พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ


ที่อยู่:
277 ม.10 ต.ยางคราม กิ่งอ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์:
08-9855-5852, 053-269101, 089-4304050
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 9.00-17.00น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม (กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน)
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
ของเด่น:
รูปเคารพพระพิฆเนศ และเทวาลัยเพื่อการบูชา
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

ทริป(หวัง)สมฤทธิผล ยล พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 01-08-2551

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศหนึ่งเดียวในเมืองไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23-12-2549(หน้า26)

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ งดงามเปี่ยมศรัทธา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22/02/2552

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์พระคเณศ

ชื่อผู้แต่ง: นิตยา กนกมงคล | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555;vol. 38 No.3 July-September 2012

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 30 เมษายน 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ

อาจารย์ปัณฑร ทีรคานนท์ เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พิฆเนศแห่งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2547 อาจารย์กล่าวถึงแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการนับถือพระพิฆเนศ และการสะสมวัตถุไว้เพื่อการบูชาและการศึกษาเกี่ยวกับศาสนาฮินดู “ผมไม่ได้ตั้งใจทำพิพิธภัณฑ์ เราชอบสะสม นับถือด้วย เริ่มสะสมมา 30 ปี ตั้งแต่อายุ 19 ปี ผมได้องค์แรกเป็นกริ่งแบบเขมรจากคุณพ่อมา” ด้วยเหตุผลที่อาจารย์เป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาและสนใจศึกษาปรัชญาและแนวคิดศาสนาอย่างจริงจัง จึงทำให้อาจารย์เดินทางไปยังแหล่งกำเนิดของศาสนาฮินดู พร้อมกับการสะสมเทวรูป ที่มีทั้งความงามและคติสอนทางศาสนา
 
พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าที่เป็นที่นับถือในทุกนิกายของฮินดู เพราะต้องมีการบูชาพระพิฆเนศวรก่อนบูชาเทพเจ้าองค์อื่น โดยมีเมืองปูเน่เป็นศูนย์กลาง จากความศรัทธาและการศึกษาเกี่ยวกับพระคเณศนี้ อาจารย์เริ่มการปฏิบัติเป็นพราหมณ์ และทำต่อเนื่องมากว่าสามสิบปี การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเป็นทั้งสถานที่ของการให้ความรู้เกี่ยวกับพระพิฆเณศ และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่นับถือ ดังจะเห็นได้จากการเตรียมสถานที่ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบูชาด้วยการฉายวีดิทัศน์ที่ศาลาด้านหน้า และผู้เข้าชมสามารถเดินมายังเทวาลัยเพื่อทำการบูชา ก่อนที่จะเดินไปชมรูปเคารพต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์
 
อาจารย์ปัณฑรกล่าวถึงรูปเคารพในเทวาลัยไว้ว่า “พระพิฆเนศองค์นั้นเป็นปางของการฟ้อนรำ ทำไมเราเลือกปางนี้ เมื่อพระคเณศเกิดขึ้นมาท่านได้ฟ้อนรำ พระแม่อุมาฯ ได้ประทานผ้าสีแดงให้ องค์นี้ถือเป็นปฐม คือแรกเกิด แล้วก็เราสร้างในลักษณะที่มหาคณปติโลก คือโลกที่พระองค์ประทับอยู่ ระบุว่าพระองค์ประทับอยู่เกาะกลางมหาสมุทร ซึ่งมหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยทะเลน้ำอ้อย เวลามีคลื่นพัดมาจะพัดเอาเพชรพลอยเข้ามาสู่ฝั่ง พระองค์ทรงประทับอยู่ภายใต้ต้นกัลปพฤกษ์ เราแทนด้วยฉัตรข้างบน และมีดอกบัวรองรับ ดอกบัวแต่ละกลีบจะมีเครื่องหมาย‘โอม’ทำเอาข้างใน เป็นลักษณะมหาคณปติโลก ลำดับของอาคาร สวรรค์ โลกมนุษย์ บาดาล แล้วจะค่อนข้างชัน คล้ายกับ ‘พนมรุ้ง’คือทุกคนขึ้นไปจะต้องแสดงความคารวะต่อเทพที่อยู่ข้างใน เพราะความชันของบันได ทุกเช้า พระอาทิตย์จะส่องถูกเทวรูปที่อยู่ด้านใน แล้วเงาสะท้อนของภาพเทวลัยอยู่ในสระน้ำตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ตัวเทวลัยมีลักษณะเป็นธาตุไฟ ต้องถูก ‘เบรก’ ด้วยธาตุน้ำ คล้าน ‘หยินกันหยาง’ จะต้องอยู่ด้วยกัน”
 
