โลโก้ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ

ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มีพันธกิจหลักในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการเพื่อการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคงบนเส้นทางอริยมรรค

สถาบันโพธิคยาฯ เป็นองค์กรอิสระไม่หวังผลกำไร ก่อกำเนิดจากการรวมตัวของพุทธบริษัทผู้รู้พระคุณอันประเสริฐแห่งพระรัตนตรัย ร่วมกันทำงานอย่างมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงด้านพระพุทธศาสนา ด้วยการปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล องค์กรเอกชน คณะบุคคล และบุคคล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และด้วยตระหนักถึงวิกฤตปัญหาที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญอันสามารถแก้ไขเบ็ดเสร็จได้ด้วยพุทธธรรม สถาบันโพธิคยาฯ จึงดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าวต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา 17 ปี และมีผลงานโดดเด่นเป็นที่รู้จัก คือ งานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง (กัมพูชา-ไทย-สปป.ลาว-เมียนมา-เวียดนาม) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเดินตามรอยบาทองค์พระศาสดาในการปฏิบัติธรรม เพื่อรวมพลังศรัทธาของพุทธบริษัทลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความสามัคคี ในฐานะที่มีสมเด็จพ่อองค์เดียวกัน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า มีแม่น้ำโขงเป็นดุจแม่ที่คอยหล่อเลี้ยงคนในภูมิภาคนี้ ให้ดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง และเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา สืบสานพุทธปณิธานของพระพุทธองค์ให้ดำรงคงอยู่เก็บรักษาไว้ให้เป็นมรดกธรรมแก่อนุชนคนรุ่นต่อไป
ทั้งนี้ งานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง ได้จัดขึ้นผ่านไปแล้ว 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 ธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน: ตามรอยพระอริยสงฆ์ลุ่มน้ำโขง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และได้จัดพิธีเปิดงานธรรมยาตราฯ ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ โภคีธารา ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผู้นำสงฆ์ และผู้นำประเทศในส่วนราชอาณาจักรกัมพูชามาเป็นประธาน ดังนี้ สมเด็จพระอัครสังฆราชาธิบดีเทพวงศ์ สมเด็จพระมหาสังราชแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และ ฯพณฯ ฮอ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

ครั้งที่ 2 ธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง: พุทธศาสตร์การทูตสู่สันติภาพโลก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และได้จัดพิธีปิดงานธรรมยาตราฯ และบวงสรวงบูรพกษัตริย์ที่ปราสาทนครวัด เมืองเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีผู้นำสงฆ์ และผู้นำประเทศในส่วนราชอาณาจักรกัมพูชามาเป็นประธาน ดังนี้ สมเด็จพระอัครสังฆราชาธิบดีเทพวงศ์ สมเด็จพระมหาสังราชแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และ พลเอก สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

โครงการธรรมยาตราฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินตามรอยบาทองค์พระศาสดาในการศึกษาปฏิบัติธรรม เพื่อรวมพลังสายธารศรัทธาของพุทธบริษัทลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ในฐานะที่มีสมเด็จพ่อองค์เดียวกัน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า มีแม่น้ำโขงเป็นดุจแม่ ที่คอยหล่อเลี้ยงคนในภูมิภาคนี้ ให้ดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง และเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา สืบสานพุทธปณิธานของพระพุทธองค์ให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป เก็บรักษาไว้ให้เป็นมรดกทางธรรมแก่อนุชนคนรุ่นต่อไป

จากผลแห่งความสำเร็จในการจัดงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินฯ ทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา สามารถสร้างพลังศรัทธา และความสามัคคีของประชาชนทั้ง 5 ประเทศ ให้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง และยิ่งใหญ่ จนนำมาสู่โครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 ในชื่อ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง {Ganga-Mekong Holy Buddha Relics Dhammayatra} (อินเดีย ไทย) เป็นโครงการที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ(กระดูกจริง)ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมสารีริกธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะจากประเทศอินเดีย เพื่อให้ประชาชนได้กราบสักการะ และเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการเสด็จฯ ขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อประทานพรโปรดพุทธศาสนิกชน หลังจากว่างเว้นไปกว่า 1 ศตวรรษ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ ฯ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นธรรมยาตราเชื่อมดินแดนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากมหานทีคงคาอินเดีย สู่แผ่นดินแห่งพุทธธรรมลุ่มน้ำโขงไทย เป็นการนำเสด็จฯ พระบรมสารีริกธาตุขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยรัฐบาลอินเดียจากพิพิธภัณท์สถานแห่งชาติอินเดีย ตามเสด็จฯ โดยพระสารีริกธาตุของอัครสาวกซ้าย-ขวา พระสารีบุตร พระมหาโมคคลานะ จากมหาสถูปสาญจี อินเดีย ระหว่าง วันที่ 23 กุมภาพันธ์-19 มีนาคม พ.ศ.2567

ในการ เตรียมจัดงานธรรมยาตรา พระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระสารีริกะธาตุ พระสารีบุตรและพระมหาโมคลานะ จากประเทศอินเดียเป็นความร่วมมือจาก รัฐบาลอินเดีย และรัฐบาลไทย พร้อมทั้งวัดไทยพุทธคยา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสุวรรณภูมิพุทธชัยตรี และสถาบันโพธิยาวิชชาลัย 980 เพื่อเชื่อมต่อและเผยแผ่พลังศรัทธาของประชาชนในพุทธธรรมของทั้ง 2 ภูมิภาค ให้มั่นคงสืบไป สร้างอานิสงส์ของหลักธรรมให้เกิดพลังสามัคคี และความดีของมวลมนุษยชาติ อยู่ร่วมกันอย่างสันติบนหลักปรัชญา และพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นโอกาสให้ประชาชนได้กราบสักการะ และเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในการเสด็จฯ ขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อประทานพรโปรดพุทธศาสนิกชน หลังจากว่างเว้นไปเกือบ 1 ศตวรรษ การเสด็จฯ ของพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้พุทธบริษัทสามารถดำเนินกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธรรมะให้เกิดขึ้นเพื่อสืบทอดความรัก ความสามัคคี และสร้างสันติสุขโดยธรรมให้เกิดขึ้นในแผ่นดินเอเชีย อันเป็นแผ่นดินกำเนิดของพระพุทธศาสนากำเนิดและประดิษฐานอย่างมั่นคงเป็นเวลากว่า 2600 ปีมาแล้ว

