Petsumer Strategy

Petsumer กลยุทธ์ใหม่ตอบโจทย์กลุ่มทาสรักนักเปย์สัตว์เลี้ยง

Digimusketeers, 8 February 2023

Cat Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์และนักการตลาดรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบนิยามใหม่ของกลยุทธ์การตลาดทาสรักนักเปย์เกิดขึ้น นั่นก็คือคำว่า ‘Petsumer’ เรียกได้ว่าเป็นกลุยทธ์ใหม่ที่งอกต่อยอดออกมาจากกลุ่มคนรักสัตว์ ไปดูกันดีกว่าว่ามันต่างจากกลยุทธ์เดิมอย่างไร มีอะไรน่าสนใจและนำมาใช้ได้แบบไหนบ้าง

Petsumer

Petsumer นิยามกลยุทธ์ใหม่

ที่มาของการเกิดกลยุทธ์ใหม่อย่าง ‘Petsumer’ มาจากอินไซต์ของกลุ่มผู้บริโภคที่มีสัตว์เลี้ยงและตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นสวนกระแสกับช่วงที่มีโควิด-19 อาจะเพราะคนเหงามากขึ้นและเลือกที่จะมีลูกน้อยลงด้วย เลยส่งผลให้ตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงนั้นโตขึ้นทั้งตลาดโลกและตลาดในประเทศไทย 

รายงานจากยูโรมอนิเตอร์ – บอกว่าธุรกิจสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในปี 2021 มีมูลค่า 43,372 ล้านเหรียญสหรัฐ และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีมูลค่า 110,268 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าธุรกิจสินค้าและบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในไทยมีมูลค่า 3,954 ล้านบาท และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีมูลค่า 40,638 บาท จึงมีการคาดการณ์ว่าในปี 2026 ตลาดสัตว์เลี้ยงโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 217,651 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเฉลี่ยปีละ 7.2% (2021-2026) เช่นเดียวมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงในไทยที่คาดว่าจะโตขึ้นจากปี 2021 เฉลี่ยปีละ 8.4% มาอยู่ที่ 66,748 ล้านบาทในปี 2026 นั่นเอง

วิเคราะห์แนวโน้มตลาดสัตว์เลี้ยงในอนาคต – จากรายงานและการคาดการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะมีบริษัทใหญ่ ๆ อีกมากมายที่จะเปิดตัวธุรกิจต่าง ๆ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งบริการดูแลสัตว์เลี้ยง บริการเดินทางรับ-ส่งสัตว์เลี้ยง ประกันสัตว์เลี้ยง ฟิตเนสสัตว์เลี้ยง คาเฟ่สำหรับสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์หรือเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง

ซึ่งยังมีแบรนด์ใหญ่หลายเจ้าทยอยเข้าสู่ธุรกิจสัตว์เลี้ยงด้วยเหมือนกัน อย่าง RS เปิดตัวแบรนด์ Lifemate, เซ็นทรัล รีเทล เปิด Specialty Store ร้านสัตว์เลี้ยงครบวงจร, แบรนด์ PET ’N ME, ไทยยูเนี่ยน (TU) ส่ง ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น (ITC) ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 2 ของเอเชียและท็อป 10 ของโลก เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 

เพราะตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นและด้วยมูลค่าในตลาดที่มหาศาล นักการตลาดและแบรนด์ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะทำความเข้าใจกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่เป็นทาสรักนักเปย์มีกำลังซื้อสูงที่เรียกว่า Petsumer (Pet + Consumer) และกลยุทธ์การตลาดที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้อย่าง Petsumer Marketing เพื่อสื่อสารได้ตอบโจทย์และถูกใจพวกเขามากขึ้น

Petsumer Insight

Petsumer Insight

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ทำผลวิจัย Petsumer Marketing โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,046 คน ทำการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 100 คน ในกลุ่ม Gen Y – Gen X พบว่าคนไทยนั้นเลี้ยงสัตว์ด้วย 3 รูปแบบคือ

