การตลาดคืออะไร

การตลาดคืออะไร?

         วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการ“ตลาด”ที่มีความสำคัญที่เราต้องนำไปใช้ในธุรกิจ ซึ่งเราได้สรุปและรวบรวมให้กับคุณแล้ว ลองไปอ่านกันเลย

การตลาดคืออะไร ?

           การตลาด หมายถึง “กลุ่มลูกค้าที่สามารถจะซื้อและมีความสนใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท” ลูกค้าบางประเภทอาจจะมีกำลังซื้อไม่มากพอ หรือ ลูกค้าบางประเภทอาจจะไม่ดีมีความสนใจที่จะซื้อ เป็นต้น

สารบัญ

การตลาดสำคัญอย่างไร ?

         กิจกรรมทางการตลาดเป็นงานหลักที่สำคัญของธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจการและการตลาด มีความสำคัญ ดังนี้

การตลาดเป็นเครื่องมือให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างความนิยมแก่กิจการ

           ปัจจุบันตลาดมีการแข่งขันเสรี “เมื่อทุกกิจการต่างๆก็มีการบริหารทัดเทียมกัน การตลาดเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการแข่งขัน” ด้วยวิธีการสร้างคุณค่าเพิ่ม กล่าวคือ การสร้างคุณค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ ซึ่งนักการตลาดใช้หลักการอันเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในการดำเนินการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมการตลาดจะเน้นให้ลูกค้าพอใจหลังการขาย เช่น การประกันคุณภาพสินค้า การให้บริการตรวจเช็กสภาพสินค้าและซ่อมเมื่อมีปัญหา การให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เป็นต้น

การตลาดเป็นตัวเชื่อมระหว่างเจ้าของสินค้าและผู้บริโภค

         “บทบาทความสำคัญของการตลาดต้องการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้า  หรือผู้บริโภคได้มีโอกาสพบกันเพื่อและเปลี่ยนสินค้าและบริการตามความพอใจ” บทบาทในฐานะตัวเชื่อมโยงนี้เป็นการแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคในด้านสถานที่ เวลา ข้อมูล มูลค่าของสินค้าหรือบริการ

การตลาดเป็นตัวนำหรือชี้แนะการปรับปรุงการผลิตสินค้าและการให้บริการ

         “ปัจจุบันการดำเนินทางการด้านการตลาด มีแนวโน้มให้ผู้บริโภค หรือผู้ใช้คุ้นเคยหรือ “User friendly”นักการตลาดพยายามทุกวิถีทางในการที่จะให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการใช้สินค้า” หรือได้รับบริการโดยได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป เช่น การจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าฟรี

การตลาดเป็นกลไกในการสร้างเสริมระบบเศรษฐกิจด้วยการก่อให้เกิดการบริโภค

        “การตลาดเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนด้วยการสร้างสมดุลระหว่างแรงดึงและแรงดัน” กล่าวคือความต้องการซื้อและความต้องการขาย นอกจากนี้การตลาดสร้างความปรารถนาด้วยการสร้างอารมณ์ ความหวัง ความกลัว และความฝันอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างอันส่งผลให้เกิดการบริโภคอันเป็นการสร้างอุปสงค์นั่นเอง กล่าวคือการตลาดเอื้ออำนวยเศรษฐกิจ หรือการตลาดมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ

การตลาดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม

  1. สร้างรายได้ให้กับประเทศ เพราะการตลาดก่อให้เกิดการซื้อ-ขายสินค้า ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
  2. ทำให้มีการลงทุนและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนมีงานทำ และส่งผลทำให้เพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชน
  3. การมีงานทำช่วยในการยกระดับการครองชีพของประชาชน ซึ่งมีผลต่อการอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  4. ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต มีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาแปรรูปซึ่งสามารถสร้างคุณค่าให้กับสินค้าทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น
  5. มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และปรับปรุงให้ได้มาตรฐานเพื่อสนองความต้องการของตลาดโลก

การตลาดมีความสำคัญต่อธุรกิจหรือองค์การ

  1. สร้างกำไรให้กับธุรกิจ
  2. สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าให้กับธุรกิจ ก่อให้ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น
  3. ปัจจุบันการตลาดได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต สามารถทำให้ผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ ซึ่งมีผลต่อการลดต้นทุนต่อหน่าวยในการผลิต
  4. ทำให้ธุรกิจมีสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เนื่องจากมีการพัฒนาสินค้าอยู่เรื่อยๆ ซึ่งทำให้ธุรกิจมีความตื่นตัวอยู่เสมอ

