การค้นหาข้อมูลบน Internet (Search Engine)

การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 ประเภท คือ

1.Search  Engine  การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง

Search  Engine  เป็นเว็บไซด์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรมช่วยในการค้นหาที่เรียกว่า “Robot”ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บไซด์ในอินเตอร์เน็ตมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลซึ่งการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้จะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการเพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล  เป็นรูปแบบที่นิยมมาก  เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้  เช่น  http://www.google.co.th

google-co-th

2.Search  Directories  การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่

การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่โดยมีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดขจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลจะจัดตามข้อมูลที่คล้ายกัน  หรือเป็นประเภทเดียวกัน  นำมารวบรวมไว้ในกลุ่มเดียวกน

ลักษณะการค้นหาข้อมูลแบบ  Search  Directories   จะทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกข้อมูลที่ต้องการค้นหา และทำให้ได้ข้อมูลตรงกับความต้องการ

การค้นหาวิธีนี้มีข้อดีคือ  สามารถเลือกจากชื่อไดเร็กทอรีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาและสามารถเลือกที่จะเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างได้ทันที  เช่น  www.sanook.com

Sanook-1

3. Metasearch  การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล

เป็นลักษณะของการค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ  Search  Engine  ในเวลาเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Metasearch  จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง  แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ  Search  Site จากหลาย ๆ  แห่งมาใช้  แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามต้องการ  เช่น  www.thaifind.com

    tmetacrawler

การใช้วิธีการค้นหาข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สามารถแบ่งรูปแบบในการค้นหาออกเป็น  2 ลักษณะ  คือ

 1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา  หรือที่เรียกว่า  “คีย์เวิร์ด”  (Keyword)

    วิธีการค้นหาข้อมูลในลักษณะนี้ก็คือ  การระบุคำที่ต้องการค้นหา  หรือที่เรียกว่า  “คีย์เวิร์ด”  (Keyword)  โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ  ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป  แล้วจำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบระบุคำที่ต้องการค้นหา  หรือคีย์เวิร์ด

โดยจะเลือกเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลที่เรามักจะเรียกว่า  “เว็บไซต์สำหรับ  Search  Engines” ซึ่งมีเว็บไซต์ต่าง ๆ  หลายเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้  เช่น  www.google.co.th  การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูล  เราจะต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจนเพื่อจะสามารถให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  หรือให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราต้องการให้มากที่สุด

    วิธีการปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด  สามารถทำได้ดังต่อไปนี้  คือ

    1.   พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น  Search  Engine  ในช่อง  Address  เช่น  www.google.co.th

    2.   กรอกคำที่ต้องการค้นหาในช่องที่เว็บไซต์ได้กำหนดไว้

    3.    เว็บไซต์จะค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ  ที่มีคำที่เหมือนกับคำที่เราได้กรอกไว้ในช่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล

    4.   คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการ  เข้าไปค้นหารายละเอียดของข้อมูลต่อไป  ดังตัวอย่าง  เมื่อคลิกเลือกการศึกษา Education  แล้วจะแสดงเว็บไซต์ของหัวข้อมเรื่องดังกล่าวออกมา

2.การค้นหาจากหมวดหมู่  หรือไดเร็กทอรี  (Directories)

การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด  ซึ่งได้จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว  และเราก็ได้เดินไปยังหมวดหมู่ของหนังสือที่ต้องการ  ซึ่งภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ  ยังประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน  เราก็จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้  แล้วก้เปิดเข้าไปอ่านนเนื้อหาข้างในของหนังสือเล่มนั้น ๆ  วิธีนี้จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น  มีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการการค้นหาข้อมูล

 วิธีปฏิบัติในการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่  สามารถทำได้ดับต่อไปนี้  คือ

    1.     พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เป็น  Search  Engine  ในช่อง  Address  เช่น  www.sanook.com

    2.      เลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาข้อมูล  เช่น  การศึกษา  จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อย  ดังนี้  โรงเรียน,สถาบันอุดมศึกษา,สถาบันกวดวิชาและสอนพิเศษ,แนะแนวการศึกษา

    3.      เมื่อคลิกที่หัวข้อเรื่องย่อยที่ต้องการ  เช่น  สถาบันอุดมศึกษา

    4.     จะปรากฏหัวข้อเรื่องย่อยของสถาบันอุดมศึกษา  ดังนี้

    หมวดย่อย

*  สถาบัน  (5/5)                                                *  มหาวิทยาลัยของรัฐ  (5/5)

*  มหาวิทยาลัยเอกชน  (3/2)                                *  มหาวิทยาลัยราชภัฏ  (6/3)
ทำให้สามารถเลือกข้อมูลได้ตรงกับความต้องการได้มากที่สุดโดยทำให้ไม่เสียเวลาในการเลือกข้อมูล  เพราะได้จัดข้อมูลแบ่งเป็นกลุ่มข้อมูลย่อย ๆ

    5.    นอกจากแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยของข้อมูลแล้วก็ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกค้นหาข้อมูลอีกมากมาย