หมายกำหนดการ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

ธรรมยาตรามหานทีคงคา ลุ่มน้ำโขง มีกำหนดการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยผู้แทนรัฐบาลอินเดียจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย พร้อมพระสารีริกธาตุ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ จากสถูปสาญจี อินเดีย มาประดิษฐานที่ประเทศไทย วันที่ 22 กุมภาพันธ์  2567 โดยจัดพิธีอัญเชิญในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และเปิดให้ประชาชนเข้ากราบสักการะ ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2567 จากนั้นจะอัญเชิญต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่ – จังหวัดอุบลราชธานี – จังหวัดกระบี่ จึงอัญเชิญเสด็จกลับสู่สาธารณรัฐอินเดีย

พระบรมสารีริกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ศตวรรษที่ 4-5 ก่อนคริสตศักราช

ปิปราห์วา (กบิลพัสดุ์สมัยโบราณ) เขตสิทธารถนคร รัฐอุตตรประเทศ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี

Acc. No. Sl. No. 115 & 116

พระบรมสารีริกธาตุ

พุทธประวัติ

เจ้าชายสิทธัตถะประสูติจากพระเจ้าสุทโธทนะเจ้าเมืองกบิลพัสดุ์ (ถูกระบุว่าอยู่เมืองปิปราห์วา, อำเภอ บาสตี, รัฐอุตตรประเทศ) และพระนางสิริมหามายา เมื่อประมาณ 563 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เมื่อพระองค์อายุได้ 29 พรรษา ได้ทรงละทิ้งความสุขทางโลกและออกเดินทางแสวงหาความรอดอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ขณะประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้า ได้ทรงตรัสว่า “ …ฉันจะไม่ลุกจากที่นั่งนี้จนกว่าจะบรรลุญาณอันสูงสุดและสมบูรณ์” และพระองค์ก็ได้ตรัสรู้ ที่ถูกเรียกว่า กวาตามะ (his Gotra Buddha) (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) เมื่อขณะพระชนมายุได้ 35 พรรษา โดยต่อมาเมื่อทรงพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสั่งสอนธรรม (สัทธรรม) ในพื้นที่หลายแห่งและโปรดให้ประชาชนและชุมชนได้บรรลุธรรม (เป็นพระสงฆ์)

การแจกจ่ายพระธาตุ: พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานหรือบรรลุมหาปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษาที่เมืองกุสินารา เมื่อพระองค์ทรงใกล้ปรินิพพานอยู่นั้น พระอานนท์ทรงทูลถามพระพุทธองค์ว่าภายหลังที่เสด็จปรินิพพาน ผู้ใดจะเป็นผู้ชี้นำแก่ตนพระพุทธเจ้าทรงตอบว่า เคยเป็นคำสอนและธรรมะของพระองค์ มิลินทปัญหา (Milindapanaha) กล่าวว่า “ผู้เห็นธรรมย่อมเห็นพระพุทธเจ้า” (Mil., 71) และใน พระมหาวัสตุ (Mahavastu) กล่าวว่า “เมื่อเห็นพระบรมสารีริกธาตุ ก็จะมองเห็นพระพุทธเจ้า” (Mhv.133)

แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะดับปรินิพพานแล้ว แต่พระบรมสารีริกธาตุอันล้ำค่าของพระองค์ ยังเป็นที่นับถือในฐานะสัญลักษณ์แห่งองค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ชาวมัลละ (The Mallas) แห่งเมืองกุสินารา ได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ตามแบบพิธีอย่างกับเป็นกษัตริย์สากล (จักราวาติน) พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จากเมรุเผาศพได้รวบรวมมาแบ่งถวายโดยพระพราหมณ์ โธนา แห่งกุสินารา ให้แก่กษัตริย์และภิกษุทั้งหลาย โดยทั้ง 8 ส่วนนี้แบ่งให้แก่

1. พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งเมืองมคธ (King Ajaatshatruof Magadha)

2. กษัตริย์ลิจฉวีแห่งเมืองเวสาลี (The Licchavis of Vaishali)

3. กษัตริย์ศากยะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ (Shakyas of Kapilvastu)

4. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองกุสินารา (Mallas of Kushinagar)

5. กษัตริย์ถูลิยะแห่งเมืองอัลลกัปปะ (Bullies of Allakappa)

6. กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา (Mallas of Pava)

7. กษัตริย์โกลิยะแห่งเมืองรามคาม (Kollivas of Ramagama)

8. มหาพราหมณ์แห่งเมืองเวฏฐทีปกะ (Brahmana of Vethadipa)

พระบรมสารีริกธาตุได้รับการอนุสรณ์ในเจดีย์สถูป 8 ที่ และมีสถูปถูกค้นพบอีก 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่บนผอบที่พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกเก็บรักษาไว้ และอีกส่วนอยู่บนเถ้าถ่าน ดังนั้นสถูปจึงสร้างขึ้นบนที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (สารีริกเจติยะ หรือ ธาตุเจดีย์/ Saririka- stupas) จึงถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ กล่าวกันว่าพระเจ้าอโศก (ประมาณ 272-232 ปีก่อนคริสตศักราช) เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ได้เปิดเจดีย์ 7 แห่งจากทั้งหมด 8 แห่งนี้ และรวบรวมพระธาตุส่วนใหญ่ไว้ประดิษฐานไว้ภายในเจดีย์จำนวนนับไม่ถ้วน (84,000 สถูป) ที่สร้างขึ้นโดยพระองค์ ตามความพยายามในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเผยแพร่ธรรมะ

กบิลพัสดุ์ ปิปราห์วา (Kapilavastu Piprahwa)

พระบรมสารีริกธาตุภายใต้การดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิวเดลี ถูกขุดขึ้นมาจากปิปราห์วา ในเขต Siddharthnagar ของอุตตรประเทศ ซึ่งในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโบราณแห่งกบิลพัสดุ์ โดยเนินดินที่ปิปราห์วานั้นก็ถูกระบุว่าเป็นเนินเดียวกับกบิลพัสดุ์โบราณ การค้นพบโลงศพที่มีจารึกไว้โดย William Claxton Peppé (ค.ศ. 1852-1936) วิศวกรชาวอาณานิคมอังกฤษและผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในปี 1898 ณ ที่ตั้งเจดีย์แห่งนี้ ถือเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ จารึกบนฝาผอบหมายถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและศากยะหมู่ของพระองค์มีข้อความว่า