การตลาดมีความสำคัญต่อบุคคล

  1. การตลาดทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจในรูปแบบ ในอรรถประโยชน์ของสินค้าที่นำมาจำหน่าย และสะดวกในการเลือกซื้อสินค้า ในเวลา สถานที่ ปริมาณสินค้าที่เหมาะสม
  2. การตลาดทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าอย่างฉลาด เนื่องจากมีข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆมากมายไม่ว่าจากสื่อสั่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิว) หรือสื่อการกระจายเสียง (วิทยุ โทรทัศน์) เป็นต้น
  3. การตลาดสร้างอาชีพให้กับบุคคล ช่วยให้เกิดอาชีพต่างๆ เช่นการขาย การโฆษณา การขนส่ง (รับจ้าง แบก ขน) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย การวิจัยตลาด การธนาคาร เป็นต้น
  4. การที่มีอาชีพทำให้ความเป็นอยู่ของบุคคลดีขึ้น สามารถพัฒนาชีวิตหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีการกินดีอยู่ดี

ส่วนประสมการตลาด

          ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) คือ “เครื่องมือหรือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ที่ธุรกิจต้องใช้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย” หรือเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความต้องการสินค้าและบริการของตน ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ประการ หรือ 4P’s คือ
  1. ผลิตภัณฑ์(Product)
  2. ราคา (Price)
  3. สถานที่จำหน่าย (Place)
  4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

กลยุทธ์ส่วนประกอบการตลาด (Marketing mix strategy)

           ส่วนประสมการตลาด หมายถึง “กลุ่มเครื่องมือการตลาดซึ่งธุรกิจใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดในตลาด” เป้าหมายเครื่องมือการตลาด 4 ประการ ได่แก่
  1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง “สิ่งที่นำเสนอกับการตลาดเพื่อความสนใจ ความอยากได้ การใช้”  หรือ การบริโภคที่สามารถตอบสนองความต้องการ นักการตลาดจึงกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ คือ
  • ขนาดรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติอะไรบ้างที่ผลิตภัณฑ์ควรมี
  • ลักษณะการบริการที่สำคัญของผู้บริโภคคืออะไร
  • การรับประกันและโปรแกรมการให้บริการอะไรบ้างที่ควรจัดให้
  • ลักษณะของผลิตภัณฑ์ประกอบที่เกี่ยวข้องคืออะไร
  1. กลยุทธ์ด้านราคา (Price strategy) หมายถึง “สิ่งที่บุคคลจ่ายสำหลับสิ่งที่ได้มา ซึ่งแสดงถึงในรูปของเงิน นักการตลาดต้องตัดสินใจในราคา” ลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค มูลค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าต้องมากกว่าต้นทุน (Cost) หรือราคา (Price)ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อก็ต่อเมื่อ มูลค่ามากกว่าราคาสินค้า
  1. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย (Place or distribution strategy) หมายถึง “การเลือกและการใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ประกอบด้วย คนกลาง บริษัทขนส่ง และบริษัทเก็บรักษาสินค้า” ดังนี้โดยสร้างอรรถประโยชน์ทางด้านเวลา สถานที่ ความเป็นเจ้าของ ที่เพื่อให้เคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ หรือจากองค์กรไปยังตลาด กาจัดจำหน่ายได้รับ อิทธิพลจากพฤติกรรมผู้บริโภคดังนี้
  • ความจำเป็นของบริษัทที่จะทำการควบคุมกิจกรรมต่าง
  • ลักษณะโครงสร้างการจัดจำหน่าย เพื่อการค้าปลีก อะไรบ้างที่ควรใช้ในการเสนอขาย ผลิตภัณฑ์
         4.กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion strategy) หมายถึง “การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ” ได้แก่
  • การโฆษณา
  • การประชาสัมพันธ์
  • การขายโดยพนักงานขาย
  • การส่งเสริมการขาย
  • การตลาดทางตรง

       สรุปคือการตลาดนั่นมีความสำคัญอย่างมากที่จะใช้ในการทำธุรกิจและต่อยอดไปในหลายด้านๆนั้นเอง และ เราก็แนะนำให้คุณ ลองไปอ่านบทความเกี่ยวกับ        “การวางแผนสื่อดิจิทัล” โดยการคลิกปุ่มที่ด้านล่างเลยๆ

Picture of admin

admin

Scroll to Top