วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ขนมสอดไส้

ผู้จัดทำโครงงาน

ด.ญ.ปภาวดี  อิ่มเอี่ยม  เลขที่ 19
ด.ญ.ศศิกานต์  อยู่เกตุ  เลขที่ 21
ด.ญ.กมลพรรณ  สุริยะ  เลขที่ 24
ด.ญ.จารุภา  เครืออยู่  เลขที่ 27
มัธยมศึกษาปีที่ 3/3

ครู ธีรพล    คงมีผล
ครูที่ปรึกษา

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์
โรงเรียนเทศบาล3วัดชัยชนะสงคราม
อำเภอเมือง จังหวัดตาก





บทคัดย่อ
         ขนมสอดไส้  นี้เป็นโครงงานเพื่อการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การทำขนมสอดไส้โดยสร้างเป็นสื่อผ่านเว็บบล็อกwww.blogger.com
    คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยเสนอผลงานผ่านเว็บบล็อกในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผลการจัดทำโครงงานพบว่าการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมสอดไส้ในระบบเครือข่ายอินเตอร์ได้รับความสนใจและเป็นสื่อที่มีประโยชน์




กิตติกรรมประกาศ
            โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งของครูที่ปรึกษา ครูธีรพล คงมีผล  ที่ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอดและขอขอบคุณครอบครัวของคณะผู้จัดทำคนที่คอยให้ความช่วยเหลือในการรับส่งคณะผู้จัดทำ และคอยถามไถ่ความเป็นมาของโครงงานอยู่เสมอซึ่งทำให้คณะผู้จัดทำโครงงานทุกคนมีกำลังใจในการทำโครงงานจนสำเร็จ คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทำ





สารบัญ
         เรื่อง                                                                                                                    หน้า

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                               1-2
บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                                                                          3-6
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                              7-8
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ                                                                                               9
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ                                                                                   10
บรรณานุกรม                                                                                                                  11
ภาคผนวก                                                                                                                      12




บทที่ 1 
บทนำ

แนวคิด ที่มา และความสำคัญของโครงงาน
      ประเทศไทยมีการทำขนมไทยมาตั้งแต่โบราณที่คนไทยชอบรับประทาน  ในภาษาราชการ  เรียกว่า ขนมสอดไส้  แต่แถวบ้านเราเรียกว่า  ขนมค่อมเราสามารถรับประทานในเวลาว่างและที่สำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย และขนมสอดไส้มีความโดดเด่นในหลายด้าน เช่น ความที่เป็นขนมโบราณ และยังคงนำมาขายและสร้างรายได้และเพื่อเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังรับรู้และศึกษาต่อเกี่ยวกับวิธีการทำขนมสอดไส้ได้ แต่ปัญหาที่พบเจอคือประชาชนนิยมรับประทานขนมสมัยใหม่ไม่หันมารับประทานขนมพื้นบ้านพื้นเมืองแบบขนมสอดไส้
       เราจะทำขนมสอดไส้โดยวิธีการอย่างพิถีพิถันและจะทำโดยวัสดุธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่และเราจะได้รับประทานและได้รับประโยชน์จากการทำขนมและคุณค่าทางการบริโภคและอีกทั้งยังทำให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในการจัดงานพิธีมงคลต่างๆเช่น เลี้ยงแขกในงานและเพณีต่างๆด้วยและตอบสนองให้คนนิยมรู้จักขนมไทยโบราณมากขึ้น
     การที่ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำขนมสอดไส้นั้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและเพื่อที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ได้เผยแพร่ต่อสมาชิกในห้องเรียนและคนในสังคมเพื่อได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมสอดไส้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่แก่ผู้คนที่สนใจ
2.เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของขนมสอดไส้
3.เพื่อให้อนุรักษ์และสืบสอนการทำขนมสอดไส้

ขอบเขตของโครงงาน
จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของขนมสอดไส้
2.เป็นแหล่งเรียนรู้กับผู้คนที่สนใจ
3.เพื่ออนุรักษ์และสืบสอนการทำขนมสอดไส้





บทที่ 2
เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์โปรแกรม Microsoft word 2010
1.มีระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ช่วยในการทำงานสะดวกขึ้น
2.สามารถใช้ Word สร้างตารางที่สลับซับซ้อนย่างไรก็ได้
3.สามารถใช้สร้างจดหมายได้อย่างรวดเร็ว
4.ตกแต่งเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถตกแต่งเอกสารหรือเพื่อความสะดวก
5.สามารถแทรกรูปภาพ กราฟ หรือผังองค์กรลงในเอกสารได้
6.สร้างเอกสารให้ใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายๆ
7.ความสามารถในการเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นๆในชุดโปรแกรม Microsoft Office 2010

