อุณหภูมิความชื้นภายในโรงพยาบาล

ค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม (Relative humidity)

   ในปัจจุบันในภาพรวมของธุรกิจการให้บริการของโรงพยาบาลมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและในช่วงปี 2557-2558 แม้ภาวะกําลังซื้อของคนในประเทศที่ลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีสัดส่วนคนไข้คนไทยสูงทําให้รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่มีสัดส่วนคนไข้คนไทยสูงเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี ( ค่าเฉลี่ยปี2557-2558 ) ต่ํากว่ารายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรวมที่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 11.0 ต่อปี ( ค่าเฉลี่ยปี 2557-2558 )ในทางกลับกันรายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่เน้นจับตลาดคนไข้ต่างชาติกลับเติบโตได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของรายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรวมที่ร้อยละ 11.7 (ค่าเฉลี่ยปี 2557-2558) โดยมีรายได้ที่มาจากกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.1 (ค่าเฉลี่ยปี 2557-2558) [1]เมื่อพิจารณาต้นทุนหลักลําดับรองลงมาจากต้นทุนบุคลากรทางการแพทย์ได้แก่การใช้ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสําหรับมาตรฐานของการใช้งานพื้นที่ต่าง ๆในโรงพยาบาล โดยเฉพาะการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์อากาศในโรงพยาบาล ถูกนํามาใช้กับห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องผ่าตัด ห้อง ICU ห้องเพาะเชื้อ หรือแม้กระทั้งห้องเก็บยา เพื่อให้สภาวะของห้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยหลักการของการควบคุมความชื้นนั้น มักจะใช้วิธี “การอุ่นอากาศจ่าย” ( Supplyair reheat ) โดยใช้อุปกรณ์สร้างความร้อนให้กับอากาศส่งผลให้ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศลดต่ําลงก่อนที่จะจ่ายเข้าสู่บริเวณพื้นที่ปรับอากาศ โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ขดลวดความร้อนไฟฟ้าในการอุ่นอากาศ ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือควบคุมการทํางานง่ายแต่ข้อเสียที่สําคัญคือทําให้มีการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในระยะยาวจากมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (EITStandard 3003-50) ซึ่งกําหนดมาตรฐานของการปรับอากาศและระบายอากาศสําหรับการออกแบบระบบปรับอากาศสําหรับสถานพยาบาล[2] ในส่วนของการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ก็จะถูกควบคุมตามคุณสมบัติของแต่ละพื้นที่ดังนี้

• ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสาหรับห้องผ่าตัด (Operating Room, OR) ที่ 17-27 °Cควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในช่วง 45-55% RH
• ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสาหรับห้องไอซียู (Intensive Care Unit, ICU) ที่ 21-27°Cควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้ต่ํากว่า 60% RH
• สำหรับห้องเก็บยา อุณหภูมิอยู่ที่ 25°C (+/-5) ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศให้อยู่ในช่วง 40-60%RH

     อย่างที่เราทราบกันว่าโรงพยาบาลเอกชน รัฐบาล รวมไปถึงคลินิกต่างๆ ต้องเป็นสถานที่ต้องควบคุมดูแลเรื่องมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยทั้งสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บุคลากร รวมถึงอุณหภูมิความชื้น และอากาศ จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันควบคุม กำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงไวรัสต่างๆ ด้วย ยิ่งในยุคปัจจุบันประเทศไทยเราเจอปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งต้องพยายามทำให้คนที่เขามาภายในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ต้องได้รับความปลอดภัยรวมถึงขั้นตอนการรักษาทั้งโดยการผ่าตัดและการใช้ยาจะได้ประสิทธิภาพที่ดีและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

• ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสาหรับห้องผ่าตัด (Operating Room, OR) ที่ 17-27 °Cควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในช่วง 45-55% RH

• ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสาหรับห้องไอซียู (Intensive Care Unit, ICU) ที่ 21-27°Cควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้ต่ํากว่า 60% RH

โดยการเลือกใช้เครื่องลดความชื้นที่ใช้ระบบการทำงานแบบคอมเพรวเซอร์ ในการดูดความชื้นในอากาศภายในห้องโรงพยาบาล ที่ช่วยดูดความชื้น จัดการควบคุมความชื้น ปรับสภาพอากาศ กำจัดฝุ่น PM2.5 ยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรค เชื้อรา ที่อาจเกิดขึ้นภายในห้อง รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดสนิม
     ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าห้องต่างๆ ภายในโรงพยาบาลจึงมีการควบคุมความชื้นที่แตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุประสงค์และอุปกรณ์ที่ใช้เช่น
• ห้องปฏิบัติการ
• ห้องไอซียู , ห้องผ่าตัด (CCU , ICU)
• ห้องฉายรังสี , ห้อง Laser System , ห้อง X-Ray 
• ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์