ประติมากรรมต่างๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ล้วนมาจากการสะสมจากความศรัทธา ทั้งที่เป็นการเช่าจากประติมากรรมซึ่งทำไว้เป็นรูปเคารพบูชาตามที่สาธารณชนหาซื้อได้ และการสั่งให้ช่างศิลป์เสกสรรค์รูปเคารพไว้เพื่อให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่เข้าชม “เราไปนั่งเฝ้าบ้านช่างที่ไชปุระเป็นเวลาถึงสองอาทิตย์ หินอ่อนก้อนนั้นมีความสวยงามและถูกใจ ขนาดของหินตรงกับความต้องการ คือมีขนาดเท่ากับพระแม่ลักษมี ด้วยความสวยของหินอ่อนที่ไม่ต่างจากความงามของพระนางลักษมีนี้เอง ทำให้เราต้องจ้างช่างสลักเป็นพระรูปคู่กับกับพระพิฆเนศวรตามที่ระบุไว้ในตำรา” นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มรูปปั้นที่สร้างโดยช่างท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยช่างนั้นปั้นมาจากขี้เลื่อย เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมได้ศึกษาปางต่างๆ ของพระพิฆเนศที่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในตำรา
 
อาจารย์กล่าวว่าในหลายๆ กรณี ช่างหรือบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาตำราแล้ว มักจะสร้างชิ้นงานหรือรูปเคารพที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ รูปเคารพบางส่วนในพิพิธภัณฑ์จึงเป็นเสมือนกับวัตถุที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้ของช่าง หรือผู้ที่ขาดความใส่ใจในการศึกษา ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของการสร้างวัตถุมงคลประเภทที่มี “การทำเหรียญ ด้านหนึ่งเป็นพระพุทธหรือเกจิ และอีกด้านเป็นคเณศ ก็ไม่ควรจะอยู่คู่กัน เพราะความแตกต่างระหว่างพระคเณศกับพระพุทธเจ้ามีความแตกต่างกันมาก คเณศก็เหมือนกัน พุงของท่านคือความอุดมสมบูรณ์ คุณมาทำคเณศเพื่อการกราบไหว้ไม่ถูกต้อง”
 
โครงการที่อาจารย์กำลังดำเนินงาน คือการสร้างสัญลักษณ์ทั้งแปดแห่ง อันเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพระคเณศหรือเรียกว่า “อัฏฏวินายการ” “ตอนนี้เรากำลังเผยแพร่อัฏฏวินายการ เปรียบเหมือนทางพุทธที่เราจะต้องยาตราสังเวชนียสถานสี่แห่ง แต่ถ้าเป็นของพระคเณศมีแปดแห่ง ถ้าของพระศิวะมีสิบสองแห่ง ใครก็ตามที่นับถือพระคเณศ ควรได้ยาตราสู่สถานที่ทั้งแปดแห่งนี้ เพื่อได้บุญอันสูงสุด และพระองค์จะเติมเต็มส่วนที่ขาดหายในชีวิตให้ คนที่ยังไม่มีคู่ จะมีคู่ คนที่ยังไม่มีบุตร จะมีบุตร คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะหาย เราพยายามทำ เพราะการเดินทางไปอินเดียใช้ค่าใช้จ่ายสูง เดินทางลำบาก เราคิดถึงอนาคตตัวเราเอง เราเดินทางไปไม่ไหว” (ในขณะนี้ การสร้างสัญลักษณ์ทั้งแปดแห่งแล้วเสร็จแล้ว)
 
โดยสรุปแล้ว พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศจึงเป็นทั้งเทวาลัยเพื่อการบูชาพระพิฆเนศ และแหล่งศึกษาหาความรู้ของผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพระองค์ นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าขายของที่ระลึก และการเช่ารูปเคารพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพิฆเนศ รวมทั้งบทสวดสำหรับคนที่ศรัทธา และข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการที่ถูกต้องในการแสดงความเคารพต่อพระองค์
 