ประโยชน์ Web blog
1.ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้
2เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้
3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้
4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ
5. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้


ประวัติความเป็นมา
     ขนมใส่ไส้" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เดี๋ยวนี้จะหาขนมใส่ไส้ที่มีรสอร่อยซึ่งมีทั้งกลิ่นหอมและหวานมัน มารับประทานได้ยาก เพราะขนมใส่ไส้ที่อร่อยต้องใส่กะทิที่ข้นมัน ซึ่งมะพร้าวเดี๋ยวนี้ราคาก็แพงน่าดู สำหรับตัวแป้งที่หุ้มใช้ทั้งแป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำเวลานวดต้องค่อยๆ ใส่น้ำแล้วต้องนวดนานๆ เม็ดแป้งจะอุ้มน้ำได้ดีเพราะเป็นแป้งแห้งแป้งจะมีความเหนียวดีไม่เหมือนในสมัยก่อนจะใช้แป้งที่โม่เองแป้งก็จะเปียกและอุ้มน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องนวดนานหน้าของขนมเวลากวนแล้วต้องรีบตักหยอดขณะที่ร้อนอยู่จึงจะเรียบเวลาห่อขนมจะได้รูปตามที่ห่อและน่ารับประทานใบตองที่ใช้ห่อขนมใส่ไส้ควรใช้ใบตองตาน สำหรับตัวแป้งที่หุ้มใช้ทั้งแป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำเวลานวดต้องค่อยๆ ใส่น้ำแล้วต้องนวดนานๆ เม็ดแป้งจะอุ้มน้ำได้ดีเพราะเป็นแป้งแห้งแป้งจะมีความเหนียวดีไม่เหมือนในสมัยก่อนจะใช้แป้งที่โม่เองแป้งก็จะเปียกและอุ้มน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องนวดนานหน้าของขนมเวลากวนแล้วต้องรีบตักหยอดขณะที่ร้อนอยู่จึงจะเรียบเวลาห่อขนมจะได้รูปตามที่ห่อและน่ารับประทานใบตองที่ใช้ห่อขนมใส่ไส้ควรใช้ใบตองตานีพา


วัตถุดิบ สำหรับ 30 ห่อ
น้ำตาลปี๊ป 200 กรัม
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สำหรับไส้ , เกลือป่น 1 ช้อนชา สำหรับกะทิ
มะพร้าวทึนทึกขูด
แป้งข้าวเหนียว 350 กรัม
น้ำใบเตยปั่นละเอียด 300 มิลลิลิตร
กะทิ 800 มิลลิลิตร
แป้งข้าวเจ้า 80 กรัม
กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา
ไม้สำหรับกลัด หรือไม้จิ้มฟัน
ใบตองเช็ดสะอาดสำหรับห่อขนม


วิธีทำ
1.นำใบตองที่สำหรับห่อมาตัดเป็น 2 ขนาด ฉีกใบตองชั้นนอก 5 นิ้ว และสำหรับชั้นใน 4 นิ้ว และนำมาตัดมุมให้เป็นทรงวงรี เช็ดให้สะอาด และนำไปลนไฟเล็กน้อยเพื่อให้ห่อขนมได้ง่าย
2.นำมะพร้าวทึนทึกที่ขูดเป็นเส้นยาว เกลือป่น และน้ำตาลปี๊บ ลงไปกวนในกระทะทองเหลือง ใช้ไฟอ่อน กวนไปเรื่อยๆ จนครบ 20 นาที จนส่วนผสมแห้ง จากนั้นก็ปิดไฟพักไว้ให้เย็น
ผสมแป้งข้าวเหนียวและน้ำใบเตยเข้าด้วยกัน นวดแป้งจนเริ่มเป็นก้อน เสร็จแล้วให้คลุมด้วย
พาสติกแรป
3.นำกะทิ 1/4 ของกะทิทั้งหมดผสมกับแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น กลิ่นมะลิ ลงไปในกระทะ คนให้เข้ากันจนแป้งไม้จับตัวกันเป็นเม็ด แล้วค่อยเติมกะทิส่วนที่เหลือลงไป เปิดไฟอ่อนๆ และคนไปเรื่อยๆ จนกะทิเหนียวข้น ปิดไฟพักไว้ให้เย็น
4.เมื่อตัวไส้เริ่มเย็นดีแล้ว ปั้นไส้ให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาด 1 นิ้ว จนหมด และปั้นตัวแป้งเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่กว่าตัวไส้เป็น 1 นิ้วครึ่ง แผ่แป้งให้แบนวางไส้ลงตรงกลาง และห่อไส้ขนมให้มิด
5.เตรียมใบตองสำหรับห่อ นำใบตอง 2 ขนาดที่ตัดไว้เป็นวงรีมาประกบกัน นำหน้านวลทั้ง 2 แผ่น ชนกัน
นำขนมที่ปั้นไว้วางลงบนใบตอง และราดด้วยน้ำกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ และพับใบตองให้เป็นทรงสูง คาดทับด้วยใบมะพร้าวและคาดด้วยไม้กลัด
6.นึ่งในน้ำเดือดจัดประมาณ 30 นาที พักไว้ให้เย็นก่อนเสิร์ฟ


