“ส่อง” งบประมาณปี 2567 ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ของกรมเจ้าท่า

ที่มาข้อมูลจากเล่มร่างงบประมาณ (ขาวคาดแดง) โดยสำนักงบประมาณปี 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Beach Lover Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณเพื่องานแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2563 แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆตาม Link ด้านล่าง งบประมาณปี 2563 https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ งบประมาณปี 2564 https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ งบประมาณปี 2565 https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/ งบประมาณปี 2566 https://beachlover.net/เปิดร่างงบประมาณ-เพื่อแ/ งบประมาณปี 2567 https://beachlover.net/budget-2567/ ครั้งนี้ของเจาะเพิ่มเติมเฉพาะของกรมเจ้าท่า โดยได้รวมเอางบประมาณเพื่อการขุดลอกปากร่องน้ำชายฝั่งทะเล และการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ (Sand bypassing) เข้าไว้ด้วยกัน พบว่าในปีงบประมาณ 2567 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับทะเลและชายฝั่ง ไว้เป็น 5 งานหลัก ใน 37 โครงการ รวมงบประมาณที่ขอเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2567 (รวมงบผูกพัน) ทั้งสิ้น 1,684.83 ล้านบาท ดังนี้ (1) งานศึกษาออกแบบ จำนวน 3 โครงการ […]

Beachlover

January 12, 2024

วิชาการ: แนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำ

การเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งทะเลในลักษณะขนานโดยไหลเลียบไปกับชายฝั่ง และตะกอนจากแผ่นดินที่ไหลลงไปรวมไปในแม่น้ำที่ไหลออกชายฝั่งทะเล ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนสะสมจนปากแม่น้ำที่ไหลลงทะเลปิดในบางฤดูกาล หากปากร่องน้ำใดมีการเข้าออกของเรือ จะส่งผลให้ไม่สามารถนำเรือเข้าออกได้ในบางช่วงเวลา ในอดีตชาวบ้านรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่ใช้ประโยชน์ช่วยกันขุดเปิดปากร่องน้ำกันเองบ้าง  หรือร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้วิธีการขุดปากร่องน้ำเพื่อบรรเทาปัญหานี้บ้าง เมื่อมีการพัฒนาเมืองและพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้มีการเข้าออกของเรือที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และกินระยะน้ำลึกมากกว่าในอดีต หน่วยงานที่รับผิดชอบ (กรมเจ้าท่า) เริ่มหันมาใช้วิธีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการออกแบบให้ปลายสุดของเขื่อนกันคลื่นอยู่บริเวณร่องน้ำลึก ส่งผลให้ตะกอนที่ไหลออกไปนอกฝั่งมีโอกาสที่จะกลับมาปิดปากร่องน้ำได้ลดน้อยลง ทั้งยังป้องกันไม่ให้ตะกอนที่ไหลเลียบชายฝั่งมาปิดปากร่องน้ำด้วย โดยมากเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ยื่นยาวลงไปในทะเล ซึ่งถือเป็นโครงสร้างที่แทรกแซงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลอย่างหนักด้วยขนาดที่ใหญ่และยาว พบว่าแม้จะมีโครงสร้างนี้แล้วยังจำ เป็นต้องขุดลอกร่องน้ำร่วมด้วย เนื่องจากนานวันเข้าตะกอนมีโอกาสไหลล้นข้ามโครงสร้างที่ดักตะกอนไว้มาปิดปากร่องน้ำเช่นเดิม นั่นหมายความว่าโครงสร้างนี้ชะลอระยะเวลาการขุดลอกออกไปเท่านั้น โครงสร้างนี้ไม่ถือว่าเป็นโครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง แต่การเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำมักนำมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างนี้ยื่นยาวออกไปนอกชายฝั่งจนถึงระยะน้ำลึกจึงเป็นการกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่ง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกัดเซาะทางด้านท้ายน้ำหรือส่วนถัดไปของชายหาดตามทิศทางที่ตะกอนเคลื่อนที่ ส่งผลให้พื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง และตามมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอื่นๆต่อเนื่องไปอีก Beach Lover เห็นทั้งความจำเป็น ความเดือดร้อนของผู้ใช้ปากร่องน้ำ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ จึงมีแนวคิดเพื่อจัดการปากร่องน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลดังต่อไปนี้ (1) กำหนดให้การขุดลอกปากร่องน้ำทุกแห่งนำตะกอนที่ได้จากปากร่อง ที่ได้พิจารณาแล้วว่าเป็นตะกอนที่คุณสมบัติใกล้เคียงกับพื้นที่ชายฝั่งปากร่องน้ำที่ถูกกัดเซาะ  ไปถมในพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะนั้น หากดำเนินการได้จะทำให้ตะกอนไม่ถูกทิ้งให้เสียประโยชน์  บรรเทาผลกระทบด้านท้ายน้ำ และได้แผ่นดินกลับคืนมาบางส่วน (2) ควรกำหนดให้มาตราการถ่ายเททรายข้ามร่องน้ำ สำหรับร่องน้ำที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เป็นมาตรการประจำที่ต้องดำเนินการทุกปากแม่น้ำตามรอบวนซ้ำที่ได้ศึกษาไว้  โดยถ่ายเทจากฝั่งของปากร่องน้ำที่เกิดการทับถมไปอีกฝั่งที่ถูกกัดเซาะ ซึ่งจะบรรเทาความเสียหายได้บางส่วน ดีกว่าการสร้างโครงสร้างป้องกันต่อไปเรื่อยและเกิดการกัดเซาะต่อไปอย่างต่อเนื่อง (3) ให้อำนาจและงบประมาณกับท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณในการลงทุนเครื่องจักรสำหรับใช้ในการขุดลอกปากร่องน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ (รถขุดแขนยาวและโป๊ะลอยน้ำพร้อมขายึดในภาพราคารวมประมาณ 6 ล้านบาท) เพื่อบรรเทาปัญหาตะกอนปิดปากร่องน้ำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง (4) หากจำเป็นต้องสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ ควรรวบรวมความจำเป็นของเรือที่สัญจรในปากร่องในใกล้กันมารวมจอดในที่เดียวกัน เพื่อลดจำนวนโครงสร้างและเป็นการจำกัดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