1. Pet Parent เลี้ยงเพื่อเป็นลูก 49%

เป็นกลุ่มที่ยกบทบาทให้สัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูก หรือคนในครอบครัว ซึ่งมีมานานแล้ว เพียงแต่มีมากขึ้นในช่วงโควิดที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้านนาน และยังสอดคล้องกับแนวโน้มของประชากรไทยที่มีคนโสดมากขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง ซึ่งจากงานวิจัยยังพบอีกว่าคนโสดเลี้ยงสัตว์ 80% มาจากสาเหตุของความเหงา 

2. Pet Prestige เลี้ยงเพื่อสถานะทางสังคม 33%

เป็นกลุ่มที่เลี้ยงสัตว์เพื่อต้องการบ่งบอกสถานะทางสังคม ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับเจ้าของ และแสดงออกถึงตัวตนและไลฟ์สไตล์ เช่น การเลี้ยงสัตว์ราคาแพงมาก หรือสัตว์เลี้ยงที่หายาก ที่จะช่วยสะท้อนให้เห็นว่ามีสถานะที่ร่ำรวย

3. Pet Healing เลี้ยงเพื่อช่วยเหลือ ช่วยบำบัดรักษา 18%

เป็นกลุ่มที่เลี้ยงสัตว์เพื่อคลายเครียด ช่วยบำบัดรักษาสภาพจิตใจ จากการศึกษาของต่างประเทศการเลี้ยงสัตว์แบบ Pet Healing นั้นข้อดีหลายด้าน เช่น เพิ่มความสุข ช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้น ลดความหดหู่ซึมเศร้า ลดความเสี่ยง เช่น ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง เหงาน้อยลง และมักมีการนำไปใช้ในโรงพยาบาลและศูนย์พักคนชราอีกด้วย

– จากการสำรวจประเภทของสัตว์เลี้ยงที่ทาสคนไทยนิยมเลี้ยงมากที่สุดคือ 1. สุนัข 40.4% อันดับที่ 2 คือเจ้าแมว 37.1% และอันดับที่ 3 คือพวก Exotic 22.6% 

– ช่องทางที่ขาวทาสรับข้อมูลต่าง ๆ มากที่สุดคือ โชเชียลมีเดีย 39.8% เพื่อนและครอบครัว 28% และอันดับที่สามคือเสิร์ชหาทางอินเทอร์เน็ต 22.3% และโฆษณาทีวี 9.9%

– ช่องทางซื้ออาหารสัตว์ที่นิยมที่สุดคือ ร้านขายสินค้าสัตว์เลี้ยง 34.8% อีคอมเมิร์ซ 22.2% ซูเปอร์มาเก็ต 12.4% ไฮเปอร์มาร์เก็ต 11.8% และคลินิกรักษาสัตว์ 8.2% ซึ่งมีความถี่ในการซื้อมากกว่า 50% ซื้อมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน

  • บริการยอดนิยมในการดูแลเจ้านายคือ อาบน้ำตัดขน 60.1% รับฝากเลี้ยง 25.9% สปานวด 6.7% และทำเล็บ 5.8%

Petsumer Strategy

Petsumer Strategy

Petsumer เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สัตว์เลี้ยงมาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์ ช่วยในการสื่อสารและสร้างภาพจำและผลประโยชน์ทางการตลาด โฆษณาที่มีสัตว์และสินค้าอยู่ในภาพด้วยกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามากที่สุดถึง 42.82% รองลงมาคือโฆษณาที่มีแค่รูปสินค้าเพียงอย่างเดียว 37.08% และโฆษณาที่มีคน สัตว์และสินค้าอยู่ด้วยกัน 19.10% 

สาเหตุที่โฆษณาที่มีสัตว์และสินค้าอยู่ด้วยกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเยอะสุด เป็นเพราะการมีสัตว์ในรูปจะช่วยทำให้รู้สึกว่าไม่เน้นขายมากเกินไปและสามารถเปรียบเทียบขนาดสินค้าได้ชัดเจนขึ้น ส่วนสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคอยากเห็นสัตว์เลี้ยงในการสื่อสารการตลาด จะเป็นพวกสินค้าอุปโภค บริโภค เครื่องใช้ำฟฟ้า รถยนต์และสายการบิน นอกจากนี้ยังมี Pet Influencer ที่เราเห็นกันมากมายทั้งในไอจีหรือ TikTok ที่แบรนด์ใช้รีวิว โปรโมตสินค้าหรือบริการมากมายที่เกี่ยวกับข้องคนและสัตว์ที่ทำให้บรรดาทาสทั้งหลายมีรายได้เข้ามามากมาย