หากไม่มีการควบคุมความชื้นที่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นได้

     เกิดอาการปวดหัว เจ็บตา เจ็บคอ คัดจมูก ซึม อาการทางผิวหนัง และการแพร่กระจายของไวรัสในอากาศที่เพิ่มขึ้น คือผลกระทบทั้งหมดของอากาศที่แห้งเกินไป อากาศแห้งจะดูดความชื้นจากทุกแหล่งในห้อง ซึ่งรวมถึงเยื่อเมือกในจมูกและคอซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้เราติดเชื้อโรค ความชื้นจะถูกดึงจากเนื้อเยื่อตามร่างกายที่สัมผัสอากาศในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้แห้งก่อนกำหนดและเกิดการตกสะเก็ดจากการที่เลือดจับลิ่ม

ในโรงละคร บางที เรื่องที่สำคัญกว่า ก็คือเรื่องไฟฟ้าสถิตดูดซึ่งจะก่อตัวที่ความชื้นต่ำกว่า 40%RH การกระตุกที่ทำให้ตกใจ และไม่สบายตัว ที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตอาจทำให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการผ่าตัดได้

ต้องคำนึงถึงการป้องกันประกายไฟจากไฟฟ้าสถิตที่เกี่ยวข้องกับแก๊สยาสลบที่ไวไฟด้วย

ควรรักษาระดับความชื้นในแผนกผดุงครรภ์และแผนกสูตินารีเวชไว้เนื่องจากทารกมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อบรรยากาศแห้ง และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำอาจทำให้สภาวะของผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจทรุดลงได้

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ สรุปว่าอากาศแห้งมีผลกระทบโดยตรงต่อการแพร่เชื้อของไวรัสในอากาศและระยะเวลาที่ไวรัสสามารถแพร่กระจายได้เมื่ออยู่ในอากาศ การรักษาระดับความชื้นในโรงพยาบาลให้อยู่ระหว่าง 40-60%RH จะลดการแพร่เชื้อของไวรัสในอากาศโดยยับยั้งไม่ให้ไวรัสกระจายในอากาศและร่นระยะเวลาการอยู่รอดของไวรัสในบรรยากาศ

• ปัญหาเมื่อห้องมีความชื้นสูง

ค่าของความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงจะมากว่า 50%RH และบางครั้งอาจมีความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 80%RH ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงจะทำให้เกิดอันตรายเมื่ออุณหภูมิในอากาศสูงด้วย ตามที่กล่าวข้างต้นมานั้น ความชื้นสูงจะขัดขวางความสามารถของร่างกายให้เย็นตัว สามารถกระตุ้นอาการหอบหืด ดังนั้นคนที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือโรคหอบหืดควรจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในสภาวะดังกล่าว และอีกผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ที่มาจากความชื้นสูงเช่นเดียวกัน คือ  สปอร์เชื้อรา ซึ่งเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในความชื้นสูง และเชื้อรานี้เป็นภัยคุกคามสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด นอกจากนี้ไรฝุ่นยังเจริญเติบโตเมื่อความชื้นสูง ปัจจุบันในเกือบทุกที่มีไรฝุ่นก่อความรำคาญสำหรับคนที่มีอาการภูมิแพ้และโรคหอบหืดอีกด้วย

• ปัญหาเมื่อห้องมีความชื้นต่ำ

หากระดับค่าความชื้นต่ำกว่า 35%RH จัดว่าอากาศในบริเวณนั่นมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว เมื่ออากาศแห้งเกินไปทำให้จมูก ลำคอ และผิวรู้สึกแห้ง และแตกกร้าน เยื่อบุจมูก และลำคออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในอากาศ เช่น โรคหวัด และไข้หวัดใหญ่ และทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดมีอาการรุนแรงขึ้น อากาศแห้งทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตในอากาศสามารถทำลายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้  นอกจากนี้วอล์เปเปอร์ที่ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามภายในห้องสำหรับผู้ป่วย หรือห้องรับรองสามารถถูกทำลายได้ในอากาศที่มีความชื้นต่ำอีกด้วย  ดังกล่าวข้างต้น ความชื้นต่ำ สามารถทำให้คุณรู้สึก ราวกับว่า อุณหภูมิอากาศต่ำกว่าที่เป็นจริง ความชื้นต่ำมักจะเกิดขึ้น ในช่วง ฤดูหนาว และการรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