Beachlover

April 8, 2022

กรมทะเลร่วมช่วยดูแลพี่น้องชุมชน รอบอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ร่วมคณะ พล.ท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ ๔ และคณะทำงานแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่อ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาสันดอนทรายที่เกิดขึ้นในอ่าวปัตตานีจากการขุดลอก โดยชาวประมงเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาสันดอนทรายด้วยการขนย้ายสันดอนทรายไปทิ้งที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อประโยชน์สาธารณะ และให้ขุดลอกสันทรายที่งอกบริเวณปลายแหลมตาชีเพื่อให้น้ำในอ่าวปัตตานีไหลเวียนได้สะดวก เนื่องจากปัจจุบันน้ำทะเลจากอ่าวไทยไหลเวียนเข้าในอ่าวปัตตานีน้อยลง เพราะปลายแหลมตาชีปิดทางน้ำไว้ รวมทั้งขอสนับสนุนเครื่องมือประมงประเภทอวนลอยกุ้ง ซึ่งแม่ทัพภาคที่ ๔ รับข้อเสนอของชาวประมง โดยจะนำไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมงรอบอ่าวปัตตานี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวปัตตานีได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

Beachlover

September 10, 2021

พิจารณาขุดลอกร่องน้ำสาธารณะอ่าวกุ้ง หวั่นกระทบทะเลภูเก็ต

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน ร่วมตรวจพื้นที่และประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้อกฏหมายเกี่ยวกับการขุดลอกร่องน้ำสาธารณะประโยชน์อ่าวกุ้ง (ท่าเล) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ซึ่งมีว่าที่ร้อยตรีวิกรม จากที่ รองผู้ว่าราชการภูเก็ต เป็นประธาน โดยคณะกรรมการได้ลงตรวจสอบพื้นที่เพื่อตรวจทานร่วมกับข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศที่มีตั้งแต่ปี ๒๕๑๐-๒๕๖๑ จากนั้นในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผลแปลภาพถ่ายทางอากาศจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งระบุว่าร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) มีสภาพร่องน้ำเดิมและให้ถือเป็นข้อยุติในประเด็นการพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นร่องน้ำเดิมหรือไม่ และเห็นชอบให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคภูเก็ต ดำเนินการสำรวจและออกแบบการขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) และในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาทางน้ำสำหรับสาธารณประโยชน์ต่อไป

