ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ : การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย

 

ภูมิปัญญาการอยู่ไฟ 

การดูแลมารดาด้วยการแพทย์แผนไทย

 

“การอยู่ไฟ” หมายถึง การใช้ความร้อนในการรักษาสุขภาพของหญิงหลังคลอด

ดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการแพทย์แบบตะวันตก การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่สมดุล จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ- การอยู่ไฟนอกจากจะช่วยให้มดลูกแห้ง เข้าอู่เร็วน้ำคาวปลาแห้งสนิทแล้ว ยังทำให้ร่างกายฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติและแข็งแรงโตเร็วขึ้น นอกจากนั้นการอยู่ไฟยังทำให้ผิวพรรณดี เลือดฝาดสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเหมือนก่อนตั้งครรภ์ มีความกระฉับกระเฉงไม่เมื่อยล้าไม่ปวดหลังปวดเอว

ขั้นตอนในการอยู่ไฟประกอบด้วยภูมิปัญญาหลายส่วน ได้แก่ ลักษณะการให้ความร้อนกับร่างกาย โดยเฉพาะชนิดของพันธุ์ไม้ที่จะนำมาใช้เป็นฟืนหรือถ่าน สมุนไพรที่ใช้ดื่มในขณะอยู่ไฟ การรักษาแผลที่ช่องคลอด การทำความสะอาดร่างกาย และอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการอยู่ไฟ เช่น การเกิดผื่น รับประทานอาหารไม่ได้ ปวดหัว ปวดท้อง

ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีภูมิปัญญาในการจัดการที่มีลักษณะจำเพาะของแต่ละพื้นที่

ภูมิปัญญา ในการอยู่ไฟมีหลักการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ

๑) การใช้ความร้อนในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ความร้อนทำให้หญิงที่อยู่ไฟหลังคลอดแข็งแรงสามารถกลับไปทำงานได้เหมือนเดิม และทนอากาศร้อนหนาวได้ดี

๒) อาหารและสมุนไพร

๓) การทำความสะอาดร่างกาย

๔) ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ

๕) การดูแลความผิดปกติของร่างกายในขณะที่อยู่ไฟ

เนื่องจากแต่ละภาคของประเทศไทยมีสภาพนิเวศที่แตกต่างกัน จึงทำให้ภูมิปัญญาการอยู่ไฟมีความหลากหลายในส่วนของรายละเอียดและขั้นตอน ดังนี้

ภาคเหนือ

โดยทั่วไปเรียกหมอตำแยว่า “แม่จ้าง” มารดาหลังคลอด เรียกว่า “แม่ก่ำเดือน” เรียกการอยู่ไฟว่า “การอยู่เดือนไฟ” ความร้อนจากไฟช่วยทำให้ร่างกายพักฟื้น ซึ่งจัดว่าเป็นยาวิเศษตำรับหนึ่งเพราะทำให้แผลแห้งเร็ว ฮ้วนหรือมดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้มีน้ำนมไหลเพียงพอสำหรับลูกเลือดลมไหลเวียนดีร่างกายแข็งแรง

การอยู่เดือนไฟ ประกอบด้วย จอง (เตียงนอน) โดยมีเตาไฟอยู่ด้านล่างหรือด้านข้าง ฟืนสำหรับอยู่ไฟของแม่ก๋ำเตือน ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งไม่มีแมลงเจาะ และต้องปอกเปลือกออกให้หมด เช่น ไม้แพ่ง (สะแกนา: Combretum quadrangulare Kurz.) และ ไม้มะขาม

(Tamarindus indica L.) บนเตาไฟมีหม้อต้มน้ำสมุนไพรปูเลย (ไพล: Zingibermontanum (Koenig) Link ex Dietr.) ให้ดื่มได้ตลอดเวลา

 

 