กลยุทธ์ Petsumer สินค้าและบริการ

P-Personalization

ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้าน ผู้ประกอบการปัจจุบันต้องการสินค้าหรือบริการที่ Customiza ตามชนิดหรือสายพันธุ์สัตว์เลี้ยง เช่น อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ป่วยโรคนี้ เนื่องจากทาสกลุ่มที่เลี้ยงเจ้านายเหมือนลูกก็ย่อมอยากให้ลูกได้สิ่งที่เหมาะสมและดีที่สุดกับลูกจริง ๆ นั่นเอง

E-Easy access

ความสะดวกและเข้าถึงง่าย เป็นหัวใจสำคัญมาก ๆ ในธุรกิจ เพราะคนยุคนี้ชอบความสะดวก เข้าถึงง่าย ยิ่งเข้าถึงง่ายเท่าไหร่ก็ได้ใจกลุ่มทาสรักนักเปย์ยิ่งขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทำเล ช่องทางการจำหน่าย แพลตฟอร์มหรือบริการต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกพวกเขาได้มากขึ้น

T-Trustworthiness

การมีคุณภาพและเชื่อถือได้ เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ จากพฤติกรรม Pet Parent เลี้ยงสัตว์เหมือนลูก ก็ย่อมต้องการสิ่งที่ดีให้กับคนที่รักใช่ไหมล่ะ 

S-Social Influencer

อิทธิพลของคนในสังคมก็สำคัญกับการตัดสินใจ เพราะคนที่เลี้ยงสัตว์ก็จะมีสังคมกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ด้วยกันที่จะช่วยแชร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับพวกเขา ดังนั้นการที่แบรนด์สามารถสร้างความประทับใจจนผู้บริโภคสามารถบอกต่อกันในกลุ่มได้ถือว่าประสบความสำเร็จได้เลยทีเดียว

 

กลยุทธ์ Petsumer ด้านการสื่อสาร

U-Uniqueness

ต้องสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่จดจำให้แบรนด์ การเลือกใช้สื่อโฆษณาหรือคอนเทนต์เพื่อสื่อสารจะต้องมีการเลือกใช้สัตว์เลี้ยงในการโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อที่จะช่วยสร้างความโดดเด่นให้แบรนด์ได้ดีและต่างจากแบรนด์อื่น

M-Mental support

การสื่อสารโดยใช้สัตว์เลี้ยงเพื่อการผ่อนคลาย เพราะการกระตุ้นด้านความรู้สึกทางด้านจิตใจสามารถสร้าง Impact ที่ยิ่งใหญ่ให้กับผู้บริโภคได้ดีกว่า มอบความสุขและความบันเทิง สื่อสารได้ถึงอารมณ์ได้ดีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าจายและทาสได้เป็นอย่างดี

E-Engagement

การสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้าจนเกิดความภักดี สินค้าและคอนเทนต์จะต้องถูกใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ มีเพียงโอกาสเดียวเท่านั้นที่จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า เนื่องจากลูกค้าในตลาเนี้มักจะเลือกซื้อแบรนด์ที่ซื้ออยู่เป็นประจำ ซึ่งจะเปลี่ยนใจยากมาก 

R-Rights 

ทำให้เห็นว่าแบรนด์ให้ความสำคัญกับสิทธิของสัตว์เลี้ยงของพวกเขา ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องสนใจมาก ๆ เพราะคนรักสัตว์จะให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิของสัตว์เลี้ยงมาก ๆ และรู้สึกว่าไม่ควรถูกมองข้าม ดังนั้นการที่แบรนด์จะเลือกใช้สื่อโฆษณาหรือการสร้างคอนเทนต์ใด ๆ จะต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ให้ดี

คุณกำลังต้องการเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้ธุรกิจของคุณอยู่หรือไม่

ปรึกษาฟรี!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับ
Manage Consent Preferences บันทึก