Beachlover

July 22, 2021

มติเอกฉันท์ชาวบ้านไม่เอา “สันดอนทราย” ในอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/theagandath/ โดย อัลอามีน มะแต และ ดร.อลิสา หะสาเมาะ จากการที่คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำโครงการศึกษาเรื่อง “สำรวจความต้องการสันดอนทราย จากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี” โดยลงพื้นที่สำรวจ จัดเก็บข้อมูลและประมวลผลตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.2563 แล้วประมวลผลเสร็จเมื่อวันที่ 18 ม.ค.2564 นั้น ผลสรุปที่ได้จากโครงการนี้พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 315 คน ประกอบอาชีพประมง 100% ปรากฏว่าทั้งหมด 100% ไม่ต้องการสันดอนทราย โดยต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบด้วยการนำกองทราย ซึ่งเกิดจากวัสดุขุดลอกไปทิ้งนอกอ่าวไทย “สันดอนทราย” มีที่มาที่ไปอย่างไร สำหรับโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีเพื่อแก้ปัญหาการตื่นเขินเกิดขึ้นจาก 2 หน่วยงานคือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศอ.บต. เริ่มศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี 2558 ต่อมาได้ชงเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2560 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ […]

Beachlover

January 28, 2021

การเปิด-ปิด ของสันทรายปากคลองสำโรง

คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลในเขตเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ทำให้ซึ่งคลองสำโรงนี้มีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ซึ่งเดิมได้ใช้เส้นคลองสายนี้เป็นเส้นทางการค้าขายหรือการเข้ามาของเรือสำเภา เมื่อชุมชนมีมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น ประกอบกับระบบระบายน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นในคลอง อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปากคลองสำโรงฝั่งทะเลอ่าวไทยมักถูกปิดตามธรรมชาติ จากการพัดพาของทรายมาปิดปากคลองในบางฤดูกาล ยิ่งส่งผลให้น้ำในคลองไหลถ่ายเทไม่สะดวก ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งผู้ใช้ประโยชน์จากคลองได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายวาระโอกาส เช่น https://siamrath.co.th/n/161620 และ https://beachlover.net/ชุมชนเก้าแสนเดือดร้อน-ทช-สงขลาเร่งช่วยแก้ปัญหา/ Beach Lover เองก็เคยนำเสนอเรื่องราวนี้ไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/ปากคลองสำโรง-7-ต-ค-2562/ จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ทั้งหมด 28 ช่วงเวลาตั้งแต่ ธันวาคม 2014 ถึง กรกฎาคม 2020 พบว่า ปากคลองสำโรงถูกปิด 18 ครั้ง และเปิด 10 ครั้ง ตลอดระยะเวลาเท่าที่มีข้อมูลกว่า 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติที่กระบวนการชายฝั่งทะเลพัดพาเอาทรายมาทับถมที่ปากคลอง และเกิดจากการเปิดปากร่องน้ำโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อบรรเทาปัญหาให้ชาวบ้านในชุมชน Beach Lover ได้ลงสำรวจปากคลองสำโรงเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 พบว่าปากคลองสำโรงได้ถูกเปิดออก โดยพบกองทรายขนาดใหญ่อยู่ริมชายหาดหน้าชุมชนเก้าเส้ง […]

Beachlover

November 24, 2020

บางมะรวด … ปากน้ำที่กรมเจ้าท่าต้องปวดหัว

ปากน้ำบางมะรวด อยู่ใน อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี บริเวณปากน้ำมีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) จำนวน 1 คู่ (ไม่ทราบปีที่สร้าง) เพื่อป้องกันทรายมาปิดปากร่องน้ำ บรรเทาปัญหาอุปสรรคต่อการสัญจรเข้าออกของเรือ แต่หลังจากก่อสร้าง พบทรายปริมาณมหาศาลไหลมาปิดปากร่องน้ำเป็นประจำ สังเกตได้จากภาพถ่ายดาวเทียมในหลายช่วงเวลา ซึ่งหมายความว่า Jetty ที่กรมเจ้าท่าสร้างไว้นั้นขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เดิมได้ ทางกรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาขุดลอกปากร่องมาแล้วหลายครั้ง ภาพด้านล่างคือตัวอย่างผลงานการขุดลอกร่องน้ำบางมะรวดที่กรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาบริษัท Wealthworking ด้วยงบประมาณ 37.750 ล้านบาท (ไม่ทราบปีที่ขุด) Beach Lover ได้ลงสำรวจปากร่องน้ำบางมะรวดในเดือนสิงหาคม 2563 พบการเปิดปากร่องน้ำใหม่ทางฝั่งซ้ายของร่องน้ำเดิม เนื่องจากร่องน้ำเดิมที่มี Jetty นั้นปิดค่อนข้างถาวร การสัญจรเข้าออกปากแม่น้ำจึงใช้ผ่านช่องทางนี้แทน น่าตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดการคาดการณ์ปริมาณตะกอนทรายชายฝั่งและตะกอนที่มากับแม่น้ำบางมะรวดจึงผิดไปเพี้ยนไปอย่างมากมาย จนส่งผลให้ Jetty ขาดประสิทธิภาพและไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างกรมเจ้าท่าจะดำเนินการแก้ไขเรื่องราวนี้อย่างไร … โปรดติดตาม