มีการนั่งก้อนเส้า โดยทำการขุดหลุมดิน เอาใบเปล้า (Crotonoblongifolius Rox6.) ปูที่พื้นหลุม วางก้อนเส้าที่เผาจนร้อนบนใบเปล้า แม่ก๋ำเดือนขึ้นนั่งคร่อมใช้น้ำปูเลยราดบนก้อนเส้า น้ำปูเลยจะช่วยรักษาการติดเชื้อและลดการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดี ความร้อนจะทำให้เลือดมาไหลเวียนที่แผลมากขึ้น ทำให้แผลหายไว การทำความสะอาดร่างกาย ให้ใช้น้ำต้มสมุนไพร เช่น ใบเปล้า ใบหนาด (Blumeabalsamifera (1L.) DC) ใบมะขาม ต้มอาบ

ภาคกลาง

ผู้ที่เป็นหลักในการดำเนินงาน คือ “หมอตำแย” มารดาหลังคลอดเรียกว่า “แม่ลูกอ่อน” ภูมิปัญญา ในการดูแลเตาไฟอยู่ด้านล่างหรือด้านข้าง ไม้ที่ใช้ในการอยู่ไฟ คือ ไม้สะแกหรือไม้มะขามเพราะมีขี้เถ้าน้อยไม่รบกวนทำความรำคาญสุขภาพมารคหลังคลอดของภาคกลางนั้น ประกอบด้วย การอยู่ไฟ โดยให้หญิงหลังคลอดนอนบน “กระดานไฟ” ที่มีเตาไฟอยู่ด้านข้าง ไม้ที่ใช้ในการอยู่ไฟ คือ ไม้สะแกหรือไม้มะขามเพราะมีขี้เถ้าน้อยไม่รบกวนทำความรำคาญ

มีการเข้ากระโจม คือ การอบตัวด้วยไอน้ำที่มาจากสมุนไพร

ซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญมากเพราะเชื่อว่าเป็นการกำจัดมลทิน ต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวเนื้อให้หมดไปกำจัดน้ำเหลืองเสียและบำรุงผิวหน้า

การประคบตัว ซึ่งจะทำหลังคลอดและอยู่ระหว่างการอยู่ไฟหลังคลอด ๒-๓ วัน จะประคบตัวติดต่อกันเป็นเวลา ๓-๗ วัน สมุนไพรที่ใช้ลูกประคบ ส่วนใหญ่จะใช้ไพล ขมิ้นอ้อย ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือ ใช้ประคบตามร่างกายและประคบเต้านมทำให้น้ำนมไม่คัด น้ำนมเดินสะดวก

การทับหม้อเกลือ คือ การนำเกลือไปบรรจุลงในหม้อตาล ที่มีฝาปิด ตั้งไฟให้ร้อนจัดจนเกลือในหม้อแตกประทุ ยกหม้อลงไป วางบนใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง ใช้ผ้าห่อหม้อเกลือให้คลุมทั้งใบพลับพลึงหรือใบละหุ่งที่วางไว้ประคบตามตัวของหญิงหลังคลอดและหัวเหน่า จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วทำวันละ ๒ ครั้ง เช้ามืดและช่วงบ่าย

และการนั่งถ่าน โดยใช้ผิวมะกรูด (Citrus hystrix DC.) ตากแห้ง ว่านน้ำ (Acorus calamus L.) ว่านนางคำ (Curcuma aromatica Salisb.) ไพล ขมิ้นอ้อย (Curcumazedoaria (Christm.) Rose) ชานหมาก (Areca catechu L) ชะลูด (Alyxia reinwardti Blume var. (ucida Markgr.) ขมิ้นผง ใบหนาด (อาจจะไม่ครบทุกอย่าง) หันให้ละเอียดตากแดด ใช้โรยลงบนเตาไฟนั่งห้อยขาบนแคร่ควันจากเตาไฟจะรมบริเวณที่หญิงหลังคลอดนั่ง และเป็นการสมานแผลที่เกิดจาก การคลอดลูก