 1.การใช้ภาษา  การค้นหาข้อมูลแบบคีย์เวิร์ด  สามารถค้นหาได้ทั้งภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  ซึ่งรูปแบบของภาษาไทยนั้นจะเป็นการเขียนประโยคที่ต่อเนื่อง  เช่น  ขนมไทย  ศิลปวัฒนธรรมไทย  สมุนไพรไทย  เป็นต้น  แต่การค้นหาด้วยคำภาษาอังกฤษ  จะแตกต่างจากภาษาไทย  คือภาษาอังกฤษจะเป็นการแบ่งวรรคของคำ  เช่น  Thai  food  ซึ่งถ้าพิมพ์คำนี้แล้ว  ผลลัพธ์ที่ได้คือ  จะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำว่า  Thai  หรือ  Food  หรือ  Thai  food  ออกมาให้ทั้งหมดทำให้ได้รับข้อมูลมากมายเกินความต้องการ  แต่ถ้าต้องการให้คำว่า  Thai  food  เป็นข้อความเดียวกัน  ต้องพิมพ์คำดังกล่าวไว้ในเครื่องหมายคำพูด  (“  “)  เช่น   “Thai  food”  ซึ่งแปลว่าอาหารไทย  เมื่อให้เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลให้ก็จะแดสงเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคำว่า  “Thai  food”  เท่านั้น  ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ต้องการแคบลง  ช่วยให้เราสามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น

    2.ควรบีบประเด็นให้แคบลง  หรือใช้คำให้ชัดเจน  ตรงประเด็นที่ต้องการผลลัพธ์ให้มากที่สุด  เพราะข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอยู่มากมาย  ถ้าเราสามารถระบุคำที่ชัดเจนและตรงประเด็นแล้ว  จะเป็นหารกรองข้อมูลให้กับเราได้ ทำให้เราได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการชัดเจน  และสามารถหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  เช่น  ถ้าต้องการค้นข้อมูลของอาหารไทยเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น  ควรที่จะกำหนดข้อความในการค้นหา  คือ  “Thai  food  in  Thailand”  จะเป็นการกรองข้อมูลให้เราได้ประเด็นที่แคบลง

    3.การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันคำในภาษาอังกฤษมีหลาย ๆ  คำที่มีความหมายเหมือนกัน  เช่น  world  และ earth  แปลว่า  “โลก”  ถ้าต้องการหาคำว่า  world  แล้วผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถหาข้อมูลของคำนี้ได้  เราควรลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน

    4.การใช้โอเปอเรเตอร์  หรือบูลีน  เมื่อต้องการเจาะจงในการค้นหาข้อมูล  ก็สามารถที่จะนำโอเปอเรเตอร์  หรือบูลีน  มาเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นหาข้อมูลได้  เพื่อให้สามารถหาข้อมูลได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการมากที่สุด โอเปอเรเตอร์ที่ใช้  คือ  AND,  OR,  AND  NOT  และเครื่องหมาย  +,-

AND  “และ”  เช่น  computer  and  design  ผลลัพธ์ที่ได้จะได้ข้อมูลที่ต้องมีทั้งคำว่า  “computer”  และ  “design”  อยู่ด้วยกันเท่านั้น  จึงจะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง

OR  “หรือ”  การใช้คำว่า  OR  ถ้ามีคำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียวก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดงให้  เช่น  computer  or  design คือ  จะมีแต่คำว่า  “computer”  หรือมีแต่คำว่า  “design”  หรือมีทั้งคำว่า  “computer”  และ  “design”  ก็จะดึงข้อมูลนั้นมาแสดง  การใช้คำว่า  OR  ช่วนในการค้นหาข้อมูลนั้นทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีของเขตกว้างมาก

AND  NOT  หรือ  NOT  เช่น  computer  and  not  design  หมายความว่า  “ให้ค้นหา  ข้อมูลที่มีคำว่า  computer  แต่ต้องไม่มีคำว่า  design  มาด้วย”  ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อใช้ข้อความนี้ในการค้นหาข้อมูลก็จะแดสงข้อมูลเฉพาะที่มีแต่คำว่าคอมพิวเตอร์เท่านั้น  ถ้าข้อมูลใดมีคำว่า  “design”  อยู่ด้วยจะไม่ดึงเอาข้อมูลนั้นมาแสดง

เครื่องหมาย  +  หมายความว่า  คำใดที่ตามหลังเครื่องหมายนี้จะต้องมีคำนั้นอยู่ในเว็บเพจนั้น  เหมือนกับคำว่า  NOT

เช่น  +  computer  –  design  ข้อมูลที่จะแสดงออกมาจะต้องมีคำว่า  computer  แต่ไม่มีคำว่า  design

    รวมเว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล            

http://www.siamguru.com                                   http://www.sanook.com

http://www.google.co.th                                     www.search.com

http://www.thaihostsearch.com                          www.catcha.co.th

http://www.hotbot.com                                      www.search.msn.com

http://www.yahoo.com                                      www.excite.com

http://www.thaifind.com                                    www.siam-search.com

http://www.sansarn.com                                   http://www.thai-index.com

http://www.madoo.com                                     http://www.allofthai.com

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/31265jinjutha/

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้