“สุกิติ ภตินาม สะ-ภคินิกานัม สะ-ปุตะ-ดาลานัม อิยัม สาลิลา นิทธาเร ภัทดะสะ ภะคะวะเต สะกิยะนาม”

“การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนี้ ได้ร่วมกันทำโดยเหล่าพี่น้องและบุตรหลานศากยะ”

ผู้แปลจสรึก : ศรีสุภูธี มหานายาเก เถโร (Sri Subhuthi Mahanayake Thero) แห่งวัดวัสกาดูวา (Waskaduwa) ประเทศศรีลังกา ผู้ช่วยทีมโบราณคดี และคุณเปเป้

การค้นพบเป็นผลให้มีการสำรวจอีกหลายครั้ง การขุดค้นเพิ่มเติมของสถูปซึ่งขุดบางส่วนโดย Peppe โดยการสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย (ค.ศ. 1971-1977) นอกเหนือจากการเปิดเผยถึงการก่อสร้างที่ลึกสามขั้น ยังได้ค้นพบอีก 2 ผอบ โดยผอบนึงถูกพบที่ทางเหนือ อีกผอบอยู่ทางใต้ ของหลุมที่บรรจุพระบรมสารรีริกธาตุกว่า 22 ชิ้นส่วน พระธาตุจากผอบใหญ่ 12 ชิ้นส่วน และพระธาตุจากผอบเล็ก 10 ชิ้นส่วน โดยกระดูกศักดิ์สิทธิ์ 20 ชิ้นถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิวเดลี ในขณะที่ชิ้นส่วนกระดูกศักดิ์สิทธิ์อีก 2 ชิ้นที่เหลือจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย เมืองโกลกาตา

ต่อมาด้วยการค้นพบดินเผาผนึกมากกว่าสี่สิบแผ่นจากความลึกระดับและตามจุดต่างๆ ในอารามตะวันออกที่ปิปราห์วา ตามตำนานที่ว่า ‘โอมเทวบุตรวิหารกบิลพัสดุุภิกษุสังฆาสะ’ หมายถึง ‘ชุมชนของพระภิกษุชาวกบิลพัสดุ์ที่อาศัยอยู่ในวิหารเทวบุตร’ และ ‘มหากบิลพัสดุ์ภิกษุสังฆาสะ’ ในภาษาพราหมณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่าปิปราห์วา คือกบิลพัสดุ์ในสมัยโบราณ

เส้นเวลาตั้งแต่ปีค.ศ 1898 (พ.ศ. 2441)

– ค.ศ. 1898 : William Claxton Peppé วิศวกรชาวอาณานิคมอังกฤษค้นพบหีบหินซึ่งประกอบด้วยแจกันห้าใบที่บรรจุเครื่องบูชา ได้แก่ ลูกปัด ไข่มุก หินมีค่าและกึ่งสังเคราะห์ กระดูก และขี้เถ้า เครื่องบูชาจำลองถูกเก็บไว้โดย Peppé ในขณะที่เครื่องบูชาส่วนใหญ่ถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์อินเดียที่โกลกาตา

– ค.ศ. 1899 : พระธาตุที่อยู่ในหีบหินถูกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของประเทศไทย พระธาตุถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนเพิ่มเติมและมอบให้ประเทศไทย เมียนมาร์ และศรีลังกา โดยในประเทศไทยพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ในเจดีย์บนยอดสุวรรณบรรพต กรุงเทพมหานคร ทุกปีในช่วงเทศกาลลอยกระทงจะมีงานฉลองเจ็ดวันเจ็ดคืนซึ่งกลายเป็นประเพณีในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ นายเปปเป้ได้มอบโบราณวัตถุอีกส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู แก่พระศรีสุภูธี มหานายเกเถโร ผู้ที่ช่วยขุดค้น ส่วนนี้ถูกเก็บไว้ที่ Waskaduwaa Viharaya ใน Kalutara ของศรีลังกา

– ค.ศ. 1951-1952 : หน่วยสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย (ASI) เข้าถือกรรมสิทธิ์การขุดค้นที่ปิปราห์วา หลังจากการยกเลิกระบบ Zamindari ในอุตตรประเทศ และช่วยให้สามารถขุดค้นเพิ่มเติมที่บริเวณดังกล่าวได้

– ค.ศ. 1971 – 1977 : หน่วยสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย (ASI) ดำเนินการขุดค้นที่ปิปราห์วา ระหว่างปี 1971-1977 ภายใต้การดูแลของ Shri. K. M. Srivastava ผู้อำนวยการ (โบราณคดี) ทีมขุดพบหีบหินสตีไทต์สองใบที่บรรจุพระธาตุศักดิ์สิทธิ์สิบสองชิ้นส่วนจากผอบใหญ่ และพระธาตุศักดิ์สิทธิ์สิบใบจากผอบเล็ก

– ค.ศ. 1997 : มณฑปทองคำถูกถวายเป็นของขวัญแก่พิพิธภัณฑ์โดยราชวงศ์ไทย

– สถานะปัจจุบัน : บางส่วนของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ถูกนำไปที่ศรีลังกา (ค.ศ. 1976,2012) (พ.ศ. 2519, 2555), มองโกเลีย (ค.ศ.1993,2022) (พ.ศ. 2536,2565), สิงคโปร์ (ค.ศ.1994) (พ.ศ. 2537), เกาหลีใต้ (ค.ศ.1995) (พ.ศ. 2538) และประเทศไทย (ค.ศ.1995) (ธ.ค. 2538), สิงคโปร์ (ค.ศ.1997) (2540) . โบราณวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ (ชิ้นส่วนกระดูก 20 ชิ้น) ที่สำนักงานสำรวจทางโบราณคดีของอินเดียให้ยืมแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ในความดูแลอย่างปลอดภัยของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิวเดลี และอีกสองชิ้นที่เหลืออยู่ที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย เมืองโกลกาตา พระธาตุศักดิ์สิทธิ์จะถูกนำไปจัดแสดงในประเทศไทยและกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยจะเป็นนิทรรศการครั้งที่สองในประเทศไทยในรอบ 27 ปี (เป็นการเคลื่อนที่บนท้องฟ้าของดวงจันทร์โคจรผ่านวงกลมดาว 27 ดวง) และจะเป็นครั้งแรกที่กัมพูชา