ภาคอีสาน

บุคคลที่เป็นหลักในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ คือ “หมอตำแย” ผู้หญิงหลังคลอด เรียกว่า “แม่อยู่กรรม” หลังคลอด การอยู่ไฟหรือเรียกว่า “อยู่กรรม” โดยมีความเชื่อว่าสามารถทำให้แม่ลูกอ่อนมีสุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ซึ่งจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อประกอบกับการสร้างขวัญกำลังใจ เตาที่ใช้ในการอยู่กรรมเรียกว่า “แม่คีงไฟ” เป็นการใช้ไม้ 4 แผ่น ขนาด 20×100 เซนติเมตร มาประกบกันให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม เอาต้นกล้วยผ่าซีกรองด้านล่าง แล้วเอาดินกลบด้านบน วางก้อนเส้าหรือเตาด้านบน ด้านข้างของคีงไฟ มีแผ่นกระดานขนาด 45×200

วางพาดบนต้นกล้วย ด้านหัวและท้าย แผ่นกระตานนี้ให้แม่อยู่กรรมนอนในขณะที่อยู่ไฟ เรียกว่า “แม่สะแนน” ไม้ที่ใช้ในการอยู่ไฟส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่นิยมมากคือ ไม้จิก (ไม้เต็ง: Shorea obtusa Wall.) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) ฯลฯ ไม้นี้ต้องไม่แตก ไม่มีควัน ไม่มีกลิ่นน้ำต้มสมุนไพรที่นิยมใช้ ได้แก่ แก่นนมสาว (มะไฟแรด: Scleropyrum pentandrum (Dennest.) Mabb.) แก่นมะขาม แก่นฮวงสุ่ม (ตีนดั่ง : Getonia floribunda (Rox6.) Lam.) ฯลฯ การทำความสะอาดร่างกายใช้น้ำต้มใบมะขาม ใบนาด ใบเปล้า ในขณะที่อาบน้ำต้มสมุนไพร ให้ใช้ผ้าสีดำพับให้หนา ชุบน้ำต้ม สมุนไพรร้อนๆ รองนั่งด้วย

คนอยู่กรรมจะถูกห้ามเรื่องอาหารและสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติเรียกว่า “ขะลำ” อาการผิดปกติที่อาจเกิดเนื่องไม่ปฏิบัติตามข้อขะลำ ได้แก่ “การผิดกะบูน” (มดลูกบวม ปวดท้อง มีก้อนแข็งเป็นดานในมดลูก) เป็นต้น หรือ “กินผิด” ทำให้มีอาการเวียนหัว ผะอืดผะอม นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งมีกระบวนการรักษา ที่มีความจำเพาะในแต่ละรายไปหมอพื้นบ้านจะทำพิธีผาบไฟ (พิธีป้องกันพิษไฟ) และ พิธี “เสียพิษไฟ” คือ การทำพิธีถอนพิษไฟ ตัดหางใบตองกล้วย ปิดฝาหม้อกรรม (หม้อที่ต้มน้ำสมุนไพรเพื่อดื่มและอาบ) แล้วคว่ำหม้อ เป็นสัญลักษณ์ถือว่า หมดกรรม การอยู่กรรมได้สิ้นสุดลงแล้ว

ภาคใต้

ภาคใต้ไทยพุทธ

การอยู่ไฟของสตรีที่คลอดใหม่ในภาคใต้มีจุดประสงค์ เพื่อให้สตรีหลังคลอดมีสุขภาพดีและแข็งแรง ประโยคสำคัญที่พูดกันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอดคือ “ให้มดลูกเข้าอู่” หมายถึง ให้สิ่งที่เรียกว่า มดลูกซึ่งเป็นที่ฝังตัวอยู่ของทารกตั้งแต่ปฏิสนธิจนคลอดนั้นเป็นปกติ ด้วยการใช้คำว่าเข้าอู่ (ที่อยู่) การจะทำให้ เข้าอู่ได้นั้นวิธีการสำคัญซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยภาคใต้ ได้แก่