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ /เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 13 พฤศจิกายน 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ

พระคเนศ พระพิฒเนศวร์ หรือพระคณปติ เป็นนามของเทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งของศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ เป็นโอรสของพระศิวะกับนางปารวตี (พระอุมา) ที่มีลักษณะของร่างกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ซึ่งปรากฏชื่อพระคเนศครั้งแรกเป็นยุคปราณะของประเทศอินเดีย ในฐานะเทพเจ้าแห่งอุปสรรค ผู้บันดาลให้เกิดอุปสรรค และบันดาลให้เกิดความสำเร็จเนื่องจากพระคเนศเป็นที่นับถือมาทุกยุค ทุกสมัย จึงปรากฏรูปเคารพในรูปแบบของงานประติมากรรมอยู่มากมาย ทั้งที่แกะจากศิลา โลหะสำริด ทองเหลืองปูนปั้น ดินเผา ไม้และงาช้าง อันเป็นเครื่องยืนยันถึงการนับถือพระคเนศในดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรกัมพูชา อาณาจักรจัมปาในเวียดนามปัจจุบัน อาณาจักรพม่า ชวา อาณาจักรทวาราวดีในไทย และอาณาจักรศรีวิชัยในคาบสมุทรเกาะสุมาตรา

ในประเทศไทยปัจจุบัน มีการนับถือพระคเนศและบูชาในฐานะเทพสำคัญด้านต่างๆ จึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชพิธีในราชสำนักไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวาย และพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก เป็นต้น ในหมู่เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์พระคเนศนับเป็นเทพที่มีรูปลักษณ์โดดเด่นที่สุด คือ องค์เป็นมนุษย์ เศียรเป็นช้าง ทรงหนูเป็นพาหนะ ในการทำรูปเคารพนิยมทำเป็นรูปบุรุษร่างอ้วน พุงพลุ้ย ในท่านั่งบนหลังหนูหรือยืนข้างหนู มี 1-16 กร ถืออาวุธต่างๆแตกต่างกัน ตามปางหรือเนื้อหาของประวัติตอนที่ผู้สร้างเลือกเพื่อบูชา แต่ที่นิยมคือ 4 กร ถือบ่วงบาศ ตะขอเกี่ยวช้าง ขนมโมทกะ และแสดงปางประทานพร รูปพระคเนศตั้งแต่สมัยแรกที่สร้างในประเทศอินเดียมาจนถึงปัจจุบันที่แพร่หลายในประเทศไทยนั้น มักแสดงท่าทางแตกต่างกัน อิริยาบถเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ตีความได้ว่าเป็นพระคเนศในปางใด ทั้งยังแสดงถึงสกุลช่างศิลปกรรมที่หลากหลาย ตลอดจนพัฒนาการของคติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระคเนศ

งานประติมากรรมรูปเคารพพระพิฆเนศเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นจากการที่คุณปัณฑร ทีรคานนท์ เก็บสะสมศิลปะวัตถุและเทวรูปต่างๆมากว่า 30 ปี มีของสะสมกว่า 1000 ชิ้น เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2547 มีสิ่งที่หน้าสนใจมากมายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ อาทิ หอเวทวิทยาคม เป็นศาลาทรงไทย จำลองแบบจากศาลาในบ้านพักของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญขององค์พระพิฆเนศในเทศกาลคเนศจตุรถี ในช่วงวันปกติจะใช้เป็นที่ฟังบรรยาย และนั่งชมวีดีทัศน์ อาคารบูชา เดิมเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์หลังเก่า ปัจจุบันใช้เป็นห้องบูชาและจัดกิจกรรมสาธิตการประกอบพิธีบูชาองค์พระพิฆเนศ ในทุกวันอาทิตย์เวลา 10-11.30 น. ภายในอาคารจัดแสดงเทวรูปพระพิฆเนศ ประทับพร้อมครอบครัว แกะสลักด้วยไม้ทั้งหมด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีเพียงแห่งเดียวในโลกเพราะแม้นในประเทศอินเดียก็ไม่ปรากฏพระพิฆเนศ ประทับพร้อมครอบครัว