พระสารีริกธาตุ พระอัครสาวก

พระอัครสาวกเบื้องขวา – พระสารีบุตร

พระอัครสาวกเบื้องซ้าย – พระมหาโมคคัลลานะ

พระอรหันตธาตุแห่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

พระอรหันตธาตุของพระอัครสาวกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้ขุดค้นและพบเจอที่บริเวณเมืองสาญจี (Sanchi) และเมืองสัทธารา (Satdhara) (ห่างจากเมืองสาญจีไปทางตะวันตกประมาณ 10 กม.) ในรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ.1851) โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษ พันตรีอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม (Major Alexander Cunningham) และกัปตันเฟรดเดอริก ชาร์ลส์ เมซีย์ (Captain Frederick Charles Maisey) ซึ่งต่อมาได้ขายให้กับพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต (V&A Museum) ในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ.1921) ขณะที่ทางสมาคมมหาโพธิในอังกฤษเมืองซีลอน (ศรีลังกาในปัจจุบัน) และประเทศอินเดีย ตลอดระยะเวลาของการเรียกร้องและ ความพยายามที่จะนำพระธาตุกลับมาจากอังกฤษได้ประสบผลสำเร็จในท้ายที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)

โดยทันทีที่ได้นำกลับมา พระธาตุดังกล่าวได้นำไปจัดแสดงทั่วเอเชียก่อนที่จะประดิษฐานอีกครั้งที่เมืองสาญจี ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) ซึ่งถือเป็นช่วงเหตุการณ์ที่รุ่งเรืองสูงสุดในการมีความร่วมมือกันที่สำคัญหลายประการ อาทิ โครงการโบราณคดีในยุคอาณานิคมในการสร้างพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้า ยุครุ่งเรืองของลัทธิชาตินิยมพุทธศาสนาในอนุทวีป และลัทธิทางพุทธศาสนาทั่วเอเชีย และโครงการสร้างชาติใหม่ทางวัฒนธรรมของการประกาศอิสรภาพประเทศอินเดีย

ในยุคแรกของพระอรหันตธาตุอันรวมถึงพระบรมสารีริกธาตุนั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับสักการะแต่บรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ ให้ผู้ศรัทธาไปเยี่ยมชมเพื่อ “สัมผัสถึงแก่นแท้ของการดำรงอยู่ของพระพุทธเจ้าในฐานะพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ รวมถึงพระสาวกอาวุโสพระภิกษุและพระภิกษุณีด้วย” ซึ่งต่อมาในช่วงประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตศักราช (พ.ศ.300) เมื่อพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากทวีปต่างๆ การบูชาพระธาตุก็เริ่มแพร่หลายในพระพุทธศาสนามากขึ้นด้วย และพระธาตุอื่นนอกเหนือจากพระบรมสารีริกธาตุ ก็เริ่มได้รับการบูชาและได้รับความอุปถัมภ์จากรัฐต่างๆ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นพราหมณ์และเป็นพระอัครสาวกคนโปรดของพระพุทธเจ้ารองจากพระอานนท์ โดยทั้งสองได้เข้านิพพานที่ใกล้เมืองราชกริหะ (ปัจจุบันคือเมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธ) และพระธาตุของทั้งสองท่าน ได้บรรจุอยู่ในสถูปเจดีย์ที่สร้างในบริเวณนั้น โดยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ ได้รับการจดบันทึกโดยผู้แสวงบุญชาวจีนสองคน คือ ฟาเฮียน (Fa-Hien) พ.ศ. 942 – 954 (ค.ศ.399-411) และ เสวี้ยนจ้าง (Xuanzang) หรือที่รู้จักกันว่าพระถังซัมจั๋ง (Hieun-Tsang) พ.ศ. 1172 – 1184 (ค.ศ. 629-641) ซึ่งได้ไปเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในอินเดีย และกล่าวถึงว่าพระธาตุของนักบุญทั้งสองนี้ว่าได้ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์ที่เมืองมถุรา โดยบันทึกดังกล่าวได้ค้นพบโดยอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ผู้อำนวยการหน่วยการสำรวจทางโบราณคดีแห่งอินเดีย (ASI) ในการขุดค้นทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนสถาน

อ้างอิงตามบันทึกการเดินทางผู้แสวงบุญชาวจีนสองท่านและแหล่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างอโศกวัฒนะ ทางอเล็กซานเดอร์โต้แย้งว่าพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิแห่งเมารยัน ได้เปิดสุถูปเจดีย์ทั้ง 8 แห่งทันทีหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอัครสาวกของพระองค์ไปยังพระสถูปนับพันที่ที่ทรงสร้างไว้ทั่วอนุทวีป ด้วยเหตุนี้ พระธาตุบางส่วนของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจึงได้รับเก็บรักษาไว้ที่สถูปในเมืองสาญจี

ในปีพ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พันตรีอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮมและกัปตันเฟรด ซี เมซีย์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอังกฤษแห่งอินเดีย ให้จัดเตรียมงานแสดงเกี่ยวกับสถูปที่เมืองสาญจี และในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) พวกเขาได้ขุดค้นพบสถูปที่ 2 และ 3 รวมทั้งค้นพบผอบของพระสารีบุตรและโมคคัลลานะในสถูปที่ 3 โดยผอบที่ทำด้วยหินสบู่หรือสตีไทต์ได้จัดวางไว้ในหีบหินสองใบ แต่ละหีบบรรจุเศษส่วนกระดูกขนาดเล็ก ลูกปัดโกเมน หินลาพิส หินลาซูลี ลูกปัดคริสตัล และไข่มุก นอกจากนี้ ผอบของพระสารีบุตรยังบรรจุไม้จันทน์ 2 ชิ้น ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากเมรุเผาศพของพระองค์ ลักษณะการบรรจุพระธาตุที่คล้ายกันนี้ ได้รับการค้นพบการประดิษฐานอยู่ในสถูป 2 ที่เมืองสัทธารา (Satdhara) (ห่างจากสาญจี 40 กม.) เช่นกัน