๑. การให้สตรีหลังคลอดอยู่ไฟ การให้อยู่ไฟ หมายถึง การนอนที่ใกล้ที่มีไฟอยู่ ไฟที่ว่านี้คือกองถ่านติดไฟ ที่จะมีอยู่ตลอดเวลาที่สตรีคลอดใหม่นอนหรือนั่งอยู่ในที่อยู่ไฟ ที่จัดให้สตรีหลังคลอดอยู่ไฟนั้นจะเป็นที่เฉพาะ ส่วนมากมักจะเป็นส่วนหนึ่งหรือมุมใดมุมหนึ่งของครัว ถ้าครัวมีขนาดเล็กก็อาจจะมีการทำที่อยู่ไฟโดยเฉพาะ

๒. การใช้ก้อนเส้าตั้ง (ก้อนหินที่ใช้ตั้งแทนเตาไฟในการหุงหาอาหารของชาวบ้านสมัยก่อน) บริเวณหน้าท้อง การเอาก้อนเส้าตั้งหรือประคบที่หน้าท้องจะทำให้ความอุ่น จากก้อนเส้าซึ่งมีความอุ่นจากการเผาไฟ (เอาผ้าหนาๆ ห่อไว้) ลูกได้ เมื่อทำเป็นประจำก็จะทำให้มดลูกเข้าอู่หรือแห้งกลับได้ดังเดิม การประคบหรือตั้งบริเวณหน้าท้องทั้งเช้าและเย็นทุกวันที่อยู่ไฟ

๓. การอาบน้ำ สตรีหลังคลอดต้องอาบน้ำนานๆ ทุกเช้าและเย็น การอาบน้ำ

เชื่อว่าจะช่วยในการทำให้สุขภาพแข็งแรงอาบน้ำเสร็จก็ต้องไปที่ห้องอยู่ไฟ การอยู่ไฟของสตรีไทยภาคใต้หลังคลอดส่วนมากใช้เวลา ๗ วัน หรืออาจจะมากกว่าแต่ไม่มากเกิน ๑o วัน ทั้งนี้ ก็น่าจะอยู่กับการเข้าอู่ของมดลูก คนไทยและหมอตำแยภาคใต้เรียกมดลูกว่า กุน “กุน เข้าที่

แล้วยัง” นี่เป็นคำถามที่ผู้อื่นถามสตรีหลังคลอดใหม่หรือหมอตำแยที่ทำคลอดสตรีผู้นั้น ถ้าเข้าที่แล้วคือร่างกายเป็นปรกติออกจากการอยู่ไฟได้ ในระหว่างอยู่ไพหรือคลอดใหม่ห้ามกินปลาขาว (ตะเพียนขาว) ปลาขี้เกงหรือปลาหมอช้างเหยียบ เพราะจะทำให้วิ่งเวียนศีรษะเลือดลมจะผิดปกติ ถึงกับมีคำขู่ว่า สตรีคลอดใหม่ห้ามกินปลาสองชนิดนี้เสียชีวิตได้

ถ้ากินอาจทำให้

ภาคใต้ไทยมุสลิม

บุคคลที่เป็นหลักในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ คือ กลุ่มไทยมุสลิมเรียกว่า “โต๊ะบิแด” การอยู่ไฟของกลุ่มไทยมุสลิมเรียกว่า “ดาโปบือดีแย” การตั้งครรภ์ถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐเด็กที่เกิดมาเป็นผู้บริสุทธิ์ ไร้บาป เมื่อทารกคลอดเรียบร้อยแล้วบิดาจะนำรกไปฝังทันทีเพื่อเป็นการฝากแม่ธรณีใต้แผ่นดินในการฝังรกนี้ บิดาจะต้องเอาเกลือใส่ลงไปในรก ๒-๓ ห่อ เพราะเกลือจะช่วยให้รกแห้ง ซึ่งชื่อว่าจะมีผลทำให้ทารกไม่มีอาการท้องอืด โต๊ะบิแดจะอาบน้ำอุ่นที่ได้จากการต้มใบยอ (Morinda citrifolia .และใบหนาดให้หญิงหลังคลอดเพื่อชำระคราบสกปรกและช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น นำใบหนาดมาปั้น เป็นก้อนกลม นวดรอบเต้านมและตึงกล้ามเนื้อบริเวณเนินอกเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลดีทำการเหยียบสม คือ การเหยียบนวดหลังคลอดเพื่อขับเลือดและน้ำคาวปลา เมื่อเหยียบสมแล้วก็ต้องอยู่ไฟทันทีเมื่ออาบน้ำเสร็จต้องอยู่ไฟทันทีโดยนอนแคร่ไม้ไผ่ ใช้ไม้สน ไม้ยางหรือไม้แสมมาทำเป็นเชื้อเพลิงใช้ใบหนาด ใบเสนียดและไพลดำ ต้มอาบในขณะอยู่ไฟ