อาคารจัดแสดง 1 และ 2 เป็นสถาปัตยกรรมของชาวฮินดูในเกาะบาหลี รวมถึงสีของอาคารก็เป็นสีดั้งเดิมที่ชาวบาหลีใช้กัน ภายในอาคารใช้เป็นที่จัดแสดงรูปเคารพขององค์พระพิฆเนศ ซึ่งรวบรวมมาจากสถานที่ต่างๆในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งหมดกว่า 1000 องค์ หอพระ เป็นอาคารหลังแรกที่สร้างขึ้น เดิมเป็นหลองข้าว ต่อมากระเบื้องมุงหลังคาทรุดโทรมจึงซ่อมแซมใหม่และดัดแปลงเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน แต่ส่วนชั้นบนยังคงใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม เทวาลัยพระคเนศ เทวาลัยหลังนี้ สร้างขึ้นจากความศรัทธาของเจ้าของพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อองค์พระพิฆเนศ อิฐทุกก้อนผ่านการสวดและเขียนอักขระ ก่อนนำไปประกอบเป็นเทวาลัย

ภายในเทวาลัยได้จำลองคณปติโลก (โลกอันเป็นที่ประทับขององค์พระพิฆเนศ) ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า พระองค์ทรงประทับอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยน้ำอ้อย ในเวลาที่ลมพัดจะเกิดคลื่นซัดเอาเพชรพลอยและอัญมณีเข้าหาฝั่ง พระองค์ทรงประทับยืนขึ้นบนดอกบัว ซึ่งมีกลีบดอกเขียนเป็นอักษรโอมภายใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ภายในเทวาลัยหลังนี้ได้ถ่ายทอดความเชื่อดังกล่าวโดยพื้นของเทวาลัยได้ใช้แผ่นโลหะดุนลายเป็นรูปดอกบัวแทนน้ำหรือมหาสมุทะน้ำอ้อย ฐานสี่เหลี่ยมกลางเทวาลัยแทนเกาะอันเป็นที่ประทับขององค์พระพิฆเนศ กลีบดอกบัวทุกกลีบจารึกอักษรโอมใยภาษาต่างๆถึง 12 ภาษา ส่วนต้นกัลปพฤกษ์ถูกแทนด้วยคณปติฉัตร (ร่ม) เทวสถานอัตสตะวินายกา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมของชาวเครโอลยุคโคโลเนียลบนเกาะรียูเนียน (Reunion Island) ที่มักประดับชายขอบประตูหน้าต่างและหลังคาด้วยไม้ฉลุอ่อนหวานเรียบง่าย ส่วนบานประตูเทวสถานทำเป็นรูปมงคล 8 ในนิกายพุทธมหายาน

พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา09.00-17.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมใดๆทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
http://www.ganeshhimal.org/
ชื่อผู้แต่ง:
-

เยี่ยมชม..พิพิธภัณฑ์ พระพิฆเนศเชียงใหม่

วันนี้เราได้รับอนุญาตเจาะลึก พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ Ganesh himal Museum & Gallery สถานที่เอกชนสร้างขึ้นด้วยศรัทธา เป็นสาธารณสถาน ให้ผู้สนใจเข้าชมโดยไม่เก็บเงิน ณ บ้านตำบลยางคราม อ.ดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ อาคารด้านหน้าเป็นอาคารบูชา จัดเป็นห้องบูชา และ จัดกิจกรรมสาธิตการประกอบพิธีบูชาองค์พระพิฆเนศ ภายในอาคารมีเทวรูปพระพิฆเนศประทับพร้อมครอบครัว โดยรอบบริเวณ จะมีสถานเทวาลัย ภายในจะถ่ายทอดความเชื่อ โลกอันเป็นที่ประทับขององค์พระพิฆเนศ พื้นเป็นลายดอกบัวแทนน้ำ หรือ มหาสมุทร ฐานสี่เหลี่ยมกลางเทวาลัย แทนเกาะอันเป็นที่ประทับขององค์พระพิฆเนศ
ชื่อผู้แต่ง:
-