เป็นที่น่าเสียดายที่ช่วงการขุดค้นเกิดในยุคอาณานิคม ที่พันตรีอเล็กซานเดอร์ และกัปตันเฟรดเดอริกได้แบ่งสิ่งที่ค้นพบออก โดยแบ่งเป็นพระธาตุพร้อมจารึกอันซึ่งมีคุณค่าทางโบราณคดี อีกส่วนคือชิ้นส่วนที่มีคุณค่าทางด้านศิลปะ โดยพันตรีอเล็กซานเดอร์ขนส่งพระธาตุส่วนของเขาไปยังอังกฤษด้วยเรือสองลำ ซึ่งมีรายงานว่าเรือลำหนึ่งได้จมลงใกล้ที่บริเวณจาฟนา (Jaffna) ส่วนเฟรดเดอริกได้เตรียมการแยกต่างหากสำหรับวัตถุโบราณที่เขารับเพื่อจัดส่งไปยังอังกฤษ ที่ต่อมาส่วนของเฟรดเดอริกที่มาจากเมืองสาญจีและเมืองสัทธารานั้น ได้ให้ยืมไปยังพิพิธภัณฑ์เซาท์เคนซิงตัน (South Kensington Museum) ในปีพ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Victoria & Albert Museum ในปี 1899) และในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) โดโรธี ซาวาร์ด(Dorothy Saward) เหลนของเฟรดเดอริกได้ขายวัตถุโบราณดังกล่าวให้กับพิพิธภัณฑ์ V&A ในราคา 250 ปอนด์ การอ้างอิงเกี่ยวกับพระธาตุเหล่านี้ยังพบได้ในจดหมายโต้ตอบของอเล็กซานเดอร์ กับพระภิกษุชาวสิงหล สุภูติ (Subhuti) (พ.ศ. 2378-2460)(ค.ศ.1835-1917)

เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) จี.เอ. เดมป์สเตอร์(G.A. Dempster) ในนามของคณะเผยแผ่พุทธศาสนา (สมาคมมหาโพธิแห่งอังกฤษ) ได้เขียนหนังสือถึงผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์อินเดีย (แผนกอินเดียของพิพิธภัณฑ์เซาท์เคนซิงตัน ซึ่งคนนิยมเรียกกันว่าพิพิธภัณฑ์อินเดียจนถึงปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ.1945)) โดยได้ขอให้พิพิธภัณฑ์ส่งมอบพระธาตุของพระสาวกทั้งสองให้อยู่ในความดูแลของวิหารมุลากันธากุฏิ (Mulagandha Kuti Vihara) (สร้างใหม่โดยสมาคมมหาโพธิแห่งอินเดียภายใต้อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) ในเมืองสารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี ก่อนหน้าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบางส่วน (จากการขุดค้นของอเล็กซานเดอร์) ได้รับการส่งกลับไปยังอินเดียและประดิษฐานอีกครั้งในเจดีย์เมืองสารนาถ

ตามความพยายามของเดมป์สเตอร์ (ซึ่งถูกปฏิเสธ) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2475(ค.ศ. 1932) นายอดิการาม (E.W. Adikaram) เลขานุการกิตติมศักดิ์ของคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้เข้าไปที่พิพิธภัณฑ์ V&A เพื่อให้ชาวพุทธได้สักการะพระธาตุในวันครบรอบ 2476 ปี การนิพพานของพระสารีบุตร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ได้ยอมตามคำขอโดยมีเงื่อนไขให้นำพระธาตุไปสักการะที่พิพิธภัณฑ์อินเดีย ไม่ใช่ที่คณะเผยแผ่ศาสนาพุทธตามที่ร้องขอ และในปีพ.ศ. 2481(ค.ศ. 1938) พิพิธภัณฑ์ V&A ได้รับคำขออีกครั้งจากพุทธศาสนิกชนชื่อดังชาวอังกฤษ นามแฟรงก์ อาร์ เมลเลอร์ (Frank R Mellor) โดยขอให้พิพิธภัณฑ์จัดที่นั่งหน้าพระสารีริกธาตุให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ ซึ่งนายเมลเลอร์ถูกปฏิเสธ แต่เขายังคงยืนกรานตามจดหมายและได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายแหล่งเรียกร้องให้พิพิธภัณฑ์ส่งมอบพระธาตุคืนแก่พุทธศาสนิกชน

สิ่งนี้ได้รับการรายงานข่าวจากสื่ออย่างกว้างขวางในเอเชีย รวมถึงประเทศแห่งชาวพุทธอย่างไทยและเมียนมาด้วย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของเจดีย์ชเวดากองในประเทศเมียนมายังได้ยื่นประท้วงรุนแรงกับรัฐบาลอังกฤษที่อนุญาตให้จัดแสดงพระธาตุในพิพิธภัณฑ์แทนที่จะประดิษฐานไว้ในเจดีย์ ทางด้านกษัตริย์แห่งสยามในขณะนั้นก็เขียนจดหมายถึงกษัตริย์แห่งอังกฤษในทำนองเดียวกัน

ในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับจดหมายจากสำนักงานอินเดีย และจดหมายจากรัฐบาลอาณานิคมของอินเดีย เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการครอบครองพระธาตุดังกล่าวและความเป็นไปได้ที่จะส่งคืนพระธาตุสู่สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย (MBSI) ด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละของอนาคาริกา ธรรมปาลา (Anagarika Dharmapala) และผู้พิพากษา อาชูทอช มูเคอร์จี (Ashutosh Mukherjee) ผู้ก่อตั้ง MBSI ในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) มีจดหมายที่มีมติเป็นเอกฉันท์ผ่านสมาคมพุทธแห่งบอมเบย์ เรียกร้องให้ส่งพระธาตุกลับไปยังสมาคมมหาโพธิแห่งกัลกัตตา (ปัจจุบันคือ โกลกาตา) ด้วยจดหมายฉบับนี้ได้คาดหวังผลลัพธ์ที่สำคัญ เมื่อรัฐบาลอินเดียพูดในนามของพุทธศาสนิกชนชาวอินเดีย แต่ถูกกีดกันโดยพุทธศาสนิกชนชาวอังกฤษ