Beachlover

August 29, 2020

งานขุดลอกปากร่องน้ำบางสะพาน

[ภาพเมื่อ: 17 ส.ค. 2563] งานขุดลอกปากร่องน้ำริมทะเลถือเป็นภารกิจสำคัญของกรมเจ้าท่าเพื่อการดูแลร่องน้ำเดินเรือทั่วประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Beach lover ได้ลงสำรวจพื้นที่ปากคลองบางสะพาน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ พบงานขุดลอกปากร่องน้ำภายในระยะเวลา 60 วัน รวมปริมาตรทราย 50,000 ลบ.ม. โดยไม่มีรายละเอียดของงบประมาณ รวมถึงวันที่เริ่มและสิ้นสุดการดำเนินงาน การที่ตะกอนทรายไหลมาปิดปากร่องน้ำจนเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นเฉพาะบางฤดูกาล แล้วปากแม่น้ำก็จะกลับมาเปิดเองตามกระบวนการทางธรรมชาติ ในอดีตกรมเจ้าท่าใช้วิธีการขุดลอกปากร่องน้ำแบบที่เห็นในภาพนี้กับทุกปากร่องน้ำที่เกิดปัญหา ระยะต่อมา กรมเจ้าท่าได้สร้างโครงสร้างป้องกันปากร่องน้ำที่เรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) บริเวณร่องน้ำชายทะเลหลายแห่ง เพื่อบรรเทาปัญหาทรายปิดปากร่อง กระนั้นก็ตาม ตัวโครงสร้าง Jetty นี้ ได้ส่งผลกระทบให้พื้นที่ถัดๆไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากโพสเก่าๆหมวดสถานการณ์ฯ และคดีชายหาดสะกอม) เป็นเรื่องน่าคิดต่อ ว่าคุ้มกันหรือไม่ หากกรมเจ้าท่ากลับมาใช้วิธีการขุดลอกแบบเดิมทดแทนการสร้าง Jetty ซึ่งก็จะไม่ส่งผลให้ชายหาดในพื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะจนเป็นเหตุให้ต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายหาดต่อไปเรื่อยๆ หรือเราควรสร้าง Jetty ปริเวณปากร่องน้ำชายทะเลทั่วประเทศเพื่อลดภาระการขุดลอกร่องน้ำของกรมเจ้าท่า โดยยอมแลกกับความพังพินาศของชายหาดข้างเคียง

Beachlover

August 18, 2020

กรมเจ้าท่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่อ่าวปัตตานี หลังขุดลอกอ่าวแล้วเสร็จ [25ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/กรมเจ้าท่า วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 9.30 น. อธิบดีกรมเจ้าท่า (นายวิทยา ยาม่วง) เป็นประธานเปิดโครงการ “เจ้าท่า ร่วมใจ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ธรรมชาติ” บริเวณอ่าวปัตตานี ณ สะพานท่าเทียบเรือปัตตานี โดยมีนายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีให้การกล่าวต้อนรับ และขอบคุณกรมเจ้าท่าที่ดำเนินการขุดลอกร่องน้ำในอ่าวปัตตานีให้ประชาชนรอบอ่าวปัตตานีเดินเรือได้สะดวกและช่วยให้มีการไหลเวียนของน้ำในอ่าวปัตตานีดีขึ้น อันเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของอ่าวปัตตานี  นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า(ด้านปฏิบัติการ)กล่าวรายงานโครงการฯ และมีนายณัฐชัย พลกล้า ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านการวางแผนพัฒนาทางน้ำ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 นายอนันต์ แก้ววิเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาที่ 4 ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และ ประชาชนรอบอ่าวปัตตานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่จากกรมเจ้าท่า ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน จำนวน 1,000 คน อ่าวปัตตานีแห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่ชุมชนใช้ร่วมกันในการทำอาชีพทางการประมง และกิจกรรมในครั้งนี้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์ร่วมกับตัวแทนประชาชนรอบอ่าวปัตตานีประกอบด้วย […]

Beachlover

January 26, 2020