั่วไปมาก ผ้าที่นิยมทำกันมาก ได้แก่ ผ้าโสร่ง ผ้าชิ้น และเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น
ส่วนเทคนิคการทำผ้าบาติกในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติก 4 วิธี คือ
1. บาติกลายพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะ ไม้ และเชือก และนำไปย้อม 3-4 ครั้ง
2. บาติกลายเขียน คือ เขียนเทียนลงบนผ้า นำไปย้อม อาจมีการปิดทียนเพื่อเก็บสี และย้อมอีก 1 – 2ครั้ง
3. บาติกลายเขียน และระบายสี เป็นการเขียนเทียนบนผ้า แล้วระบายสีทั่วทั้งผืน
4. บาติกกันเทียน ลัดสี ของจังหวัดลำพูน
ปัจจุบัน อินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า “ จันติ้ง ” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะทองแดง (Cap , Print , Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า “ ศูนย์พัฒนาบา – ติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา ( Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta)

การ พัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้า แบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมชาว อินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical- batik) แต่ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบัน
ศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาวยุโรปและอเมริกา

ใส่ความเห็น