ประเด็นนี้ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490(ค.ศ. 1947) พระธาตุดังกล่าวได้ส่งมอบให้กับดายา เฮวาวิทาร์เน (Daya Hewavitarne) ผู้แทนสมาคมมหาโพธิ (แห่งศรีลังกา) ผ่านเลขาธิการรัฐแห่งอินเดีย พระธาตุได้รับการอัญเชิญไปยังประเทศศรีลังกา อันซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างสง่างามและนำไปแสดงต่อในที่สาธารณะเป็นเวลาสองปี อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าแท้จริงแล้วพระธาตุและผอบนั้นเป็นงานหล่อปูนปลาสเตอร์จำลองของจริง โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำสหราชอาณาจักรได้เขียนจดหมายถึงสำนักงานเครือจักรภพสัมพันธ์ ขอให้ส่งผอบของจริงที่บรรจุพระอรหันตธาตุของนักบุญทั้งสองกลับคืน และเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2491(ค.ศ. 1948) เซอร์ ดี เอ็น มิตรา (Sir D N Mitra) ที่ปรึกษากฎหมายของข้าหลวงใหญ่ได้รับผอบของจริงในนามของรัฐบาลอินเดีย พระธาตุได้รับการส่งไปยังศรีลังกาและจากที่นั่นไปยังอินเดียเพื่อนำเสนอต่อสมาคมมหาโพธิ

ด้วยเหตุนี้ ความพยายามและความสำเร็จในการนำเอาพระธาตุมาจากอังกฤษ จึงเป็น “การผสมผสานระหว่างลัทธิชาตินิยมอันสูงส่ง ลัทธิเอเชียนิยม และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้นานาชาติยอมรับการฟื้นฟูพุทธศาสนาในเอเชีย” เริ่มตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 อันเป็นการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างโบราณคดีในยุคอาณานิคมกับการฟื้นฟูศาสนาพุทธ เป็นการต่อสู้ระหว่างชาวอาณานิคม นักสะสม เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ และผู้นำชาวพุทธ

นายกรัฐมนตรีแห่งซีลอน (ปัจจุบันคือศรีลังกา) ส่งมอบพระธาตุดังกล่าวให้กับข้าหลวงใหญ่อินเดียในโคลัมโบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ พระธาตุเหล่านี้ก็ได้ส่งมอบกันบนเรือเดินทะเล HMIS Teer โดยเค เอ็น คัตจู (K N Katju) ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกในขณะนั้น พิธีการดังกล่าวได้รับพระราชทานระเบียบการและอุปกรณ์ประกอบพิธีของรัฐต่างๆ ครบถ้วน ซึ่งรวมถึงขบวนแห่ ทหารรักษาเกียรติยศ การแสดงทางวัฒนธรรม และการยิงปืน 19 นัด พระธาตุดังกล่าวประดิษฐานบนแท่นบูชาชั่วคราวที่ทำเนียบรัฐบาลในเมืองกัลกัตตา (Calcutta) และขณะเดียวกันที่นายชวาหระลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียที่เพิ่งประกาศการได้รับเอกราชของอินเดีย ได้นำเสนอพระธาตุต่อหน้านักการทูต พระสงฆ์ และผู้นำทางการเมืองอาวุโสที่รวมตัวกัน โดยวันรุ่งขึ้นได้มีการจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่เมืองกัลกัตตา ไมดาน (Calcutta Maidan) โดยนายกรัฐมนตรีเนห์รูได้มอบพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ต่อให้แก่ดร.ชยามา ปราสาด มูเคอร์จี (Dr Shyama Prasad Mookherjee) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานสมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย และกล่าวสุนทรพจน์รำลึกความทรงจำที่เน้นย้ำถึงสันติภาพ ไมตรีจิตและอหิงสาจากอินเดีย และพระธรรมเทศนาพระพุทธเจ้าและคำเทศนามหาตมาคานธี พร้อมทั้งกล่าวยืนยันอีกครั้งถึงการสร้างชาติในทางโลก และในทางพหุศาสนา จากการประกาศอิสรภาพในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ.1947)”

ภายจากที่มีการจัดแสดงพระธาตุในเมืองกัลกัตตาแล้ว ดร. ชยามะ ได้นำพระธาตุดังกล่าวไปจัดแสดงของกลุ่มพระธรรมยาตรา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 – 2495 (ค.ศ. 1951-1952) ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ลาดักห์ โอริสสา พิหาร อัสสัมในอินเดีย และสิกขิม (ในขณะนั้นเป็นอาณาจักรในอารักขาอิสระ) , ทิเบต, เนปาล,เมียนมา, ไทย, กัมพูชา และศรีลังกา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2495(ค.ศ. 1952) พระธาตุได้รับการประดิษฐานอีกครั้งที่วิหารพระธาตุที่สร้างขึ้นที่สาญจี ซึ่งทุกๆ ปีในเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานและจัดแสดงพระธาตุนั้น

พระสารีบุตร

เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น “ธรรมเสนาบดี” (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น “ธรรมราชา”

พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า “อุปติสสะ” เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ “สารี” และนายพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ “วังคันตะ” คำว่า “อุปติสสะ” หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า “โกลิตะ” หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย ครอบครัวของนางพราหมณีสารีนั้นมีความมั่งคั่งสมบูรณ์พร้อมมูลพอ ๆ กับครอบครัวของโกลิตะ นิสัยใจคอของทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็คล้ายคลึงกัน ท่านทั้งสองได้คบหาและเล่าเรียนด้วยกันมาแต่เล็ก ๆ จนเติบใหญ่ นอกจากนี้ ครอบครัวของทั้งสองก็ยังคบหาสมาคมกันมาถึง 7 ชั่วรุ่น ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนรักกันอย่างยิ่ง

วันหนึ่ง อุปติสสะและโกลิตะไปเที่ยวเล่นในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นก็เกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่างไร้สาระสิ้นดี หาประโยชน์แก่นสารมิได้เลย ควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้ อีกสองวันจึงพากันไปบวชในสำนักของสัญชัยเวลัฏฐบุตร ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง และสำเร็จการศึกษาในสำนักนั้นโดยใช้เวลาเพียงสองสามวัน เมื่อจบแล้วก็ออกจากสำนัก แต่ยังไม่พึงพอใจเพราะเห็นว่าความรู้จากสำนักนั้นหาใช่ที่ตนค้นหาไม่ จึงตกลงแยกกันไปตามหาครูผู้สามารถสอนความจริงของโลกให้ประจักษ์ได้อย่างแท้จริง และสัญญากันว่าถ้าใครเจอครูเช่นว่าแล้วก็จะมาบอกกันมิได้อำพราง