ข้อเสนอแนะ
 การนึ่งขนมควนใช้ไฟกลางและไม่ใส่ขนมแน่นเกินไปจะทำให้ขนมเสียรูปทรง










บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ผู้จัดทำมีวิธีการดำเนินการโครงงานตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.โปรแกรมในกานใช้ดำเนินการ
1.1คอมพิวเตอร์
1.2โปรแกรม Microsoft Word 2010
1.3Web blog

2.ขั้นตอนในการดำเนินการ
2.1คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงานนี้
2.2ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ต่างๆ และรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อกาต่อไป
2.3ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง ขนมสอดไส้ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใดและต้องถูกต้องตามจริง
2.4ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกจากเว็บไซด์ต่างๆ จากเอกสารที่ครูที่ปรึกษาให้ศึกษา
2.5จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องที่วางแผนเอาไว้
2.6นำเสนอผ่านทางเว็บบล็อก  https://www.blogger.com
2.7สรุปรายงานโครงงาน


ขั้นตอนดำเนินงาน


ลำดับที่
รายการปฏิบัติ
กำหนดเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1
คิดและเลือกหัวข้อเรื่อง
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
2
ศึกษาข้อมูล
สัปดาห์
คณะผู้จัดทำโครงงาน
3
การเขียนหลักการและเหตุผล
สัปดาห์
คณะผู้จัดทำโครงงาน
4
วัตถุประสงค์
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
5
สมมุติฐาน
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
6
การเขียนเค้าโครง โครงงาน
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
7
ลงพื้นที่และทำแบบสอบถาม
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน
8
เริ่มทำโครงงาน 5 บท
สัปดาห์
คณะผู้จัดทำโครงงาน
9
ทำแผ่นพับ
วัน
คณะผู้จัดทำโครงงาน






















บทที่ 4
ผลการดำเนินการ

จากการที่ได้ศึกษาและได้ทำโครงงาน  เรื่องขนมสอดไส้ทำให้เราได้รู้ความเป็นมา  ของขนมสอดไส้ได้รู้สูตรการทำขนมสอดไส้ ได้รู้วิธีการทำและอุปกรณ์การทำสูตรแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน  เทคนิคในการทำขนมสอดไส้และสูตรที่แตกต่างกันในอำเภอ มีคนขายขนมสอดไส้หลายที่ และได้รู้ว่าการทำขนมสอดไส้ไม่ง่ายเลย จะต้องทำด้วยความประณีต  ในการห่อในการผสมแป้งและการทำไส้และการทำขนมสอดไส้ยังสามารถนำมาประกอบอาชีพหลัก หรือ อาชีพเสริมได้






บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน/ข้อเสนอแนะ

สรุปผล
จากการที่ได้ศึกษาสูตรการทำขนมสอดไส้ในแต่ละสูตรมีส่วนผสมและเทคนิคในการทำขนมสอดไส้ไม่เหมือนกัน  ในด้านการค้นคว้าข้อมูลขนมสอดไส้ได้รู้ความเป็นมาและประวัติของขนมสอดไส้ในด้านประโยชน์และอุปสรรคการทำโครงงานสำรวจ  เรื่อง ขนมสอดไส้  มีดังนี้


ประโยชน์ในการทำโครงงานเรื่อง ขนมสอดไส้
-  สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้ในอนาคต
- ได้รู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของขนมสอดไส้
- ได้รู้เทคนิคในการทำขนมสอดไส้ใน ตำบล หนองบัว
- ได้นำสูตรและเทคนิคต่างๆไปเผยแพร่ให้คนรู้จักในชุมชนมากขึ้น
-  ก่อนจะนำขนมสอดไส้ไปใส่ห่อจะต้องให้อุ่นก่อน


อุปสรรคในการทำขนมสอดไส้
     ในการทำขนมสอดไส้จะต้องใส่ส่วนผสมจะต้องกวนแป้งอยู่ตลอดใส่ส่วนผสมเสร็จให้กวนแป้งเรื่อยๆประมาณ 10 นาที และกวนให้เข้ากัน




บรรณนานุกรม

https://food.mthai.com/dessert/95944.html
https://cooking.kapook.com/view129915.html