พิพิธภัณฑสถานเขลางค์นคร


ที่อยู่:
วัดเจดีย์ซาวหลัง เลขที่ 268 หมู่ 2 ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
โทรศัพท์:
054-320234, 089-2627416 ติดต่อพระครูสมุห์สมคิด เมตตจิตโต
วันและเวลาทำการ:
เปิดเสาร์-อาทิตย์ 8.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตำนานพระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: ลำปาง: วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แลเมืองลำปาง ผ่าน "พิพิธภัณฑ์เขลางคนคร"

ชื่อผู้แต่ง: อธิชัย ต้นกันยา | ปีที่พิมพ์: 12/22/2543

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานเขลางค์นคร

วัดพระเจดีย์ซาวหลังเป็นวัดโบราณก่อนตำนานสมัยอาณาจักรเชียงใหม่ สมัยที่ล้านนาตกอยู่ในการปกครองของพม่า ได้ใช้วัดป่าเจดีย์ซึ่งก็คือวัดเจดีย์ซาวแห่งนี้ เป็นศูนย์กลางศาสนาในนิกายอรัญวาสของพม่า คำว่า "ซาว" เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่า ยี่สิบ เจดีย์ซาวจึงหมายถึง เจดีย์ยี่สิบองค์ เป็นศิลปะแบบพม่าผสมศิลปะล้านนา องค์ใหญ่สุดอยู่ตรงกลาง แวดล้อมด้วยเจดีย์อีกสิบเก้าองค์
 
ด้านหลังของหมู่เจดีย์ และพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑสถานเขลางคนคร  พิพิธภัณฑ์เริ่มขึ้นจากการที่ท่านเจ้าอาวาส รวบรวมของเก่าแก่ที่เจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ เก็บไว้ แล้วนำมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์บนศาลาวัด โดยมีวัตถุเพียงไม่กี่ชิ้น ได้แก่ มีดดาบ ปืนคาบศิลา ด้ามพร้า และพระพุทธรูปเก่าๆ จากนั้นมีคนสนใจมาชมมากขึ้น จึงมีผู้บริจาควัตถุโบราณของเก่าแก่ที่ตนเองเก็บสะสมและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
 
อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น บันไดด้านหน้าที่ทอดยาวลงมา นำผู้มาเยือนขึ้นไปสู่ชั้นสอง มีครุฑไม้สักแกะสลักตัวใหญ่ ที่ได้มาจากศาลากลางหลังเก่าของเมืองลำปาง ยืนโดดเด่นเป็นสง่าหน้าประตูทางเข้า นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย เช่น พระเครื่อง พระบุเงิน เงินตราและเหรียญประเภทต่างๆ ภาพถ่ายเก่า ๆ เช่น ภาพการสำรวจบริเวณวัดและพบฐานเจดีย์ ซึ่งถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ. 2461 ขวานหิน ตลอดจนพระพุทธรูปต่างๆ ที่ได้จากเจดีย์วัดหมื่นครื้น ซึ่งหักพังลงมาในปี 2535
 
ชั้นล่าง เป็นที่เก็บรวบรวมเครื่องปั้นดินเผา ผางลาง โลหะรูประฆัง เครื่องใช้สอย เช่น ภาชนะ เครื่องประดับ ทุ่งเตาไหเป็นเตาเผาโบราณชนิดเคลือบน้ำยาสีดำและสีน้ำตาลเข้มศิลปะมอญ อายุประมาณ 700-1,000 ปี อาวุธโบราณ เช่น ดาบ หอก ขวานโลหะ เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. เกราะทำจากกระดูกสัตว์ป่า ฝีมือชาวกะเหรี่ยง หีบเหล็ก ตะเกียงเจ้าพายุ เตาเส้า สำหรับสูบลมเผาตีเหล็ก กล้องยาสูบที่ทำจากดินเผา เป็นต้น
วัตถุสิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานเขลางคนครแห่งนี้ มีป้ายชื่อ พร้อมคำอธิบาย และจัดทำเลขทะเบียนไว้เป็นอย่างดี
 
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 24 กันยายน 2546 
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคเหนือ)  จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 14 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง  จังหวัดลำปาง
ชื่อผู้แต่ง:
-