วันหนึ่งเมื่ออุปติสสะเดินทางมาจนได้พบกับพระอัสสชิเถระ อันเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ที่หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว เดินถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ เมื่ออุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ก็ประทับใจในอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตํุ ตถาคโต

เตสญฺจ โย นิโรโธ จ   เอวํวาที มหาสมโณ

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้

เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้บรรลุโสดาบัน หลังจากนั้น อุปติสสะกราบลาพระอัสสชิเถระ แล้วนำธรรมะที่ได้รับฟังมา ไปบอกเพื่อนสนิทคือโกลิตะ จนได้บรรลุโสดาบัน เช่นเดียวกัน ทั้งสองได้ไปชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกปฏิเสธ ทั้งสองจึงได้พาปริพาชก 250 คน ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ หลังจากฟังธรรมครั้งนั้น ปริพาชก 250 คนบรรลุอรหัตผล แต่อุปติสสะและโกลิตะ ยังคงบรรลุเพียงโสดาบันเช่นเดิม พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมดด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านอุปติสสะมีชื่อเรียกใหม่ว่า สารีบุตร

เวลาผ่านไปครึ่งเดือน (หลังจากที่พระสารีบุตรบวชในพระพุทธศาสนา) ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชกูฏ นครราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระสารีบุตร ช่วงเวลานั้น ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน (ลุง) พระสารีบุตร เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับ ทิฏฐิและเวทนา ทีฆนขะได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระสารีบุตรนั้น ท่านกำลังถวายงานพัดพระพุทธองค์ ท่านได้ยินธรรมเหล่านั้นอยู่ด้วยก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ ซึ่งเหตุการณ์ถัดไป พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ให้กับพระอรหันต์ 1,250 รูป

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็น เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา คือ ผู้มีปัญญาเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของพระพุทธองค์

พระมหาโมคคัลลานะ

เป็นพระภิกษุอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เป็นบุตรพราหมณ์ในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อโมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกัน

ครั้งเมื่ออุปติสสะเดินทางมาจนได้พบกับพระอัสสชิเถระ อันเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ที่หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว เดินถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ เมื่ออุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ก็ประทับใจในอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตํุ ตถาคโต

เตสญฺจ โย นิโรโธ จ   เอวํวาที มหาสมโณ

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้

เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้บรรลุโสดาบัน อุปติสสมาณพได้นำคำสอนของพระอัสสชิไปแจ้งให้โกลิตมาณพทราบ โกลิตมาณพก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน ทั้งสองมาณพได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนาราม และได้ทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุ โกลิตมาณพซึ่งอุปสมบทเป็น พระมหาโมคคัลลานะ บำเพ็ญความเพียรได้ 7 วัน ก็สำเร็จพระอรหันต์ ส่วนอุปติสสมาณพซึ่งอุปสมบทเป็นพระสารีบุตรอุปสมบทได้ 15 วัน จึงสำเร็จพระอรหันต์

พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ 7 วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลป์ลาวาลมุตตาคาม แขวงมคธ ถูกถีนมิทธารมณ์ คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ ไม่สามารถจะทำความเพียรได้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนเภสกลาวัน ซึ่งเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่เนื้อ ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระโมคคัลลานะ โงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏ ประหนึ่งว่าเสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงแก่เธอตามลำดับ ดังนี้

โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

1. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

2. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มากจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

3. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ามือจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

4. ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำเหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

5. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่างไว้ในใจเหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

6. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

7. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบายเพื่อบรรเทาความง่วงโดยลำดับจนที่สุดถ้ายังไม่หายง่วงก็ให้นอน แต่ให้นอนอย่างมีสติ

พระพุทธเจ้าได้ประทานพระโอวาท 3 ข้อ

1. โมคคัลลานะ เธอจงจำไว้ในใจว่า เราจะไม่ชูงวง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่น เป็นนี่ เข้าไปสู่สกุล เพราะถ้าภิกษุถือตัวเข้าไปสู่สกุลด้วยคิดว่าเขาจะต้องต้อนรับเราอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าคนในสกุลเขามีการงานมาก ก็จะเกิดอิดหนาระอาใจ ถ้าเขาไม่ใส่ใจต้อนรับ เธอก็จะเก้อเขินคิดไปในทางต่าง ๆ เกิดความฟุ้งซ่านไม่สำรวม จิตก็จะห่างจากสมาธิ

2. โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกันเพราะถ้าเถียงกันก็จะต้องพูดมาก และผิดใจกัน เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านไม่สำรวม และจิตก็จะห่างจากสมาธิ

3. โมคคัลลานะ ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ตำหนิการคลุกคลีไปทุกอย่าง คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะ อันสงบสงัดปราศจากเสียงอื้ออึง ควรแก่การหลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย

ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา เกษมจากโยคะคือกิเลสเครื่องประกอบให้จิตติดอยู่ พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน โดยใจความว่า “ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้พิจารณาดังปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว”

พระมหาโมคคัลลานะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และยังพุทธดำริต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี เพราะท่านมีฤทธิ์มีอานุภาพยิ่งกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องซ้าย โดยทรงยกย่องให้เป็นอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรว่า “พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เปรียบเสมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดมาแล้ว พระสารีบุตร ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระโมคคัลลานะ ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องสูงขึ้นไป”นอกจากนี้ พระมหาโมคคัลลานะ ยังเป็นผู้มีความสามารถในการ นวกรรม คือ งานก่อสร้าง พระบรมศาสดาเคยทรงมอบหมายให้ท่านรับหน้าที่ นวกัมมาธิฏฐายี คือ ผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวิหารบุพพาราม ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งนางวิสาขาบริจาคทรัพย์สร้างถวายอีกด้วย

ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย

กองงานแปล : กลุ่มศาสนสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และจิตอาสา คุณสุขจิตต์ เขียนขำ