ระหว่างที่อาบน้ำหากมารดาไม่มีน้ำนม หรือน้ำนมน้อยก็ให้ “ท๊ก” หรือ ดึงเส้นบริเวณใกล้ๆ รักแร้ ๓ ครั้ง เพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม การออกไฟนั้นจะออก ในวันคี่ เพราะถือว่าวันคู่ลูกห่าง วันคู่ลูก

 

ภูมิปัญญาการอยู่ไฟของกลุ่มไทยพุทธ ภาคใต้มีลักษณะคล้ายคลึงกับทางภาคกลาง ส่วนที่แตกต่างกันคือทางภาคใต้

ใช้ก้อนเส้าเป็นตัวประคบ เพื่อให้มดลูกเข้าได้ดีมีการบำรุงร่างกายด้วยอาหารและข้อห้ามที่แตกต่างกัน เนื่องจากอยู่ใน

สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ปัจจุบันถึงแม้บทบาทการทำคลอดของหมอตำแยที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจาก

ความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์แผนปัจจุบัน และประชาชนมีความสามารถที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่รัฐจัดให้นั้น

แต่บทบาทและองค์ความรู้ของหมอตำแยยังคงอยู่ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันการปฏิบัติตัวหลังคลอดนิยมทำกัน

มีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อออกจากโรงพยาบาลก็จะกลับมาดูแลตนเองที่ข้าน หญิงหลังคลอดจะรับประทานอาหาร

ที่มีส่วนประกอบที่เชื่อว่าจะช่วยขับน้ำนม ขับน้ำคาวปลา การอาบน้ำตัมสมุนไพรอุ่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้ปรับสมดุล

หรือตามความเชื่อวิถีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่ยืดถือปฏิบัติสืบต่อจาก รุ่นสู่รุนต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่ามีเอกชน

หลายรายประกอบธุรกิจเปิดให้บริการการดูแลหลังคลอดหลายแห่ง

การอยู่ไฟ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๘

เอกสารอ้างอิง

ดารณี อ่อนชมจันทร์. ๒๕๕๔. แนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพแม่และเด็กด้วย ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน.

พรทิพย์ เดิมวิเศษ. ๒๕๔๘. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย,

รุจินาถ อรรถสิษฐ เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และอรจิรา ทองสุกมาก ๒๕๕๒. รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาโต๊ะบิแดในการดูแล

สุขภาพแม่และเด็กในชุมชนและภาครัฐ

สัฐิกา จันทร์จิต, ๒๕๔๐. การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านหลังคลดในเขตเมือง : กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและ

ปทุมธานี.

วีรพงษ์ เกรียงสินยศ และคณะ. (๒๕๕*๒). อยู่ไฟหลังคลอด : การจัดการความรู้การดูแลแม่และเด็กภูมิปัญญาพื้นบ้าน.

มูลนิธิสุขภาพไทย.

วีรพงษ์ เกรียงสินยศ และคณะ. ๒๕๕๕. การอยู่ไฟไทบ้าน : ภูมิปัญญาอีสานกับการดูแลมารดาและบุตรหลังคลอด. มูลนิธิสุขภาพไทย.

ช่วงอยู่ไฟ 7 ข้อห้าม 7 ความเชื่อ. (2566). https://momandbaby.net/pregnant-mother/birth-and-childbirth/7-taboo-7-beliefs07042561/

จริงหรือไม่? คลอดลูกแล้วไม่อยู่ไฟ จะหนาวกว่าคนปกติ!!. (2566). https://www.khaochaobaan.com/news/166225