ประวัติพระอัครสาวก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารคดีชุด

ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

พระบรมสารีริกธาตุ EP.1
พระบรมสารีริกธาตุ EP.2
พระบรมสารีริกธาตุ EP.3
พระบรมสารีริกธาตุ EP.4
พระบรมสารีริกธาตุ EP.5
พระบรมสารีริกธาตุ EP.6
พระบรมสารีริกธาตุ EP.7
พระบรมสารีริกธาตุ EP.8
พระบรมสารีริกธาตุ EP.9
พระบรมสารีริกธาตุ EP.10
พระบรมสารีริกธาตุ EP.11
พระบรมสารีริกธาตุ EP.12
พระบรมสารีริกธาตุ EP.13
พระบรมสารีริกธาตุ EP.14
พระบรมสารีริกธาตุ EP.15
พระบรมสารีริกธาตุ EP.16
พระบรมสารีริกธาตุ EP.17
พระบรมสารีริกธาตุ EP.18
พระบรมสารีริกธาตุ EP.19
พระบรมสารีริกธาตุ EP.20

เหตุการณ์สำคัญ

ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดพิธีอัญเชิญพระบรมารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย มาประดิษฐานชั่วคราว ณ ประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

28 กรกฎาคม 2567

ลำดับเหตุการณ์สำคัญการหารือจัดเตรียมงาน

ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

2567
26 ก.พ.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

23 ก.พ.
ขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

ริ้วขบวนยิ่งใหญ่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย และพุุทธวิหารสาญจี มาประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

22 ก.พ.
พิธีรับการอัญเชิญ

ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง รัฐบาลได้จัดพิธีรับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย จากนั้นได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเพื่อรอเข้าริ้วขบวนอัญเชิญสู่มณฑป มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

19 ก.พ.
รัฐบาลจัดแถลงข่าว

รัฐบาลจัดแถลงข่าวพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม H.E. Mr. Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย และนายสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 พร้อมนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เข้าร่วมงาน

7 ก.พ.
ร่วมประชุมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย

7 ก.พ.
ประชุมคณะกรรมการจัดริ้วขบวน

คณะกรรมการจัดริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุฯ ร่วมประชุมกับท่านปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

7 ก.พ.
พิธีบวงสรวงจัดสร้างมณฑป

กองศาสนพิธี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิธีบวงสรวงจัดสร้างมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุฯ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

7 ก.พ.
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดพิธี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย ตามโครงการธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

27 ม.ค.
คณะผู้แทนพุทธวิหารสาญจี เยี่ยมชมและเตรียมพร้อมสถานที่

คณะผู้แทนจากพุทธวิหารสาญจี มัธยมประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย นำโดย Most Venerable Banagala Upatissa Thero, Rev Ambulagala Sumangala, และ Mr. Chanaka Gunatathunga เยี่ยมชมสถานที่ มนฑลพิธีท้องสนามหลวงและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อันเป็นสถานที่จัดเตรียมการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2567

2566
21 ธ.ค.
คณะล่วงหน้าจากสาธารณรัฐอินเดียลงพื้นที่สำรวจความพร้อม

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับคณะเตรียมการล่วงหน้าฝ่ายอินเดีย กรณีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากสาธารณรัฐอินเดียมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย โดยมี Mrs.Paulomi Tripathi Deputy Chief of Mission คณะล่วงหน้าจากประเทศอินเดีย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา และคณะทำงานของประเทศไทย พร้อมทั้งคณะทำงานจากสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 นำโดย ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาฯ เข้าร่วมหารือด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม

16 ต.ค.
ประชุมหารรือกับกระทรวงวัฒนธรรม

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 พร้อมคณะกรรมการสถาบันฯ เข้าประชุมหารือกับกระทรวงวัฒนธรรม ในหลักการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระสารีริกะธาตุฯ โดยมีเอกอัครราชทูตนาเกซ ซิงห์ และ และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุม

12 ต.ค.
ประชุมหารรือกับกระทรวงวัฒนธรรม

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 พร้อมคณะกรรมการสถาบันฯ เข้าประชุมหารือกับกระทรวงวัฒนธรรม ในหลักการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระสารีริกะธาตุฯ โดยมีนายศุภนิจ จัยวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุม

28 ก.ย.
ต้อนรับและกราบเรียนนายกรัฐมนตรี

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ได้ให้การต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญโพคีธรา กัมพูชา พร้อมกันนี้ ได้กราบเรียนเรื่อง การเตรียมการจัดงาน ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

13 ก.ย.
เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 นำคณะกรรมการสถาบันฯ เข้าพบนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และอธิบดีกรมศาสนา เพื่อหารือเกี่ยวกับงาน ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

19 มิ.ย.
หารือรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เข้าพบนายอิทธิพล ตุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมศาสนา ที่กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อหารือแนวทางการจัดโครงการ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

7 มิ.ย.
เข้าพบรองนายกรัฐมนตรี

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 นำนายราเกซ ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เข้าพบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดยมี นายชัยพล อธิบดีกรมการศาสนา และผู้ดกี่ยวข้องเข้าร่วมปรึกษาการจัดงาน ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

20 พ.ค.
กราบถวายรายงานแด่กรรมการเถรสมาคม

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 นำคณะบริหารสถาบันฯ เข้ากราบถวายรายงาน แด่ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เรื่อง การเตรียมงาน ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

29 มี.ค.
เข้าพบสมาชิกผู้ก่อตั้งสภาการปกครอง มูลนิธิอินเดียฯ

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เข้าพบหารือ DR.Ram Madhav สมาชิกผู้ก่อตั้งสภาการปกครอง มูลนิธิอินเดีย องค์กรที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอินเดีย และ ฯพณฯ นายนาเกซ ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ที่โรงแรม Novotel สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อหารือแนวทางการจัดโครงการ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

29 มี.ค.
หารือท่านเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เข้าพบ ฯพณฯนายราเกซ ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เพื่อหารือแนวทาง การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประเทศไทย ในโอกาสการจัดงานธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อโครงการ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

วัตถุมงคลที่ระลึก

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ร่วมกับ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 จัดทำวัตถุมงคลที่ระลึก เนื่องในโอกาสการอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ จาก สาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานชั่วคราว ณ ประเทศไทย (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำไปทำนุบำรุงพุทธศาสนา)